ลูกไม่เก่ง ต้องเป็นเพราะเราแน่ๆ


บ้านเราที่พิจิตร หลายคนที่พอมีกำลังเงิน  พวกเราทุ่มเทกันเรื่องส่งลูกเรียน พูดอย่างนี้มันก็เป็นเรื่องธรรมดานะ เขาทุ่มเทกันแค่ไหน ท่านก็คงเดาถูกนะครับ คือทำกันเต็มที่เลยล่ะ สอบแข่ง แก่งแย่ง ชิงโอกาส

หากแต่สิ่งที่หลายคนสนใจก็คือ แล้วแนวทางแบบอื่นๆ แต่ได้ผลลัพธ์ดีน่ะ มีไหม ??

ผมเองก็ค้นหาแนวทางแบบนี้เช่นกัน แต่การเดินด้วยแนวอย่างนี้เราจำเป็นต้องมีความเชื่อ ศรัทธา และต้องยอมรับความเสี่ยงเอง ซึ่งโดยการพยากรณ์แล้วก็ทำให้การบรรลุเป้าหมายนั้นค่อนข้างยาก ฉะนั้นหลายคนก็ไม่เลือก แต่เลือกที่จะทำตามๆ เพื่อนๆผู้ปกครองกันไป แบบเค้าเรียนพิเศษที่ไหนเราก็ให้ลูกเราไปเรียนด้วย การทำแบบนี้ก็ไม่น่าจะผิดอะไรนะ แต่ถ้าจะให้ดีจะต้องมีการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ด้วย ตรงนี้แหละที่เพื่อนๆ ผู้ปกครองบ้านผมไม่ค่อยทำกัน นี่น่าจะเป็นสาเหตุของการความด้อยความรู้ของเด็กๆ ต่างจังหวัดส่วนใหญ่

การทวนว่าวันนี้เรียนอะไรมาบ้าง สัปดาห์นี้เป็นอย่างไร พูดคุยด้วยความรู้สึกร่วม อบอุ่น ช่วยเหลือ แกะปมปัญหาของลูกพร้อมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องราวที่พูดทำความเข้าใจได้ ในส่วนที่เป็นปัญหาที่ใหญ่หน่อยผู้ปกครองต้องเข้าไปจัดการให้เขสามารถเดินต่อไปได้อย่างสะดวก

การทำเรื่องราวอย่างนี้ เราได้ทำมาเรื่อยๆ หากแต่คราวนี้ เราก็สนับสนุนให้ลูกได้เรียนพิเศษแบบเดิม ซึ่งก็เป็นการช่วยให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น ...ลูกสาวคนโตเรียนมอสาม เขาขอไม่เรียนฟิสิกส์กับสถาบันสอน เขาจะเข้าไปค้นหาและเรียนรู้เอง อยากจะทดสอบตัวเองว่างั้น นี่ก็ทำให้ผู้ปกครองแปลกใจ และเราก็ตามใจเขานะ เลยมีเรื่องตื่นเต้นที่ต้องตาม อ่ะครับ




หมายเลขบันทึก: 537410เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2013 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2013 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)


การให้ลูกเรียนในสิ่งที่เขาชอบ  คือแนวทางการสนับสนุนให้ลูกประสบความสำเร็จได้ตามที่เขาเลือก 

 และเขาก็เรียนด้วยความสบายใจจ้ะ   ลูกสาวคนโตของคุณมะเดื่อ เลือกที่จะเรียน " ป่าไม้"  ทั้ง ๆ ที่พ่อกับ

แม่ไม่เคยเห็นด้วยเลย  เป็นคำว่า " ห่วง " นี่แหละ   ผู้หญิงเรียนป่าไม้ มันก็แปลก ๆ อยู่แล้ว  แต่ในที่สุดเขา

ก็เรียนด้วยความสบายใจ  และจบ  ม. แม่โจ้ สมความตั้งใจ  

ดีใจจัง นะครับ คุณมะเดื่อ ....อ่านแล้วชื่นใจ..ครับ


สวัสดีครับ

ความคิดคล้ายๆลูกสาวผมเลย บางวิชาที่เรียนที่โรงเรียนแล้วไม่เข้าใจ ถึงจะไปติวข้างนอก

สนับสนุนแนวคิดที่เป็นตัวของตัวเองของน้องเขาครับ....

 

 


 

มาให้กำลังใจ เด็กเก่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับครอบครัวเพียงอย่างเดียวมีหลายปัจจัย

ไม่เก่งขอให้เป็นคนดีก็พอครับ สบายดีไหมครับ...

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต tuknarak  พ.แจ่มจำรัส ...ผมสบายดีและขอบคุณที่ทักทายกันนะครับ .

...การทวนว่าวันนี้เรียนอะไรมาบ้าง สัปดาห์นี้เป็นอย่างไร...

Ummmh, sounds very much like a sale target meeting. If you ask any salesperson -- most will say they don't enjoy being pestered into performance day-in day-out.

Can we talk about friends, sports and games, movies (even documentaries), the funny things happen today,...?  I would leave space for them to make their own space!

ลูกสาว ลูกชายก็ไม่ชอบเรียนพิเศษค่ะ

ลูกชายเริ่มเรียนตอนม. 4 เทอมปลายเพื่อทบทวน ทำความเข้าใจและดึงเกรด ผลคือจากเกรด 2กว่า ขึ้นมาเป็น 3 นิดๆ

และเขาก็เลือกเรียนในสิ่งที่เขาชอบคือ ธรณีวิทยา แบบที่พ่อกับแม่ ก็ไม่ค่อยรู้เรื่องนัก

ตอนนี้ขึ้นปี 3 แล้ว (คิดว่า)พอเอาตัวรอดได้

ส่วนลูกสาว เคยเรียนตอน ม. 4 เทอมต้น แล้วก็ไม่เรียนอีก เหตุผลคือเหนื่อย และไม่มีเวลา เพราะแค่ทำการบ้าน ทำกิจกรรมต่างๆ ก็ล้าแล้ว

พ่อกับแม่ก็ตามใจ ทั้งๆ ที่อยากให้เรียนเหมือนกันค่ะ


สวัสดีครับคุณเพชร เรื่องการศึกษาของบุตร หัวข้อนี้คุยกันได้เป็นวันๆก็ไม่จบ โดยเฉพาะช่วง ม ปลาย สำคัญมาก เด็กควรค้นหาตัวเองให้พบว่ารักชอบถนัดแนวทางวิชาชีพไหน อย่างน้อยต้องเลือกให้ได้ระหว่าง วิทย์ ศิลป์ ถ้ากำหนดเป้าหมายได้เร็วเท่าไรก็วางแผนได้เร็วเท่านั้น

ผู้ปกครองต้องช่วยเด็กวางแผนการเรียนโดยศึกษาดูรายวิชาที่ใช้สอบเอนทรานซ์ น้ำหนักคะแนนรายวิชา เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของคณะที่เราต้องการ ตั้งเป้าประมาณการว่าเราจะได้คะแนนนั้นๆจากวิชาใดจำนวนเท่าไร 

ขอคุณเพชรลองดูหลักสูตรของโรงเรียนว่าสอนจบหลักสูตรเมื่อไร กำหนดการสอบเอนทรานซ์เมื่อไร คุณจะเห็นได้ว่าการสอบเอนทรานซ์นั้นมันมาก่อนที่เด็กจะเรียนจบหลักสูตรของโรงเรียน นั่นเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เด็กต้องกวดวิชา ลูกๆผมแทบจะเรียกได้ว่าอาศัยโรงเรียนเป็นแค่ทางผ่าน วิชาการทุกรายวิชาที่ใช้เพื่อการสอบเอนทรานซ์วางแผนเองและเรียนเอาจากสถาบันกวดวิชา เมื่อเด็กจบ ม 5 หรือเริ่ม ม6 ต้องให้จบหลักสูตร ช่วงเด็กเรียน ม 6 ก็ตลุยโจทย์เอนทรานซ์ พอนึกภาพออกนะครับ อย่าแปลกใจ ที่กรุงเทพฯเด็กที่ตั้งเป้าเข้ามหาวิทยาลัยในคณะยอดนิยมต่างทำอย่างที่กล่าวทุกคน พอแค่นี้ก่อนนะครับ

ขออภัยท่านอาจารย์ในโรงเรียนทุกท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท