Stress Testing ต้องทำให้จริงจังและถูกต้องในการพยากรณ์ความเสียหาย


อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

แนวคิดเชิงบูรณาการเป็นส่วนที่มีความสำคัญในการทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลของการทดสอบ Stress Testing   การบูรณาการจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ

(1)  ระดับบนสุด

เป็นการมองความเสี่ยงทั้งหมดในภาพรวมและกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กรในด้านความเพียงพอของเงินกองทุนและความเพียงพอของสภาพ

(2)  ระดับที่ 2

เป็นการบูรณาการด้านเงินกองทุนและสภาพคล่องจากระดับนโยบายลงสู่กระบวนการบริหารผลประกอบการของกิจการ

(3)  ระดับที่ 3
เป็นการดึงเอากระบวนการดำเนินงานลงสู่ระดับฝ่ายงานในการบริหารเงินกองทุนประกอบด้วย

    (3.1) วางระบบบริหารและการประมาณการความต้องการใช้เงินกองทุนรองรับล่วงหน้า

    (3.2) การจัดระบบในการบริหารระดับเงินกองทุนที่มีอยู่เพียงให้เพียงพอ

    (3.3) การจัดระดับประสิทธิภาพของการใช้เงินทุนและการกำหนดระดับเงินกองทุนให้เหมาะสม

    (3.4) การจัดสรรเงินกองทุนให้แก่ หน่วยงานต่างๆตามความจำเป็น

ขณะเดียวกันก็กำหนดหน้าที่ของฝ่ายงานบริหารสภาพคล่อง

(4)  ระดับที่ 4 เป็นการบูรณาการเชิงแนวคิดในด้านการตรวจสอบความไว(Sensitivity)และการทดสอบ Stress Testing ได้แก่

    (4.1) การกำหนดอัตราส่วนของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตาม Pillar 1 ทั้งที่เป็นไปเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในสินทรัพย์และพอร์ตส่วนที่เป็น Banking Book และความเสี่ยงอื่นในด้านกลยุทธ์ เช่น ชื่อเสียง

    (4.2) การกำหนดอัตราส่วนเงินกองทุนตาม Pillar 2

(5)  ระดับที่ 5 การกันสำรองเผื่อความจำเป้นของสินทรัพย์สภาพคล่อง

(6)  ระดับที่ 6 การส่งเสริมกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง 

จะเห็นว่า ธนาคารจะต้องสร้างความชัดเจนในด้านของการกำกับความเสี่ยงไม่แต่เพียงระดับของคณะกรรมการธนาคารเท่านั้น หากแต่จะต้องรวมไปถึงการกำกับความเสี่ยงในระดับของฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องหน่วยธุรกิจและสำนักงานสาขาต่างๆในทุกภูมิภาคด้วย

ดังนั้น ธนาคารจึงต้องหมั่นทบทวนแบบจำลองที่ใช้อยู่ ณ ขณะนั้นเพื่อให้มั่นใจก่อนการทดสอบ Stress Testing แต่ละครั้งและทำให้มั่นใจฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบของตนในส่วนที่จะต้องดำเนินการและยังคงอยู่ภายในกรอบแนวคิดของการบูรณาการกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย

เมื่อกำหนดขอบเขตหน้าที่ของการเกี่ยวข้องในระดับฝ่ายงานได้อย่างชัดเจนแล้ว ธนาคารก็สามารถออกแบบและวางกระบวนการเชิงองค์กรของกิจกรรมการทดสอบด้วย Stress Testing ได้แล้ว

องค์ประกอบหลักในการออกแบบและวางกระบวนการทดสอบ Stress Testing ในขั้นตอนที่ 3 ประกอบด้วย



 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 

องค์ประกอบที่ 1

ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factors)

เป็นการระบุปัจจัยความเสี่ยงและลักษณะความสัมพันธ์กันของปัจจัยความเสี่ยงที่ควรจะนำมาพิจารณาหาสถานะวิกฤติในพอร์ตของธนาคาร

องค์ประกอบที่ 2

การกำหนด Scenario

เป็นการกำหนดรายละเอียดของScenario ว่าจะใช้สถานการณอย่างไรและขนาดของอุบัติการณ์เป็นระดับเบาบาง ปานกลางหรือรุนแรง   และหาข้อสรุปว่าลักษณะว่าลักษณะเฉพาะของScenario เป็นอย่างไร 

องค์ประกอบที่ 3

การกำหนดกรอบการบริหาร Scenario

เป็นการวางแนวในการพิจารณา Scenario ว่าสถานการณ์ลักษณะใดที่ยอมรับได้และยอมรับไม่ได้ และจะสอดแทรก Scenario ในลูกค้าแต่ละราย หรือสินทรัพย์ที่ลงทุนแต่ละรายอย่างไร

องค์ประกอบที่ 4

เกณฑ์หรือเทคนิคการวัดผลกระทบ

เป็นการระบุภาวะวิกฤติว่ากระทบต่อเงินกองทุนตามTier  1และ Tier 2 และผลกระทบต่อสภาพคล่องของสินทรัพย์

องค์ประกอบที่ 5

การกำหนดดัชนีชี้วัด

ระดับของเงินกองทุนและสภาพคล่องทางการเงินในรูปของอัตราส่วนทางการเงินที่จะต้องใส่ใจและให้ความสำคัญหากเกิดขึ้น   เพราะเป็นส่วนที่มีผลกระทบต่อสถานะของธนาคารสูงมาก

องค์ประกอบที่ 6


 

การวางแผนสำรองเผื่อฉุกเฉิน

เป็นการจัดทำแผนสำรองเผื่อฉุกเฉินเพื่อเตรียมรับมือกับสภาวะวิกฤติล่วงหน้าหลังจากได้ค่าประมาณการจากการทดสอบด้วย   Stress Testing

โดยการจัดทำแผนสำรองฉุกเฉินนี้อาจจะต้องพิจารณา  

(1)  วิธีการที่จะใช้ในการทำ Stressing  

(2)  ศักยภาพและความพร้อมในการรองรับความเสี่ยงและจัดการกับความเสี่ยง  

(3)  งบประมาณในการลงทุนของธนาคาร  


 



 
 
 
 


 
 
 
 


 
 
 


 
 
 


 
 
 


 

ปัจจัยความเสี่ยง  


 

การบริหารScenario  


 

กรอบการกำหนดScenario  


 

รูปแบบของรายงานความเสี่ยง

การรวบรวมข้อมูล


 

ความไวของวิกฤติต่อตัวปัจจัยเสี่ยงแต่ละตัว

ด้านเครดิต  

ด้านตลาด  

ด้านอัตราดอกเบี้ย  

การจัดทำรายงานเป็นรายปัจจัยเสี่ยง

การกำหนดScenario

ด้านปฏิบัติการ

การใช้ดัชนีชี้นำและสัญญาณเตือนล่วงหน้าและKRIsที่เกี่ยวข้อง

การทดสอบความเกี่ยวข้องScenario 

ด้านชื่อเสียง

ด้านกลยุทธ์และธุรกิจ  

รายงานเสนอผู้บริหารระดับสูง

 

การกำหนดแผนที่และสถานการณ์ที่จะทดสอบ  

ด้านการกระจุกตัวของสินทรัพย์  

มาตรการบริหารจัดการเพิ่มเติม  





หมายเลขบันทึก: 537170เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท