การกระตุ้นการดูดกลืนในทารกคลอดก่อนกำหนด


ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา กระผมได้มีโอกาสได้ไปฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกกิจกรรมบำบัด ณ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และได้มีโอกาสให้การกระตุ้นการดูดกลืน ในผู้รับบริการเด็ก ซึ่งเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด มีภาวะขาดสารอาหาร เนื่องจากสามารถดูดนมได้น้อย ส่งผลให้เด็กมีภาวะขาดสารอาหาร ทำให้เด็กมีร่างกายที่ค่อนข้างเล็ก มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน จึงจำเป็นต้องมีการให้อาหารทางสายยาง เพื่อให้เด็กได้รับสาอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย  กระผมจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการกระตุ้นการดูดกลืน ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด โดยมีการศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากงานวิจัย “ Effect of Prefeeding Oral Stimulation on Feeding Performance of Preterm Infants.”

ซึ่งจากงานวิจัยได้ระบุถึงสาเหตุของภาวะของการดูดกลืนลำบากในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีผลมาจากปัจจัยหลักๆ 3 ประการคือ

1.    ระดับความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการดูดกลืนของทารกที่คลอดก่อนกำหนดค่อนข้างต่ำ

2.    การควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณปากยังทำได้ไม่ดี

3.    สหสัมพันธ์ของการดูด กลืนและการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด ยังไม่สัมพันธ์กัน

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทารกที่คลอดก่อนกำหนด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีการให้อาหารทางสายยางก่อนในระยะแรก และถอดออกเร็วที่สุด เมื่อเด็กสามารถดูดกลืนได้ด้วยตนเอง

วิธีการกระตุ้นการดูดกลืนในเด็กทารกคลอดก่อนกำหนด

1.    การกระตุ้นภายนอกช่องปาก

-         การกระตุ้นบริเวณแก้ม

-         การกระตุ้นบริเวณริมฝีปาก

2.     การกระตุ้นภายในช่องปาก

-         การกระตุ้นบริเวณเหงือก

-         การกระตุ้นบริเวณลิ้น

-         การกระตุ้นการดูดกลืนโดยใช้ขวดนม หรือ จุกนม

โดยจากการวิจัยนี้พบว่า การกระตุ้นการดูดกลืนในทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีผลทำให้เด็กทารกสามารถดูดกลืนอาหารด้วยตนเองได้เร็วยิ่งขึ้น

(อ้างอิงYea-Shwu Hwang, Elsie Vergara, Chyi-Her Lin, Wendy J. Coster, Rosemarie Bigsby and Wen-HuiTsaiEffects of Prefeeding Oral Stimulation on Feeding Performance of Preterm InfantsIndian Journal of Pediatrics, Volume 77, August, 2010.)

PEDro scale

1. Subjects were randomly allocated to groups : yes

2. Allocation was concealed. : No

3. The groups were similar at baseline regarding the most important prognostic indicators. : yes

4. There was blinding of all subjects. :yes

5. There was blinding of all therapists who administered the therapy. : no

6. There was blinding of all assessors who measured at least one key outcome. : no

7. Measures of at least one key outcome were obtained from more than 85% of the subjects initially allocated to groups. : yes

8. All subjects for whom outcome measures were available received the treatment or control condition as allocated or, where this was not the case, data for at least one key outcome was analysed by ‘intention to treat’. : yes

9. The results of between-group statistical comparisons are reported for at least one key outcome. : yes

10. The study provides both point measures and measures of variability for at least one key outcome. : yes

11. Eligibility criteria were specified (not included in score) : yes

Total score (PEDro) : 8/10

การกำหนดน้ำหนักได้ + น่าทำ เพราะ วิธีการกระตุ้นการดูดกลืนในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในทางคลินิก และเหตุผลอย่างชัดเจนในการเพิ่มความสามารถในการดูดกลืนของเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด

หมายเลขบันทึก: 541551เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 01:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 01:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

...... นมแม่ดีที่สุด ...... ดูดเร็ว .... ดูดถูกวิถี ..... นะคะ .....

ลูกเรามีปัญหาในการดูดกลืนค่ะ ตอนนี้ต้องให้นมทางสาย มีวิธีเเนะนำบ้างไหมค่ะ

สวัสดีครับ แนะนำให้คุณปิ้ก พาลูกไปตรวจประเมินการกลืน และรับการฟื้นฟูด้านการดูดกลืนในเด็ก กับนักกิจกรรมบำบัด ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านครับ เพื่อเป็นการกระตุ้นทักษะด้านการดูดกลืนกับผู้เชี่ยวชาญครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท