มุมมองประเทศไทยในสายตาของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)




            ศาสตราจารย์พิเศษ[1] พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (นามเดิม:ประยุทธ์ อารยางกูร) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.อ. ปยุตฺโต" เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2481 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 12 ปี เมื่อ ปีพ.ศ. 2494 และเข้ามาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร จนสอบได้นักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร และได้รับการอุปสมบทโดยเป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์

            พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระนักวิชาการนักคิดนักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ มีผลงานทางวิชาการพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ผลงานของท่านที่เป็นที่รู้จัก เช่น พุทธธรรม เป็นต้น ท่านได้รับการยกย่องจากทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยผลงานของท่านทำให้ท่านได้รับรางวัลและดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education) [2] นอกจากนี้ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ท่านได้รับรวมมีมากกว่า 15 สถาบัน ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ไทยที่ได้รับการยกย่องให้ได้รับดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มากที่สุดในปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2549 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปัจจุบันพระพรหมคุณาภรณ์ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดญาณเวศกวัน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม(1)



                                 


1. ประวัติพระพรหมคุณาภรณ์



2. ภัยแห่งพระพุทธศาสนา


3. จากอินเดียสู่เอเชีย - ชมพูทวีป

      3.1 จากอินเดียสู่เอเชีย - ชมพูทวีป ๑


      3.2 จากอินเดียสู่เอเชีย - ชมพูทวีป ๒


      3.3 จากอินเดียสู่เอเชีย - ชมพูทวีป ๓


      3.4 จากอินเดียสู่เอเชีย - ชมพูทวีป ๔


4. มลายูสู่แหลมทอง



5.จะเป็นพระต้องมีวินัย จะเป็นชาวพุทธได้ก็ต้องมีหลัก


6. เข้าพรรษา กับอุดมคติของศาสนา


7. ชาวพุทธต้องมีหลัก พระพรหมคุณาภรณ์


8. วันวิสาขบูชา


9. วันมาฆบูชา


10. บวชอย่างไรให้ได้บุญ พระพรหมคุณาภรณ์


11.  



                            


(1)  

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C(%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%95)

หมายเลขบันทึก: 540078เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2013 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2013 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท