569. The Readiness Matrix


การพัฒนาองค์กร หรือ OD มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับขีดความสามารถของคน ผ่านกระบวนการปรับความรู้ และทัศนคติ เปลี่ยนจากลบเป็นบวก เปลี่ยนจากเฉื่อยเป็นกระตือรือร้น เปลี่ยนจากการทำงานร่วมกันไม่ค่อยราบรื่น มาราบรื่นมากขึ้น แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ มีหลายปัจจัยครับ เราเรียกว่าความพร้อม (Readiness) นั่นเอง 

วันนี้ “สมมติ” ว่าคุณเองมีทักษะมากพอกับงานพัฒนาที่คุณเข้าไปทำ หรือไม่ ถ้าไม่มีแต่มีทีมงานที่มีทักษะรวมกัน แล้วนับว่า “มั่นใจ” กับโจทย์ แสดงว่าคุณพร้อมแล้ว แต่เรื่องนี้ยังไม่พอ มีสองปัจจัย ที่คุณต้องพิจารณาในการวางแผนเลือกใช้เครื่องมือ ให้ถูกต้องครับ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะกำหนดปัจจัยความล้มเหลวของโครงการได้เลย และที่ผมต้องเขียนวันนี้ เพราะได้ให้คำปรึกษาเรื่องนี้มาระยะหนึ่ง เลยเห็นว่าคนทั่วไปโดยเฉพาะคนเริ่มทำ OD จะยังขาดความรู้เรื่องนี้ เลยลองเขียนจากประสบการณ์มาครับ

ความพร้อม คือ ความแปรผันระหว่างการสนับสนุนของฝ่ายบริหาร และความร่วมมือของกลุ่มเป้าหมาย ดังแผนภูมิ The Readiness Matrix  ที่ผมพัฒนาขึ้นมา  มีความเป็นไปได้อยู่สี่รูปแบบ ดังแผนภาพนี้ครับ 

                       

1.  การสนับสนุนของฝ่ายบริหารต่ำ ความร่วมมือของกลุ่มเป้าหมายต่ำ สถานการณ์นี้น่ากังวลมาก ถ้ารับงานเหมือนกับเราจะเดินเข้าป่าอาถรรพ์ มีสิทธิหลงป่า อดตายได้ง่ายๆ  แนะนำว่าคุยกับเข้าให้เข้าใจก่อน ถ้าไม่เข้าใจ อาจลองขอเข้าไปสาธิตก่อนก็ได้ ถ้าไม่ได้อีกถอยครับ  แต่ไม่ได้หมายถึงเราจะทอดทิ้งไปเลย มีโอกาสก็ลองคุยกันดู เพราะ OD เป็นศาสตร์ที่คนอาจยังไม่คุ้นเคย มีแนวทางนำเสนอที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญครับ เช่นที่พูดแล้ว จะเห็นความสำคัญก็คือ.. เช่นในองค์กรจำนวนมาก มีคนเก่งทำงานร่วมกันครับ แต่หลายครั้งทำงานร่วมกันไม่ได้ ทำให้สูญเสียศักยภาพไป หรือบางคนทำงานเก่งแต่เกิดสูญเสียความผูกพัน... แน่ใจหรือครับ ที่ทำงานอยู่นี่ มันก็ทำอยู่ แต่ใจมันคิดแล้ว ว่าปีหน้ามันจะไปอยู่ที่อื่น ระหว่างนี้เขาอาจทำอะไรที่ไม่แยแส แล้วสร้างความเสียหายให้กับคุณ ผ่านการปฏิบัติที่ไม่ดีกับลูกค้า ที่คุณอุตส่าห์ได้มาอย่างยากลำบาก  หลายครั้งการเปิดประเด็นง่ายๆ แบบนี้ จะจุดประกายความสนใจของผู้บริหารได้ อย่างน้อยจะพูดออกมาว่า “เคยทำแล้ว ผมใช้เทคนิคนี้มาก่อน....” ประมาณว่าก็เคยแก้ปัญหามาก่อน ด้วยเทคนิกโน่นนี่นั่น ตรงนี้แหละที่คุณจะสามารถนำเสนอแนวทางการทำ OD ที่จะต่างจากแนวทางอื่นๆ อย่างชัดเจนให้เขาเป็นทางเลือก การสนับสนุนอาจเกิดขึ้นทันที  ส่วนคนข้างในไม่สนับสนุนไม่เป็นไร ตรงนี้ระยะแรก ขอให้หลุดเข้าไปด่านแรกให้ได้ก่อน มี OD หลายตัวที่ผมเคยเจอมา โดยเฉพาะกลุ่ม Whole Brain Literacy (WBL) ที่มักจะเปิดใจได้ครับ ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากคนข้างในตามมา ข้อสรุปในประเด็นนี้คือ.. ชาว OD ต้องหมั่นศึกษาหาวิธีการ “เปิดใจ” ผู้บริหารครับ จะพลิกสถานการณ์ได้ จากนั้นเรียนรู้การใช้เครื่องมือด้าน OD ที่เปิดใจได้ง่ายๆ ที่ผมเห็นมาจะเป็น WBL ครับ (แต่เป็นสินค้ามีลิขสิทธิ์) ถ้ามีงบประมาณน้อย ผมได้พัฒนาเครื่องมืออื่นๆมาใช้ครับ ลองดู Tree of Life ของผมก็ได้ อันนี้เอาไปใช้ได้ไม่ว่าครับ บอกกันหน่อย อ้างอิงตามมารยาทก็พอครับ

2.  การสนับสนุนของฝ่ายบริหารต่ำ ความร่วมมือของกลุ่มเป้าหมายสูง นี่เปรียบเสมือนเราเดินเข้าไปในนาข้าว เราได้เริ่มทำนาปลูกข้าว ข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ที่วิเศษสุดของมนุษยชาติ เชื่อไหมครับ ผมให้คุณค่ากับนาข้าวนี้มาก มากที่สุด เพราะมันเป็นอะไรที่ก้ำกึ่งระหว่างความพร้อม และความไม่พร้อม ในนาข้าวนี้ คุณจะได้มีโอกาสเลือกเมล็ดพันธ์ ที่ดีมากๆ ที่ต้องเหมาะกับสภาพดินจริงๆ โดยหลายครั้งปราศจากงบประมาณดีๆ คุณอาจได้ทำ OD กับกลุ่มคนที่กระตือรือร้น แต่มีขีดจำกัดหลายๆ อย่าง คุณและทีม OD ต้องช่วยกันวานแผนอย่างระมัดระวังผมเองก็ “เกิด” จากนาข้าวนี่เอง จากการที่ผู้บริหารไม่เข้าใจ เรื่อง AI ทำให้ไปหาใคร คนก็ไม่ค่อยเต็มใจสนับสนุน ที่สุดอุปสรรค์นี้ก็เปิดโอกาสให้ผมเจอแนวคิด Community of Practice (CoP) หรือ ชุมชนนักปฏิบัติ ไม่มีองค์กร ก็สร้างองค์กรในรูป  CoP คือชมรมผู้สนใจ AI ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของ AI Thailand ที่อิสระกว่า ยืดหยุ่น และเต็มที่กว่าที่จะไปทำกับใคร และในบางงาน เมื่อผมทำร่วมกับคนอื่น ก็ตรงนี้แหละ ที่ทำให้เราต้องคิดต่าง หาเครื่องมือดีๆ จนที่สุดเราทำให้โครงการออกมาได้ผล จนไปเตะตา ผู้บริหาร และได้รับการสนับสนุนในวงกว้างในเวลาต่อมา  สรุปแล้วถ้าเจอสถานการณ์นี้ คุณกำลังเจอโอกาสสร้างนวัตกรรมใหม่ๆครับ  ค่อยๆคิด ค่อยๆ ทำ เดี๋ยวติดลมบนเอง

                          

 3.  การสนับสนุนของฝ่ายบริหารสูง ความร่วมมือของกลุ่มเป้าหมายต่ำ  ผมเปรียบเหมือนเราไปเข้าแคมป์เดินป่าในวนอุทยานครับ เราจะได้รับการสนับสนุนในปัจจัยต่างๆ และถึงแม้กลุ่มเป้าหมาย ให้ความร่วมมือไม่มาก ก็เข้าไปเลยครับ OD มีเครื่องมือหลายตัวที่จะยกระดับความร่วมมือได้  การได้รับการสนับสนุน ทำให้หลายครั้งเราได้เครื่องมือดีๆ มาช่วย โดยเฉพาะสินค้ามีลิขสิทธิ์ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพื่อนร่วมอาชีพ ที่อุตส่าห์สร้างนวัตกรรมให้โลก OD แล้ว เครื่องมือหลายตัวยังมีประสิธิภาพสูงมากๆ หลายตัวพัฒนามาจากงานวิจัยดีๆ ทำให้สามารถสร้างความน่าเชื่อถือของกลุ่มเป้าหมายได้ไม่ยาก ซึ่งจะนำมาสู่ความร่วมมือในที่สุด  ในขณะเดียวกันก็สามารถเสนอเครื่องมือหลายๆ อย่างที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาในองค์กรได้ เนื่องจากหมดปัญหาเรื่องการสนับสนุน แต่หลายครั้งก็ต้องดูจริงๆ เพราะอาจถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารได้  ถ้าเจออย่างนี้ ก็อาจเลือกใช้เครื่องมือดีๆ เช่น Dialogue นี่จริงๆ แล้วใช้ได้ทุกกลุ่มเป้าหมายเลย แต่ถ้าเป็นไปได้ดึงฝ่ายบริหารมาทำ OD ด้วยอาจช่วยลดปัญหาที่จริงๆ แล้วอาจมาจากอคติบางอย่างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นจากฝ่ายบริหารเองหรือฝ่ายพนักงาน Dialogue จะช่วยให้คนเรา “เห็น” อคติ ตนเอง แล้วนำมสู่การปลดล็อก บางอย่างได้  

4.  การสนับสนุนของฝ่ายบริหารสูง ความร่วมมือของกลุ่มเป้าหมายสูง ตรงนี้ผมเหมือนเราเข้าไปในฟาร์มไฮเท็ค ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ปลูกพืช เป็นสภาพที่มักเกิดขึ้นหลังจากที่มี OD เกิดขึ้นครั้งแรกแล้วลูกค้าชอบ   ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน เกิดการบอกต่อ เช่นในบางแห่ง มีคนเคยเชิญผมไปสอนลูกค้าของเขา สอนเสร็จลูกค้าชอบ เลยไปแนะนำผู้บริหารขององค์กรแห่งนั้น ทำให้เราได้โครงการต่อเนื่อง และไม่ต้องพูดอะไรมาก เพระาผลงานพิสูจน์อยู่แล้ว พอทำมากๆ ก็ทำให้เกิดประสบการณ์เฉพาะที่นั่นขึ้นมา กลายเป็นโครงการต่อเนื่องกันมามากมาย ทั้งนี้เราต้องพัฒนาตนเอง และทีมงานด้วยความรู้ ที่ต้องมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะลูกค้าจะมีโจทย์มาให้คิดต่อ ก็ต้องมีการนำเสนอทางออกให้ลูกค้าไปเรื่อยๆ  เหมือนเราอยู่ในฟาร์มไฮเท็ค  จะตัดต่อยีนส์ ทำอะไรก็ทำไป เพราะเป็นพื้นที่ของเรา แต่ก็ต้องรักษาผลงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่งั้นก็ตกขอบ

สรุปแล้วไม่ว่าจะเริ่มต้นในสถานการณ์ใด เรามีโอกาสขยับไปถึงขั้นที่มีคนสนับสนุนทั้งฝ่ายบริหารและกลุ่มเป้าหมาย  ได้ทั้งสิ้นๆ ลองค่อยๆ หาโอกาส และพัฒนาจุดแข็ง ความรู้ของเรามาอย่างต่อเนื่อง เดี๋ยวไปได้เองและไปได้ดีด้วย เปรียบเหมือนดักแด้ที่ค่อยๆ โตไปเป็นผีเสื้อนั่นเอง 

                            

    

วันนี้เพียงเล่าให้ฟัง ลองพิจารณาดูนะครับ

References:

Picture 1: Pinyo Rattanaphan

Picture 2: http://myfertilitychoices.com/readiness/personal-readiness/

Picture 3: http://www.watt-works.com/consulting/change-management-2/

Black Forest http://www.blackforestmagick.com/servlet/the-152/Accurate-SCRYING-PENDULUM-Psychic/Detail

ป่าอนุรักษ์: http://www.bicyclecity.com/sustainable-forests

Rice Padding Field: http://freephoto.in.th/tag/%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81/page/2/

Forest: http://www.greenpeace.org/usa/en/campaigns/forests/Our-current-projects/


หมายเลขบันทึก: 539604เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2013 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2013 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

The world (and everything) is changing in many little ways (not all can be defined "accurately" or even by 'rough categories"). it could be more frustrating to work within one fixed frame of mind( [L, H]x[L, H] matrix ) and to learn that "dynamic" relations rule each issue/event. When Do's and Don't's have exceptions, when barriers and channels have leaks, when things don't go as expected,...

We may succumb to doing things in TIT-FOR-TAT fashions and learn to ride on the back of a bucking bull ;-)

PS. For those who want to appreciate the diversity of things, I suggest looking up the meaning of 'buck' and see which best fit the sense in which it is used above.

ขอบคุณค่ะอาจารย์.   The Readiness Matrix  ของอาจารย์พัฒนาขึ้นมา  เยี่ยมเลยค่ะ

                       

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท