เจ็บแบบไหน___เสี่ยงกลับบ้านเร็ว



.
สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Certain chronic pain may raise suicide risk'
= "(ความ)เจ็บปวดบางอย่าง (อาจ) เพิ่มเสี่ยงฆ่าตัวตาย", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
.
การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่างทหารผ่านศึกอเมริกันผู้ชายวัยกลางคน (middle-aged men) 4,863,036 คน หรือเกือบ 4.9 ล้านคน
.
การศึกษาก่อนหน้านี้เน้น หรือโฟกัสไปที่อาการปวดเรื้อรังกับการฆ่าตัวตาย (suicides) โดยรวมความคิดฆ่า, ความพยายามฆ่า (ไม่สำเร็จ), และการฆ่าตัวตายจริงไว้ปนๆ กัน
.
การศึกษาใหม่วิเคราะห์ เจาะจงลงไปว่า อาการปวดชนิดใดเพิ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จ (completed suicides)
.
.
ข่าวดี คือ การปวดหลายอย่างไม่เพิ่มเสี่ยงฆ่าตัวตายได้แก่
.
(1). arthritis > ข้ออักเสบ
.
(2). neuropathies > เส้นประสาทเสื่อม-อักเสบ เช่น เบาหวาน ฯลฯ
.
(3). non-migraine headaches > ปวดหัวที่ไม่ใช่ไมเกรน
.
ส่วนใหญ่ปวดหัว 2 ข้าง, ปวดตื้อๆ หรือปวดไปเรื่อยๆ - ไม่ปวดเป็นจังหวะตามชีพจร หรือการเต้นของหัวใจ
.
.
เช่น คนที่นั่งนาน หรือท่าทางไม่ดี เช่น เวลายืน-นั่ง, ส่วนหัว-คอจะยื่นไปทางด้านหน้า เพิ่มเสี่ยงกล้ามเนื้อด้านหลังกะโหลกศีรษะ-คอด้านหลังตึงตัว ทำให้ปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว (tension headache) ได้
.
วิธีป้องกันปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัวที่ดี คือ ฝึกนิสัยยืน-นั่งให้คอ "เกือบตรง"... ควรให้คนอื่นยืนด้านข้าง แล้วช่วยดู หรือจะถ่ายภาพ-ถ่ายวิดีโอทางด้านข้างก็ได้
.
การฝึกนิสัยลุกขึ้นยืนทุกๆ 1 ชั่วโมง มองไปไกลๆ แอ่นหลังเล็กน้อย ค้างไว้ในท่าแอ่นหลัง นับ 1-40 ช่วยได้มากเช่นกัน
.
หรือถ้าพัก-เบรคทุกชั่วโมง, แอ่นหลังแล้วเดินไปมา เข้าห้องน้ำ ล้างมือด้วยสบู่ ดื่มน้ำได้... น่าจะดี
.
.
โรคที่พบบ่อยในทหารผ่านศึกอเมริกัน 4.9 ล้านคนได้แก่
  • ข้ออักเสบ > มากกว่า 2 ล้านคน
  • ปวดหลัง > 1.1 ล้านคน
  • ปวดจากโรคทางใจ > 18,000 คน
.
อาการปวดที่เพิ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้แก่
.
(1). back pain > ปวดหลัง
  • เพิ่มเสี่ยง 13%
(2). migraine > ปวดหัวไมเกรน
.
ส่วนใหญ่ปวดหัวข้างเดียว ปวดตุ๊บๆ ตามชีพจร หรือจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • เพิ่มเสี่ยง 34%
(3). chronic psychogenic pain > ปวดเรื้อรังจากโรคทางใจ
  • เพิ่มเสี่ยง 58%
.
การศึกษานี้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ชายวัยกลางคน, ผู้เชี่ยวชาญแนะว่า ต่อไปน่าจะศึกษากลุ่มตัวอย่างอื่นๆ ด้วย เช่น ผู้หญิง คนสูงอายุ วัยรุ่น มังสวิรัติ ฯลฯ
.
กลไกที่อาการปวดเรื้อรังเพิ่มเสี่ยงฆ่าตัวตาย คือ อาจเพิ่มการมองโลกในแง่ร้าย เช่น คนสูงอายุ-พิการอาจรู้สึกน้อยใจว่า ไม่มีใครดูแล, หรือมองตนเองในแง่ร้าย เช่น โรคที่เป็นอยู่คงจะไม่มีทางดีขึ้น ฯลฯ ก่อน
.
เมื่อความคิดเชิงลบสะสม พอกพูนมากพอ... จะเกิดการหมกมุ่น หรือคิดซ้ำซากในแง่ร้าย คล้ายการพายเรือในอ่าง เกิดเป็นกระแสน้ำวนในการคิดร้าย
.
การคิดร้ายต่อตัวเอง หรือคนอื่นนานๆ หรือไม่นานแต่รุนแรง เพิ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้าก่อน
.
.
หลังจากนั้น... โรคซึมเศร้าไปเพิ่มเสี่ยงฆ่าตัวตายอีกต่อหนึ่ง
.
วิธีที่น่าจะดี คือ หาความรูู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นอย่างเป็นระบบ เช่น ค้นจากหนังสือ-อินเตอร์เน็ต ฯลฯ เลือกเฉพาะแหล่งที่พอจะเชื่อถือได้
.
เรื่องแรกที่ควรคิด คือ เราไม่ได้ป่วยคนเดียว... แม้แต่กลุ่มทหารผ่านศึก 4.9 ล้านคนก็พบโรคบ่อย
  • ข้ออักเสบ > มากกว่า 2 ล้านคน
  • ปวดหลัง > 1.1 ล้านคน
  • ปวดจากโรคทางใจ > 18,000 คน
.
คนอื่นที่มีความทุกข์คล้ายๆ กับเรามีมากมาย เห็นธรรมดาของโลกแบบนี้แล้ว กลไกของ "ยาทำใจ" ก็จะเริ่มบำบัดเราทีละน้อยๆ
.
โบราณท่านเรียบเรียงบททำวัตรเช้าไว้ดี มีการแสดงไว้ชัดเลยว่า โรคภัยไข้เจ็บเป็นของคู่โลก... ไม่ใช่เราป่วยคนเดียว ทว่า... มีคน "ร่วมทุกข์" แบบเรามากมาย
.
เรื่องที่ต้องระวังมากๆ คือ ระวังโรคซึมเศร้าร่วมวง (แจม)
.
ขอแนะนำให้ทำแบบทดสอบซึมเศร้า, โรคนี้สารเคมีในสมองเสียศูนย์ ไม่สมดุล ส่วนใหญ่รักษาด้วยยา คือ ยาไปปรับสมดุล หรือที่โบราณเรียกว่า ปรับธาตุที่เสียศูนย์ ให้กลับเข้าใกล้ความพอดี... เท่าที่จะเป็นไปได้
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank Reuters > Source: JAMA Psychiatry, online May 22, 2013.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 28 พฤษภาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 537319เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2013 07:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2013 07:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 "ปวดเรื้อรังจากโรคทางใจ" อันตรายที่สุด และนับวันก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

"ธรรมะ" น่าจะเป็น "ยาทำใจ"  ที่ดีที่สุดนะครับ  คุณหมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท