หลักการทรงงาน โดย ท่านปราโมทย์ ไม้กลัด


ผมเสนอกับผู้ใหญ่ และแนะนำกับรุ่นน้องเสมอว่า วิธีที่ดีที่สุดในการศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ศึกษาประวัติการทรงงาน โดยเฉพาะการทรงงานจากผู้ใกล้ชิดเบื้อพระยุคลบาล หนึ่งในนั้นคือ ท่านปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ที่มีผลงานมากมายในสมัยท่าน เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฯลฯ

ที่บอกว่า "ดีที่สุด" เพราะ ผมเชื่อว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สรุปกันสั้นๆ ว่า " 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ" นั้น ไม่ได้เกินขึ้นจากนักคิดนักปรัชญา แต่เป็นสิ่งที่ "ตกผลึก" ออกมาจาก "นักปฏิบัติ" วิธีที่ดีที่สุดที่จะเรียนจาก "นักปฏิบัติ" ก็คือ การศึกษาจาก "ปัญญาปฏิบัติ" นั่นคือ "การทรงงานของในหลวง" นั่นเอง

ผมอ่านหนังสือ "การทรงงานของพ่อในความทรงจำ 2" โดยท่านปราโมทย์ ไม้กลัด เล่มนี้  จบแบบแทบไม่ได้วาง เพราะยิ่งอ่านยิ่งมีความสุข จึงอยากนำมาตีความแบ่งปันครับ (อ่านความประทับใจของผมในการอ่านเล่มแรกที่นี่ครับ)

ผมอยากเรียงลำดับ "หลักการทรงงาน" จากความประทับใจจากมากที่สุดก่อน ดังนี้ครับ

  • ทรงทำงานด้วยความสุข  มีประโยคหนึ่งที่ในหลวงพูดกับท่านปราโมทย์ว่า " มาทำงานกับฉัน ไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น"  หลักการนี้เรียกสั้นๆ ว่า "มีความสุขด้วยการให้"
  • ทรงติดดิน ในหลวงตรัสถึง คำสอนของสมเด็จย่า ที่ว่า "....เธอชื่อภูมิพล แปลว่า กำลังของแผ่นดิน แม่ก็อยากให้เธออยู่ติดดิน... "  และตรัสว่า "...เมื่อฟังคำพูดนั้นแล้ว ก็คิดว่า แม่จะสอนเรา และมีจุดมุ่งหมายให้เราเป็นคนติดดิน"  


  • ทรงงานได้ทุกสถานที่  แม้จะอยู่ระหว่างประทับเครื่องบินพระที่นั่ง โบอิ้ง 737 ที่กองทัพอากาศจัดถวาย เพื่อเดินทางไปช่วยภัยน้ำท่วม  ท่านยังทรงงานได้ โปรดพิจารณาจากรูปภาพด้านล่างครับ


  • "ทรงงานตามหลักวิชาการ ทรงเป็นนักคิด ทรงเก่งคิด"  หนึ่งในมุมมองของท่านปราโมทย์ที่ ผมจะฝึกตน เจริญรอยตาม
  • แก้ปัญหาตามหลัก "ภูมิสังคม"  ภูมิคือภูมิประเทศ สภาพของธรรมชาติ และ สังคมคือ ความเป็นอยู่ของท้องถิ่นนั้นๆ 
  • "ราษฎรต้องมีส่วนร่วมกับข้าราชการ"  มีตอนหนึ่งที่ท่านปราโมทย์เล่าว่า  การทำโครงการแต่ละโครงการจะต้องคุยทำความเข้าใจกับชาวบ้านในท้องถิ่นก่อน หากโครงการไหนชาวบ้านไม่ยอมก็จะเลื่อนออกไป ส่วนโครงการไหนคุยกันได้จะดำเนินการก่อน......  สุดยอดจริงๆ ครับ
  • ทำงานอย่างผู้รู้จริง "....รอบรู้ รู้รอบ และ รอบคอบ...."
  • ในหลวงตรัสกับท่านปราโมทย์ตอนหนึ่งว่า "...นายช่าง คิดให้ดี คิดให้ละเอียด คิดให้รอบคอบ หากคุ้มแก้ปัญหาได้ ให้ทำ"  และ อีกตอนหนึ่งว่า "...พระราชดำริเป็นแนวคิดของฉัน ไม่ได้เป็นพระบรมราชโองการ หรือคำสั่งนะ..."
  • "แก้ปัญหาด้วยธรรมชาติ ใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่าย เหมาะสม และประหยัด"  พระราชดำรัสเกี่ยวกับหญ้าแฝกและหญ้าคาในหน้าที่ 77 ของหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผมเข้าใจหลักการทรงงานข้อนี้ได้ทันทีครับ
  • ทำตามลำดับขั้น ไม่ก้าวกระโดด ในหลวงทรงเน้นย้ำกับทีมทำงานของกรมชลประทานว่า "...เวลาจะทำโครงการใดๆ ทำให้เขาพอประมาณ เริ่มจากน้อยๆ ก่อน"

ท้ายนี้ผมอยากให้ดูภาพ 2 ภาพที่ผมประทับใจที่สุดในหนังสือเล่มนี้ครับ ภาพแรกคือลายพระหัตถ์ของท่าน (หลายท่านอาจไม่เคยเห็น) ภาพที่สองคือ พระเมตตาของท่าน ท่านกำลังทายาบนหลังมือของท่านปราโมทย์ที่ถูกตัวคุ้นกัด


ขอจงทรงพระเจริญ......

ฤทธิไกร

หมายเลขบันทึก: 539135เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2013 04:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2013 05:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)


สวัสดีค่ะคุณฤทธิไกร แวะมาทักทายและอ่านบันทึกหลักการทรงงาน โดย ท่านปราโมทย์ ไม้กลัด ...ขอบคุณมากค่ะ

เห็นด้วยกับอจารย์อย่างยิ่งในการเรียนรู้และดำเนินรอยตามพระองค์ท่านค่ะ อ่านแล้ว คิดออกมาดังๆได้อย่างเดียวเลยว่า ทรงพระเจริญ รักพระองค์ท่านมากที่สุดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท