วิธีป้องกันมือถือ-สมาร์ทโฟนหาย


 
.
CNN รายงานข่าวเรื่อง 'Finding solutions to smartphone theft'
= "หาทางออกโจรชิงสมาร์ทโฟน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
สถิติปล้นสมาร์ทโฟนซึ่งหน้าเพิ่มเป็น 1 ใน 3 ของการปล้นจี้-ชิงทรัพย์ (robberies) ทั้งหมดในสหรัฐฯ
เฉพาะที่นิวยอร์ค, สถิติเพิ่มขึ้นถึง 40%
.
ตำแหน่งที่มีการฉกชิงสมาร์ทโฟนที่พบบ่อย คือ
  • เข้าออกสถานีขนส่ง รถไฟใต้ดิน
  • ตอนคุยกันเผลอๆ ข้างถนน
  • ขึ้นลงรถไฟใต้ดิน
.
ภาพที่ 1: สถิติอังกฤษ (UK) พบว่า [ จาก "เอกซ์เพิร์ทรีวิว" ]
  • มากกว่า 1/3 ของโจรขโมยมือถือเป็นผู้ชาย
  • ผู้หญิงเสี่ยงมือถือหายในรถไฟใต้ดิน = 3 เท่าของผู้ชาย
  • กลุ่มเสี่ยงมือถือหายอยู่ในช่วงอายุ 25-30 ปี
  • มือถือหายในสถานีมากกว่าตอนอยู่บนรถไฟใต้ดิน
.
ภาพที่ 2: สถิติในสหรัฐฯ พบว่า มือถือ-โนตบุกหายที่ไหนบ่อย [ จาก "วีลีฟซีเคียวริที" ]
  • ในรถ > 21%
  • ที่บ้าน > 18%
  • ขนส่งมวลชน (สนามบิน-สถานีขนส่ง-สถานีรถไฟ) > 11.5%
  • ร้านอาหาร-ร้านกาแฟ > 11.5%
นสพ.ฮัฟฟิงทัน โพสต์ รายงานว่า สมาร์ทโฟนหายมากที่ร้านอาหาร-เครื่องดื่มมากที่สุด
.
รองลงไปเป็นร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า ร้านกาแฟ และที่ทำงาน [ huffingtonpost ]
.
ผู้เชี่ยวชาญถึงกับออกมาขอให้บริษัทสมาร์ทโฟน และเครือข่ายมือถือหาทางช่วยกันป้องกัน
.
แอปเปิ้ลประกาศจะใช้เทคโนฯ ล็อคตาย (reactivation lock) ทำให้มือถือที่ถูกขโมยไปใช้การใหม่ไม่ได้เลย
.
.
วิกิฮาว (Wikihow) แนะนำวิธีป้องกันขโมยปล้น-ชิงสมาร์ทโฟนไว้ดังนี้ [ wikihow ]
.
(1). เก็บหลักฐาน > ถ่ายภาพ จดหมายเลขเครื่องไว้ โดยอาจเก็บไว้ที่อีเมล์ (สมัครไว้อย่างน้อย 2 แห่ง แล้วส่งจากแห่งหนึ่งไปเก็บไว้อีกแห่ง)
.
(2). ทำเครื่องหมาย เช่น พิมพ์ชื่อด้วยเลเซอร์ (แอปเปิ้ลดูจะมีบริการนี้ ถ้าสั่งออนไลน์) ฯลฯ
.
(3). ตั้งรหัสผ่านก่อนเข้าใช้เครื่อง
.
(4). แจ้งเครือข่ายมือถือทันทีที่หาย เพื่อยกเลิกหมายเลขโทรศัพท์ ตัดสัญญาณ ป้องกันขโมยนำไปใช้โทร.ข้ามประเทศ นำข้อมูลบัตรเครดิตไปใช้
.
(5). แจ้งความให้เร็ว
.
(6). ติดตั้งโปรแกรมป้องกันขโมย
.
(7). หลีกเลี่ยงการยกมือถือขึ้นโทร. > ใช้หูฟัง เช่น สมอว ทอล์ค (Small talk; ศัพท์เดิม = พูดเล่น ไม่จริงจัง) ฯลฯ แทน เพื่อลดการเป็นเป้าสายตาโจร
.
(8). ฝึกนิสัย เก็บสมาร์ทโฟนไว้ติดตัว เช่น ติดเข็มขัด ฯลฯ > ไม่ถือด้วยมือ หรือนำไปวางไว้ตามที่ต่างๆ
.
(9). ซื้อสมาร์ทโฟนให้ต่ำกว่าฐานะ ไม่ซื้อรุ่นใหม่สุด ไม่ซื้อรุ่นแพงสุด > เพื่อป้องกันใจแตก-ใจสลาย เวลาของหาย หรือถูกปล้น-ชิงทรัพย์
.
(10). วิธีทางเลือก เช่น
  • ฝึกอยู่แบบ "เรียบ-ง่าย-ประหยัด" > ไม่ใช้สมาร์ทโฟน ใช้มือถือแบบเดิมๆ
  • ใช้มือถือแบบถูกเป็นเครื่องสำรองเวลาไปในที่ที่ปลอดภัยต่ำ เช่น นอกบ้าน-นอกที่ทำงาน ฯลฯ
  • ใช้ซองมือถือที่ดูเชย
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.
                                                                    
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
ยินดีให้ท่านนำบทความนี้ไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาต
CC: BY-NC-SA

หมายเลขบันทึก: 539336เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2013 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2013 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท