คิดต่อจากการประกวดสถาบันเกษตรกรดีเด่น


ช่วงสองสัปดาห์ ตั้งแต่ 10 มิถุนายน เป็นต้นมาจนถึงวันนี้ เป็นช่วงการประกวดงานส่งเสริมการเกษตรทั้งด้านเกษตรกร และทั้งสถาบันเกษตรกร

สำหรับผู้เขียนเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดสถาบันเกษตรกร (ทั้งที่งานหลักที่ทำมามากที่สุดจะอยู่ในงานส่งเสริมการผลิต และเคยทำงานในกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรชั่วระยะเวลาสั้นๆ) 

          จากการลงตัดสินการประกวดกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่น แล้วพบเจอปัญหาที่ลองมาประมวลผล เป็นข้อเสนอแนะในการดำเนินการ หรือพัฒนางานยุวเกษตรกรในโรงเรียน สั้นๆ ดังนี้

  1. การคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่มยุวเกษตรกร ควรดำเนินการในเทอมที่ 2 โดยกำหนดให้นักเรียนชั้น ประถมสี่หรือห้า เป็นประธานและคณะกรรมการ เพื่อให้ไปหมดวาระใน เทอมที่ 1 ของปีถัดไป

เพื่อแก้ปัญหา -----การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง จากการเรียนจบของคณะกรรมการ 

                     -----การสืบทอดและการส่งต่องานและกิจกรรมกลุ่ม

2. โรงเรียนควรกำหนดกิจกรรมยุวเกษตรกร เป็นกิจกรรมเลือกให้กับนักเรียน  เช่นเดียวกับ อนุกาชาด ยุวกาชาด หรือกิจกรรมลูกเสือ 
       เพื่อให้สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ได้ทำกิจกรรมนักเรียนภายใต้กลุ่มยุวเกษตรกร อย่างต่อเนื่องและเกิดประโยชน์ จริงๆ ทั้งตัวนักเรียนเอง โรงเรียน และผู้ปกครองหรือชุมชน
3. ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับจังหวัดหรืออำเภอ เป็นอาจารย์พิเศษ ในกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกร        เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาผู้นำ การปรับตัวจากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก (ตอนเด็กๆจำได้ว่า ถ้าวันไหนมีคนแปลกหน้า หรือคนนอกมาสอน หรือพบปะ เราจะสนใจและตื่นเต้นกันมาก คิดว่าเด็กสมัยนี้ก็คงไม่ต่างกัน สังเกตจากที่ไปติดตามเยี่ยมเยียนมา)4. ในการเปิดสภายุวเกษตรกร ต้องดูแลและสอนให้คณะกรรมการกลุ่มยุว ฯ จัดทำวาระการประชุม และดำเนินการประชุมให้ชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน "ทำบ่อยๆ ก็จะคล่องเอง" 5. การบันทึก   ควรให้สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรมีสมุดบันทึกประจำตัวสำหรับกิจกรรมยุวเกษตรกร  

ที่กล่าวมาเป็นเพียงการมองจากคนภายนอกที่ไม่ได้รับผิดชอบงานยุวเกษตรกร แต่พอรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมยุวเกษตรกรในโรงเรียน แล้วก็เลยมาคิดต่อ  ....... อาจจะมีใครดำเนินการแบบนี้อยู่บ้างแล้ว ก็ถือว่ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน นะคะ 
หมายเลขบันทึก: 539842เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2013 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2013 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท