553. ทำองค์กรให้ "เต้นระบำ" (Dancing Organization)


Theory U ตอนที่ 13

การสอน Theory U นั้นผมเปิดโอกาสให้คนถามครับ เรื่องการนำไปใช้ มีคนถามผมอย่างนี้“อาจารย์ครับ ถ้าผมพยายามฟังก็แล้ว อ่อนน้อมก็แล้ว พี่แกไม่ฟังเลย บอกอย่างเดียว...แถมบอกอีกว่า แกจบมาจาก (สถาบันดีมากๆ) นะ... ผมจะทำอย่างไรครับ”

เลยแนะนำเรื่องนี้ครับ เป็นอะไรที่ไกล้เคียง และปีเตอร์เซ็งเก้ แนะนำ (อ๊อตโต้ ชามเมอร์คนคิด Theory U ทำงานร่วมกันคนคิด LearningOrganization  คือปีเตอร์ เซ็งเก้)

ผมแนะนำการพัฒนา การสร้างสมดุลย์ระหว่าง การ“ติดยึด”ของคุณเอง (Advocacy) และการลดการ “ติดยึด” ของคนอื่น (Inquiry)...หรือภาษาอังกฤษคือ Balance of Advocacy and Inquiry.... ที่พัฒนาขึ้นโดย Rossและ Robert เป็นคนที่ปีเตอร์ เซ็งเก้ อ้างอิงถึง ในหนังสือThe Fifth Discipline(องค์กรแห่งการเรียนรู้)   

ชุดคำพูดนี้พัฒนามาจาก Ladder of Inference ของChris Argyris ปรมาจารย์ของวิชา OD อีกท่านหนึ่ง ก่อนจะพูดถึงรายละเอียด ผมขอพูดในภาพรวมก่อนครับ... ในมุมมองของผม ผมว่าแนวคิดนี้มีความสวยงาม เหมือนภาพข้างล่างนี้ครับ คุณเห็นอะไรไหมครับ ลองดูสิ... 

                                  

                              

ผมเห็นความสมดุลย์ครับ ความสมดุลย์ที่ว่า คือความสมดุลย์ของทุกคนที่ทำงานร่วมกัน ใครๆ คนใดคนหนึ่งเอียงมากไป น้อยไป ย่อมกลายเป็นภาระ ความหนักอึ่้งของคนอื่น ดังนั้นไม่ว่าคุณหรือใคร คุณมีหน้าที่ต้องสร้างสมดุลย์ให้ตนเอง และให้คนอื่น 

เช่นกันการที่งานเรามีปัญหามันอาจมาจากทั้งเรา และคนอื่น อคติ ความฝังใจ อุปทาน ความเชื่อเดิมๆของเรา ล้วยแล้วแต่อาจทำให้เราเสียศูนย์ ได้พอๆกับอคติ ความฝังใจ อุปทาาน ความเชื่อของคนอื่น  ถ้าอยากทำให้อะไรมันราบรื่นขึ้น  คุณอาจต้องหาเวลาหาโอกาส ลองใช้วิธีการอะไรบางอย่างที่ Ross และ Robert เรียกว่า Balance of Advocacy and Inquiry คือการสร้างสมดุลย์ ลดการติดยึดนั้นเอง 

โดยนักคิดสองท่านนี้ที่พัฒนา “ชุดคำพูด”เพื่อลดการติดยึดในความคิด หรือความฝังใจ (Mental Model)ไม่ว่าจะเป็นตัวเราหรือผู้อื่น ซึ่งผมเห็นว่ามีประโยชน์มากๆที่จะมาเสริมเติมเต็มแนวคิด Theory U … ยามที่คุณจะ Dialouge ก็แล้ว Theory Uก็แล้ว แต่ไปไม่ถึงไหน … ผมเองเคยลองใช้สมัยผมทำ Appreciative Inquiryแล้วถูกต่อต้านมากๆ ก็เอามาใช้จนสามารถ “สร้างสมดุลย์” ลดอาการติดยึดทั้งตัวเองและฝ่ายที่ไม่เห็นได้วยกับเรามากๆ ได้ คืออย่างน้อยจาก “ขวาง” เต็มตัว ก็ไม่ขวาง..คือไม่เห็นด้วยแต่ยอมให้ทำต่อ… 

ชุดคำพูดเป็นอย่างนี้ครับ ลองพัฒนา ต่อยอดทดลองใช้เอาผมแปลมาจากฝรั่งอีกที ไม่ต้องใช้หมดอาจเอาแค่ชุดสองชุดพอ

ขั้นแรก เมื่อคุณเจอการต่อต้านต่อวิธีคิดขอองคุณ ลองใช้คำพูดข้างล่างนี้ครับ

Improved advocacy  เป็นชุดคำพูดเพื่อเปิดให้ฝ่ายตรงข้าม เห็นวิธีคิด ที่มาที่ไป ของความคิดคุณ ขณะเดียวกันก็เชื้อเชิญให้เขาเพิ่มเติมความคิดของคุณให้ดีมากขึ้นวิธีนี้นอกจากจะช่วยคลายอาการยึดติดของคุณยังอาจเปิดโอกาสให้เกิดการสร้างสรรค์ร่วมกันได้อีกด้วย 

ชุดคำถามมีดังนี้

นี่คือสิ่งที่ผมคิดและเหตุผล ที่มาที่ไปมาถึงเรื่องนี้ คือ.....

ผมเชื่อว่า......

แล้วคุณล่ะ...คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งที่ผมพึ่งพูดไป

หรือคุณเห็นว่าเหตุผลของผม มีอะไรมากไปน้อยไปไหม

หรือคุณคืดว่าคุณต้องการเพิ่มเติมอะไรตรงไหน

มีอีกมุมมองหนึ่งที่ผมอยากให้คุณค่อยๆคิด....


Improved Inquiry  ว่าด้วยชุดคำพูด ที่ช่วยเปิดเผยความฝังใจของคู่สนทนา ที่นำมาสู่การขัดแย้ง การไม่ลงรอยกับคุณอย่างไม่ลืมหูลืมตา เรียกว่าเป็นกระบวนการเปิดใจ ที่อาจนำไปสู่การสร้างสรรค์ร่วมกัน ชุดคำถามมีดังนี้

อะไรหรือเหตุผลอะไรที่คุณนำมาสู่ข้อสรุปของคุณ

ข้อมูลที่คุณนำมาสนับสนุนความเชื่อของคุณคืออะไร

อะไรที่ทำให้คุณพูดอย่างนั้น

หรือบางที่แทนที่จะพูดว่า “คุณหมายความว่าอย่างไร” หรือ“อะไรคือข้อพิสูจน์ของคุณ” อาจพูดว่าคุณพอจะช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจความคิดของคุณได้ไหม

คุณพอยกตัวอย่างอธิบายได้ไหม

......

ลองดูจังหวะ ถ้าทำได้ลองทำพร้อมกัน เราอยากให้เปิด เราต้องเปิดก่อนผมเคยเห็นผลดีมาแล้ว ผมเคยทำกับทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ เห็นการเปลี่ยนแปลงลดการต่อต้านลงทันที ผมจะค่อยๆ นำมาเล่าให้ฟังครับ

                     

ลองย้อนดูสิ ว่าตัวคุณเคยเป็นอุปสรรค ต่อตัวเอง และคนอื่นขนาดไหน เช่นกันครับ หลายคนก็เคยเป็นอุปสรรคต่อกัน เราสร้างสมดุลย์ไม่ได้ เราเอนไปเอนมา ด้วยความกลัวบ้าง หรือเราอาจทำคนอื่นต้องเอนไป จนไม่มีอะไรสมดุลย์ ทีมของเราองค์กรของเราอาจเสียโอกาสไปตั้งมาก ลองดูภาพสุดท้ายสิ ถ้าเรามีสมดุลย์ผมว่าการทำงานของเราคงจะงดงามเหมือนคุณนักเต้นในรูปสุดท้าย สง่างาม เด็ดขาด ได้ผล 

เป็น "Dancing Organization องค์กรเต้นระบำ"  งานที่ทำได้ผล คนมีความสุข ครับ

วันนี้เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ


ที่มา:

The Fifth Discipline Fieldbook

http://www.ocde.us/Administrative/HR/Documents/OCDE%20Academy/BalancingInquiryandAdvocacy.pdf

รูปภาพ

รูปแรก http://tovaltino.blogspot.com/2013/04/blog-post_9228.html

รูปที่สอง http://gauchenomundo.com/node?page=1


หมายเลขบันทึก: 536772เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2013 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2019 06:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ผมเอง มักจะไม่พอใจลูกสาว  เวลาที่ผมบอกอะไรไป  ลูกสาวก็มักจะถามมาว่า "พ่อรู้ได้ไง" 

     ผมก็มักจะพูดเชิงไม่พอใจ เชิงอำนาจ บอกว่า " หนูไม่ต้องถาม  พ่อผ่านอะไรมาเยอะ พ่อย่อมรู้ดี  ต่อไปอย่าถามอย่างนี้อีก พ่อไม่ชอบ"

 
               ต่อไปต้องปรับใหม่แล้วครับ
   เพราะ  "พ่อรู้ได้ไง"  คงจะหมายถึง

       ข้อมูลที่คุณนำมาสนับสนุนความเชื่อของคุณคืออะไร    อะไรที่ทำให้คุณพูดอย่างนั้น

 

สวัสดีครับอาจารย์ Small Man

ยินดีมากๆ ที่บทความของผมเป็นประโยชน์ต่อท่านอาจารย์ครับ 


 

ได้เรียน ได้รู้ สิ่งที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเรียน

ขอบคุณมากครับอาจารย์

ชอบวรรคทองของอาจารย์

การที่งานเรามีปัญหามันอาจมาจากทั้งเรา และคนอื่น อคติ ความฝังใจ อุปทาน ความเชื่อเดิมๆของเรา ล้วยแล้วแต่อาจทำให้เราเสียศูนย์ ได้พอๆกับอคติ ความฝังใจ อุปทาาน ความเชื่อของคนอื่น 

มาเรียนรู้สิ่งดีๆค่ะ

ชอบ ชุดคำถามของอาจารย์มากครับ ได้นำไปใช้แน่นอน ขอบคุณมากครับ

อ่านบทความของอาจารย์แล้วรู้สึกดีงามจังค่ะ น่าจะนำไปปรับใช้และให้กำลังใจคนอื่นได้ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท