มันสำปะหลังปีนี้ปลูกหลายครั้ง


จากวันประชุม 17 มิย สำหรับทีมงานมันสำปะหลังก็พบว่าหลายพื้นที่ต้องปลูกกันหลายรอบ เพราะฝนน้อย ฝนทึิ้งช่วง หาท่อนพันธุ์ปลูกกัน งานแปลงทดสอบก็เคลื่ิอนย้ายจากพื้นที่อื่น ๆ เข้าไปในพื้นที่ใหม่ ๆ หากดูข้อมูลย้อนหลัง ปีพ.ศ.2554ิเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลังในช่วงต้นฝน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเริ่มปลูกมันสำปะหลังก่อนทุกภาค ภาคเหนือตอนล่างส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลังล่าช้ากว่า แต่เกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีช่วงฤดูปลูกยาวนานที่สุด  ส่วนปีพ.ศ. 2555 เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกในช่วงต้นฝนเช่นปีที่ผ่านมาแต่ปลูกล่าช้ากว่าเดิมทั้งนี้เกี่ยวข้องกับการตกของฝนในแต่ละพื้นที่ โดยส่วนใหญ่ปลูกช่วงเดือน มีนาคม มิถุนายน
เกษตรกรภาคเหนือตอนบนเริ่มปลูกเร็วกว่าในทุกภาค และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีช่วงปลูกที่กว้างมากปลูกมันสำปะหลังทุกเดือน
และเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงปลายฝน-แล้งราวเดือนมกราคม – พฤษภาคม เกษตรกรภาคเหนือตอนบน ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เหนือตอนล่าง ส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนทุกภาค ส่วนภาคกลางและตะวันตก
และภาคตะวันออกเก็บผลผลิตล่าช้ากว่าภาคอื่น ๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตในทุกๆ เดือน ปีเพาะปลูก 2555/56 เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บผลผลิตเร็วขึ้น ช่วงการเก็บเกี่ยวสั้นลงกว่าปีที่ผ่านมา

จังหวะสำคัญมากในการปลูกมันสำปะหลัง และฝนต้องเป็นใจด้วย หลายคนที่ประสบความสำเร็จก้ต้องอาศัยจังหวะในการจัดการเรื่องเวลาซึ่งถือว่าสำคัญ หากปลูกได้ในช่วงปลายฝนผลผลิตก็จะสูง แต่ก็ต้องระวังเรื่ิองเพลี้ยแป้ง

การแช่ท่อนพันธุ์เป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูซึ่งสามารถควบคุมเพลี้ยแป้งได้ในระยะ 1 เดือนแรก เกษตรกรให้ความสำคัญกับการแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกโดยเฉพาะภาคเหนือ ปีพ.ศ. 2554 มีการแช่ท่อนพันธุ์ร้อยละ 47 ส่วนใหญ่เลือกแช่ด้วยไทอะมิโทแซม แต่ภายหลังระยะที่การแช่ท่อนพันธุ์จะควบคุมได้ ก็พบเพลี้ยแป้ง เกษตรกรที่ไม่ได้แช่ท่อนพันธุ์พบเพลี้ยแป้งในอัตราส่วนที่มากกว่าเมื่อแช่ท่อนพันธุ์พบร้อยละ
75 ในการแช่ท่อนพันธุ์ทำให้เพลี้ยแป้งลดจำนวนจากที่ไม่ได้แช่ร้อยละ 20 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีการแช่ท่อนพันธุ์ร้อยละ 48 รายที่ไม่ได้แช่ท่อนพันธุ์พบเพลี้ยแป้งทุกแปลงในการสำรวจที่ผ่านมา
ส่วนรายที่แช่ท่อนพันธุ์สามารถลดการเกิดเพลี้ยแป้งลงได้ร้อยละ 33 เกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีการแช่ท่อนพันธุ์ร้อยละ 50 รายที่ไม่ได้แช่ท่อนพันธุ์มีโอกาสพบเพลี้ยแป้งเข้าทำลายสูงกว่า การแช่ท่อนพันธุ์ช่วยลดการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังได้ร้อยละ 21 เกษตรกรภาคเหนือตอนบนแช่ท่อนพันธุ์สูงถึงร้อยละ 83 แต่เป็นสารเคมีอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนเร่งราก น้ำหมักชีวภาพ เชื้อราบิววาเรีย เป็นต้น เกษตรกรบางรายไม่ได้แช่
แต่ใช้การฉีดพ่น การราดหรือชุบท่อนพันธุ์แทนซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่มทำให้การควบคุมไม่ได้ผลเท่าที่ควร

หมายเลขบันทึก: 540634เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2013 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท