การประยุกต์สถิติเพื่อการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ (ตอนที่ 5)


สรุปจากการไปฟังบรรยายและฝึกอบรมเรื่อง –  การประยุกต์สถิติเพื่อการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ ซึ่งทางหลักสูตรสารสนเทศศาสตร์ มสธ. จัดขึ้น เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 25-26 พฤษภาคม 2556 โดยมี รศ.พวา พันธุ์เมฆา เป็นวิทยากรผู้สอน

มีทั้งหมด 5 ตอน ตอนที่ 1  | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4 | ตอนนี้เป็นตอนจบ  (ซะที)

การวิจัยเชิงทดลอง

โดยทั่วไปการวิจัยเชิงทดลองจะมีหน่วยวิจัย 2 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นทั้ง 2 กลุ่มว่าแตกต่างกันหรือไม่ กลุ่มควบคุม ไม่ได้รับการจัดกระทำ  (treatment) ถ้าผลที่ได้แตกต่างกันโดยที่กลุ่มทดลองได้ผลดีกว่า ก็สามารถสรุปได้ว่าผลที่ดีกว่านั้นมาจากการจัดกระทำ

การทดลองกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง เป็นการทดสอบทางเดียว การเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง ใช้ค่า t-test dependent

การกระทำที่ให้หน่วยวิจัยกระทำ เรียกว่า ตัวแปรทดลอง (Experimental variable) ผลที่เกิดจากการกระทำเรียกว่า ตัวแปรตาม (Dependent variable)

การออกแบบการวิจัยเชิงทดลอง
ผู้วิจัยควรออกแบบการวิจัยนั้นก่อนว่าจะใช้วิธีการวิจัยแบบใดให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงที่เป็นไปได้ วิธีและรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองจะได้กล่าวต่อไป  ถ้าการวิจัยนั้นออกแบบได้ดี จะทำให้ได้ผลการวิจัยมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงทดลอง
สำหรับสาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่ แบบทดสอบ หรือบทเรียนสำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้นอย่างมีคุณภาพ

รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง

  • แบบการทดลองขั้นต้น (Pre-experimental design) ใช้เพียงกลุ่มเดียว แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบศึกษากลุ่มเดียววัดหลังการทดลอง (One shot design) : มีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว หน่วยวิจัยมิได้มีการสุ่มเลือกมา ไม่มีการทดสอบก่อน ไม่มีกลุ่มควบคุมมาเปรียบเทียบ และแบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง(Pretest-posttest one group design) : มีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวคล้ายกัน แต่มีการทดสอบก่อนการทดลอง
  • แบบการวิจัยทดลองที่แท้จริง (True experimental design) : ในทางปฏิบัติ ทำได้ยาก ส่วนใหญ่ใช้ในการวิจัยเชิงคลินิก การสุ่มหน่วยวิจัยเพื่อเข้าสู่กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองนั้นต้องใช้วิธีการสุ่มแบบสมบูรณ์ คือ ทุกหน่วยวิจัยมีโอกาสถูกเลือกเท่าๆกัน
  • แบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental design) : นิยมกันมาก มี 2 แบบ คือ  มีกลุ่มควบคุมที่ไม่เท่าเทียมวัดหลังการทดลอง (Posttest-only Nonequivalent Control Group Design) และ มีกลุ่มควบคุมที่ไม่เท่าเทียมวัดก่อน-หลังการทดลอง (Pretest-posttest Nonequivalent Control Group Design)


หมายเลขบันทึก: 537280เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2013 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท