ภูมินิเวศน์วัฒนธรรม 1:เดลอคี


โรงเรียนขุนห้วยบ้านรุ่ง  หรือชื่อเดิม คือ  เดลอคี    แปลว่าหมู่บ้านต้นน้ำ

พวกราออกเดินทาง จากโรงแรม เกศและ เกล้า วันที่   7 มิถุนายน 2556  โดยรถ ผอ.วัลลภ  โตวรานนท์ ซึ่งประจำอยู่โรงเรียนขุนห้วยบ้านรุ่ง  ด้วยความสะดวกสบาย ระหว่างทางมีป้ายหมู่บ้าน เขียนว่า เดลอคี  ผอ.เล่าว่ากรมทางหลวงสะกดชื่อหมู่บ้านไม่ถูกชาวบ้านจึงลบอักษรออกตัวหนึ่ง  เมื่อเสียงเพี้ยนไปความหมายก็คงเพี้ยนไปด้วย ชาวบ้านจึงจับผิดได้ง่าย

ภูมินาม  เดลอคี  

           คนอุ้มผางบอกว่าหมู่บ้าน  เดลอคี     หมายความถึงหมู่บ้านเก่าแก่หรือหมู่บ้านต้นน้ำหมู่บ้านนี้มีดอยขุนน้ำชื่อ เดลอคี เพราะฉะนั้นทื่มีผู้แปลมูความว่า มี ๒ ความหมาย ความหมายหนึ่ง แปลว่าหมู่บ้านเก่าแก่  อีกความหมายหนึ่งว่าหมู่บ้านต้นน้ำ สะท้อนว่า การเรียกชื่อนั้นแต่เดิมมาเขาเเรียกอย่างมีที่ไปที่มา มิได้มีเจตจำนงเรียกขานให้ไพเราะ  ทั้งสองความหมายจึงมีเค้าบอกประวัติศาสตร์ของชุมชนตามที่เขาเล่าว่าพวกเขาอยู่กันที่นี่มาตั้งแต่ ปู่  ย่า ตา ยาย  พวกเขาและพ่อแม่เกิดที่นี่  และอีกความหมายหนึ่งก็บอกภูมินิเวศน์วัฒนธรรมก็คือหมู่บ้้านนี้มีดอยขุนน้ำชื่อ เดลอคี

ในขณะเดียวกันภาษาก็เป็นทั้งวัฒนธรรมและเป็นเครื่องมือสืบทอดวัฒนธรรม เมื่อโรงเรียนชื่อ ขุนห้วยบ้านรุ่ง ไถ่ถามชาวปาเกอะญอ เขาก็ไม่เข้าใจ พอ ๆ กับที่เราไม่เข้าใจ เดลอคี เพราะความต่างวัฒนธรรมก็ต่างภาษา หรือเสน่ภาษาจะอยู่ที่รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างกระมัง

งานติดตาม

 setting classroom  การสอนตามแผมนการป้องกันมาลาเรีย  ครูผู้้สอนมีบ้านเดิมอยู่อุ้มผาง ครูชื่อ  รัตนาพร  กันชาติ จบวิทยาศาสตร์ม่ารับผิดชอบสอนวิทย์ เพิ่งสอนได้เดือนเดียว ปีที่แล้วที่โรงเรียนนี้  ได้คะแนนเสาระวิทย์สูงกว่าระดับมาตรฐาน จากฝีมือของครูเก่า  

    


คุยเรื่องโรคมาลาเรียและการป้องกัน     โดยสัมภาษณ์ผู้ปกครองจำนวน   6 คนคือ

·  อนันต์  สุดโท     อายุ-34 ปี สัญชาติไทย เรียนจบ ป. 6 มาจาก จันทบุรี อาชีพรับจ้างขับรถ

·  กัลยา  อุแท(เด เค-กบแห้ง)  อายุ 21สัญชาติปาเกอะญอ  เรียนจบชั้น ม.3  ย้ายมา 1 ปี อาชีพ เกษตรกรรม

·  นอ เกลอะ    อายุ   36 สัญชาติปาเกอะญอ จบป. 6  ไม่ได้เรียน  อาชีพเกษตรกรรม

·  เล โพ  อายุ 43 ปี สัญชาติปาเกอะญอ ไม่ได้ เรียน  อาชีพเกษตรกรรม

·  ปาริชาติ  อุดี  (พอ ริ เ-กัดดาว)   อายุ 33 ปี สัญชาติปาเกอะญอ  เรียนจบชั้น ม.6 ศึกษาสงเคราะห์ อาชีพเกษตรกรรม เคยเป็นเจ้าหน้าที่วิทยุของโครงสิ่งแวดล้อม

·  จริยา  ทอแสนบรรพต(ตา เจ่-เงิน) อายุ 32 ปี สัญชาติปาเกอะญอ  เรียนจบชั้น ป.4 เป็น อ.ส.ม. อาชีพเกษตรกรรม

รื่องที่พูดคุยกันมี 5 ประเด็น คือ

1.นักเรียนเคยมาพูดคุยเมาลาเรียและการป้องกันหรือไม่

ผู้ปกครองต่างตอบตรงกันว่า เด็กมาเล่ามาพูดคุยเสมอ เพราะครูสั่งมา ว่าไข้เลือดออกระบาด  ต้องทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง คือคว่ำน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง คว่ำกะโหลกกะลา และใส่ทรายอะเบท ลงในอ่างน้ำ

2.โรคมาลาเรียที่นักเรียนมาพูดคุยคุยด้วยมีความแตกต่างจากที่เคยรู้มาก่อน ไหม

คำตอบด้วยความมั่นใจว่า เหมือนกัน ความเห็นเสริมคือ  เพราะช่วงนี้ไข้เลือดออกระบาด 

3.รู้วิธีการป้องกันไม่ให้เป็นโรคมาลาเรียก่อนหน้าที่นักเรียนจะมาคุยแล้ว

ไม่รู้ เด็กก็ไม่พูด รู้แต่การป้องกันโรคไข้เลือดออก เพราะเจ้าหน้าที่มาบ่อย  ผู้สัมภาษณ์จึงเสริมความเข้าใจให้ถึงความแตกต่างระหว่างไข้เลือดออกและมาลาเรีย  ยุงลายและยุงก้นปล่องในประเด็น แหล่งที่เกิด ว่าเกิดในน้ำใสไหลเอื่อย ...น้ำขังใสในหนองน้ำตามป่า

แล้วตั้งคำถามซ้ำว่า ที่ผ่านมาเรา กำจัดยุงก้นปล่องหรือยง ชาวบ้านจึงตระหนักว่า ตนเสี่ยงในสถานการณ์ใด  ยุงก้นปล่องจะกัดเวลาไหน ไปทำนาที่ชายป่า ก็เสี่ยงที่จะถูกยุงกัดถ้าเป็นเวลามืดค่ำ  อยู่ในบ้านก็เสี่ยง ถ้าไม่ป้องกัน 

ซึ่งชาวบ้านจะตอบอย่างรวดเร็วว่่าต้องนอนในมุ้ง  แต่เมื่อถามว่ามีวงช่วงที่เราไม่อยู่ใ่นมุ้งหรือไม่และป้องกันอย่างไ ร

ผู้ชาบตอบว่า ทำไงได้บ้านอยู่ป่า ยุงจะกัดก็กัดไป อยู่กันไปอย่างนี้  ต้องกระตุุ้นให้คิดเอาความรู้เรื่องเก่ามาใช้คือ ทายา จุดยากันยุง ใส่เสื้อผ้ามิดชิด

4.โรงเรียนควรจะสอนวิธีป้ไดองกันตัวเองจากโรคมาลาเรียกับนักเรียน

สมควรย่างยิ่งเด็กจะได้ป้องกันตัวและปฎิบัติได้จริง จะได้เล่าให้พ่อแม่ฟัง  เมื่ออยู่นอกมุ้งจะได้รู้จักป้องกันตัว

5.เรื่องการป้องกันโรคมาลาเรียที่ควรสอนในในโรงเรียน ควรตนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ เรื่องอะไรบ้าง

ผุ้สัมภาษณ์ได้เพิ่มเติมความเข้าใจเรื่องทักษะชีวิตซึ่งบรรจุไว้เป็นกระบวนการเรียนการสอนว่าเป็นการฝึกให้เด็กคิดเก่ง รู้จักดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันไม่ให้เกิดปัญหากับตนเอง

จากนั้นถามก็ตั้งคาถามว่าเด็กจะนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ เรื่องอะไรบ้าง

คำตอบ  สมควรสอนอย่างยิ่งเพราะเหตุผลดังนี้คือ

1.เด็กจะได้หลีกเลี่ยงจากโรคอันตรายได้

2.ได้แนวคิดหาวิธีป้องกันอันตรายต่าง ๆ ได้ (วางแผนได้-ผู้เขียน)

3.ประกอบอาชีพได้โดยไม่เสี่ยงต่อโรคอันตราย

4.รู้จักปรับตัว เตรียมตัวก่อนทีจะเกิดปัญหาได้

ข้อเสนอแนะ  จากผู้บันทึก

1. เนื่องจากหมู่บ้านนี้ไม่พูด  มีปาริชาดพูดได้ทุกข้อ  พยายามหาคำตอบ และมีอนันต์อีกคนพยายามจะตอบ แต่ก็สารภาพาว่าคิดไม่ออกเกือบทุกข้อ  การรับรู้ข่าวสารก็ไม่ดี เช่น ทุกคนตอบว่าที่นี่ไม่มีใครเป็นไข้เลือดออกและมาลาเรียเลย  เมื่อไปถามครู ปรากฏว่ามีคนเป็นทั้งสองโรค

2.คนที่ผ่านการฝึกการสื่อสารมาจะพูดคล่อง จึงเสมือนคิดเก่งไปด้วย  ปัญหาของปาเกอะญอ

กลุ่มนี้คืออยู่ติดที่มานาน  จึงขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอก จึงขาดข้อมูลข่าวสารไปด้วย



หมายเลขบันทึก: 538537เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2013 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2013 03:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท