ท่านพุทธทาส & การศึกษา


ท่านพุทธทาส & การศึกษา...การศึกษาหมาหางด้วน



กราบ....พระประธาน..ในพระอุโบสถ วัดขันเงิน..พระอารามหลวง อ. หลังสวน จ. ชุมพร

กราบ....นมัสการพระคุณเจ้า...พระเดชพระคุณ พระธรรมโกศาจารย์ (องอาจ ป.ธ.9, PhD.)   เจ้าคณะจังหวัดชุมพร เป็นเจ้าอาวาส องค์ปัจจุบัน

ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อน ..ท่านเจ้าคุณพระราชญาณกวี (บ.ช. เขมาภิรัตน์) (หนึ่งในสามสหายธรรม ของท่านพุทธทาส รวมถึงท่านปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฏ์)      เจ้าคุณพระราชญาณกวี-บุญชวน..ส่งเสริมการศึกษาธรรมบาลีในทุกระดับ ตั้งแต่ร่วมสนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนสอนศาสนาวันอาทิตย์ ที่โรงเรียนชุมชนวัดขันเิงิน  และการเีรียนปริยัติธรรมของพระสงฆ์ และสามเณรในวัด   สมัยก่อนเมื่อผู้เขียนยังเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมปลาย ได้เรียนเพิ่มเติมทางศาสนาที่จัดขึ้นที่วัด ในทุกวันอาทิตย์   สอนโดยพระสงฆ์และท่านเจ้าคุณพระราชญาณกวี  ผู้ที่ริเริ่มก่อตั้งให้มีโรงเรียนสอนศาสนาฯขึ้นเป็นระบบ ร่วมกับโรงเรียนประถม ตั้งแต่สมัยนั้น  ผู้เขียนก็ได้เรียนกับท่านเจ้าคุณด้วย ท่านใจดี เปี่ยมด้วยเมตตา สอนวิชา ..พุทธประวัติ...   นักเรียนที่เรียนจนจบชั้นประถมปลาย  เราเรียนและสอบนักธรรมไปด้วย เมือมีการสอบบาลีสนามหลวง   สนามสอบเดียวกันที่วัด มีพระ เณร และนักเรียนประถม... ส่วนใหญ่เพื่อนๆสอบผ่านในระดับนักธรรม ตรี โท เอก ได้ตั้งแ่ต่เด็กๆ เรียนตั้งแต่ ชั้นประถม ๕, ๖ และ ๗    ส่วนผู้เขียนสอบได้ระดับนักธรรมชั้นโท เพราะเริ่มเรียนตอนอยู่ชั้น ป. ๖    ที่จำได้แม่นว่าวิชาที่ค่อนข้างยากเช่น ..วิชากระทู้ธรรม ..  ฝึกหัดเขียนเรียงความธรรมะ โดยมีการยกข้อกระทู้ธรรมมาแสดง ตั้งแต่เริ่มต้น จากนั้นกล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างให้เห็น  และก่อนจบต้องหาพุทธสุภาษิตปิดท้ายให้สอดรับกับกระทู้ธรรมที่ตั้งไว้      ทำให้มีทักษะในการเขียนอะไรที่ยาวๆ ได้ตั้งแต่บัดนั้นและมีทักษะติดตัวเรื่อยมา .. หลังจากสอบผ่านในแต่ละระดับแล้ว  รู้สึกว่าดีมาก    อืมม์...เราเขียนอะไรที่ยาวๆอย่างนี้ได้ด้วย  (จากความรู้สึกของเด็กประถม ป ๖ สมัยนั้น)     ส่วนการฝึกปฏิบัติอื่นๆ ยังไม่มีโอกาสได้ฝึกฝนมากในวัยเด็กๆ ได้เพียงแต่สวดมนต์จนหมดเล่มหนังสือสวดมนต์  เพราะสวดทุกอาิทิตย์  จึงท่องได้แบบนกแก้วนกขุนทอง  ปิดตาก็ยังจำได้  ..หลังจากนั้นเรียนต่อเข้าสู่ระบบการศึกษาในลำดับที่สูงไปเรื่อยๆในไทยและเทศ...  .."เกือบ" จะตกเป็นผลพวงของการศึกษา ..หมาหางด้วน..

ปัจจุบันนี้.. .มองย้อนกลับไปพบว่า... การมีพื้นฐานธรรมะกล่อมเกลาจิตใจ ตั้งแต่วัยเยาว์  ทั้งที่บ้านและสถานศึกษา..ส่งผลดีต่อการดำรงชีวิตทั้งส่วนตน และการอยู่ร่วมในสังคม  โดยมีพื้นฐานจากการฝึกครองศีลห้า และน้อมนำเอาพรหมวิหาร ๔ มาปฏิบัติ ....เข้าใจว่า ....มีศีลเป็นเสมือนเครื่องมือฝึก..วินัย.. และมีพรหมวิหาร ๔ ฝึก..จิตใจ..นำไปสู่การดำรงชีวิตแบบปราณีต   ทำให้รับมือกับสิ่งต่างๆที่มากระทบ ได้ดีในฐานะปุถุชน  ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นล้วนเป็นธรรมะ ให้ได้ฝึกปฏิบัติอยู่เนืองๆในชีวิตประจำวัน..

 วันนี้...วิสาขปูรมีบูชา .. ขอปฏิบัติบูชา...น้อมนำคำสอนของท่านพุทธทาส (พระธรรมโกศาจารย์ 

..เงื่อม อินทปัญโญ)   มาคิดใคร่ครวญ...เรื่อง.การศึกษาหมาหางด้วน.. ร้อยคำโดยพ่อของผู้เขียน..



                                           โดย..พ่อชาวสวน

๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖

วันนี้..วันเพ็ญเดือนหก.. วิสาขบูชา

หมายเลขบันทึก: 536964เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2013 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ก่อนอื่น ขอขอบคุณครับกับ "ท่านพุทธทาส & การศึกษา"
  • พระอุโบสถ วัดขันเงินนั้น กว้างและใหญ่ทีเดียวครับผม นั่งแล้วเย็นสบาย
  • ข้อสังเกต ใน ๓ สหายธรรมนั้น ล้วนแต่เก่งและกล้าหาญทั้ง ๓ ท่าน แต่ข้อมูลของหลวงพ่อราชญาณกวีนั้น หาได้น้อยมากเลยครับ (เนื้อหาธรรมและอื่นๆ)
  • สุดท้าย ขอกราบนมัสการพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณองอาจ ผมชื่นใจและภาคภูมิใจครับที่มีพระสงฆ์แบบท่าน
  • ขอบพระคุณครับที่ทำให้ระลึกถึง

สวัสดีค่ะคุณ nmintra

ยินดีค่ะ หากว่าบันทึกนี้มีประโยชน์กับผู้ที่สนใจ....จริงๆโดยส่วนตัวแล้วเป็นเด็กใกล้วัด ปู่ย่าตายาย เข้าวัดและถือศีล ๘ วันวันพระ/วันโกน...บรรยากาศเช่นนี้ ที่ซึมซับมา ทำให้ มีต้นทุนติดตัวมาดี   เลยต่อยอดได้บ้างค่ะ :-))

ท่านเจ้าคุณพระราชญาณกวี (บุญชวน) ท่านสอนอะไรที่ล้ำลึก  สมกับที่ท่านเป็นสหายธรรมของท่านพุทธทาส  แ่ต่น่าเสียดาย ผลงานท่านไม่ีค่อยมีใครรวบรวมไว้ ..

อุโบสถวัดขันเงิน ได้ถูกปรับปรุงไปมาก  ภายใต้การดูแลของท่านเจ้่าคุณพระธรรมโกศาจารย์ (องอาจ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน  วัดร่มรื่น พรรณไม้เก่าๆยังรักษาไว้ตั้งแต่ไม้ดั้งเดิม    ผู้เขียนแวะไปกราบพระทุกครั้งที่กลับไปเยี่ยมบ้านค่ะ  ถึงแม้บางครั้งท่านเจ้าคุณติดกิจนิมนต์ที่อื่น

ในสมัยเด็กๆ   ได้ติดตามผู้ใหญ่ไปวัด  เท่าที่ได้รู้จักท่านเจ้าคุณองค์ปัจจุบัน  ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดขันเงิน ตั้งแต่สมัยท่านเจ้าคุณพระราชญานกวี ยังไ่ม่สิ้น  เราเรียกท่านกันว่า ท่านมหาองอาจ 

.. เจ้่าคุณพระธรรมโกศาจารย์ (องอาจ) อุทิศตน ทำหน้าทีสอน ปริยัติกับพระและเณรในวัด  มานานจนปัจจุบัน และการฝึกกรรมฐานทุกปี  ล่่าสุดที่บ้านนินมต์เจ้าคุณเนื่องวันทำบุญสงกรานต์ที่ผ่านมา  ก่อนกราบลาพระ ได้มีโอกาสถามไถ่ เรื่องการสอน/สอบของ พระเณรที่สอบผ่านธรรมบาลีสนามหลวง ..

 ได้รับฟังคำสอนที่ชวนคิดทุกครั้งที่นิมนต์มาที่บ้าน   ..ปีนี้ยกประเด็น คำถวายสังฆทาน " .///..มตกภตฺตานิ//.... ".. มักจะพูดสลับกัน จาก "มตก" .. เป็น" มกต"..ท่านเจ้าคุณว่า ในภาษาบาลี ให้ความหมายต่างไปโดยสิ้นเชิง  

"มตก"   แปลว่า.. มรดก ... ไม่ได้หมายถึงเพียง ทรัพย์สิน เงินทอง   แต่รวมไปถึง  ความเป็นอยู่ ความรู้สึก  การรับรู้ วิธีการปรุงอาหาร ฯลฯ โรคต่างๆ อันเป็นธรรม   ก็รับส่งมาจากบรรพบุรุษทั้งนั้น   เราอนุชนก็รับไว้ และร่วมพิจารณาธรรมะ เหล่านั้น  ไม่ใช่รับแต่ทรัพย์สิน 

ขอบคุณที่แวะมา ฝากความเห็นไว้แลกเปลี่ยนค่ะ:-))


  • ผมมาอ่านความรู้เพิ่มเติมครับ :-)
  • คราวหน้าหากผ่านไปทางหลังสวน และโอกาสให้ ผมคงได้กราบไปนมัสการท่านเจ้าคุณฯครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท