Best practice โครงการค่ายจริยธรรมเพื่อสร้างผู้นำ(เยาวชนคนเชิงทะเล)


  Best  Practice  โครงการค่ายจริยธรรมเพื่อสร้างผู้นำ (เยาวชนคนเชิงทะเล)

1. สภาพทั่วไป / เหตุผลความเป็นมา 

องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ศิลปวัฒนธรรม  ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น  แนวทางการพัฒนา  ส่งเสริม สนับสนุน ทำนุบำรุง ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณีในชุมชนและจริยธรรม  ในช่วงปิดภาคเรียน  เยาวชนในพื้นที่ตำบลเชิงทะเล จะมีเวลาว่าง  การจัดหากิจกรรมให้เยาวชนได้เข้าร่วม จะทำให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  กองการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

2.  วัตถุประสงค์ของโครงการ

  เพื่อให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ในหลักธรรม หลักปฏิบัติเบื้องต้นของศาสนาอิสลาม ละหมาด 5 เวลา  ฝึกทักษะในการใช้ชีวิต  เรียนรู้การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกทักษะการเป็นผู้นำ มีจิตสำนึกต่อการเชิญชวนให้คนรอบข้างมุ่งไปสู่การทำความดี โดยยึดหลักธรรมคำสอนทางศาสนาเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

3.  ขั้นตอนการดำเนินการ

1.เชิญประชุมฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน  ผู้นำศาสนา  คณะครู  เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

2.เขียนโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล

3. ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้เยาวชนเข้าร่วมโครงการ

4. ติดต่อ ประสานงาน ขออนุเคราะห์วิทยากรจากสภายุวมุสลิมโลกสำนักงานประเทศไทย (WAMY) ติดต่อสถานที่ศึกษาแหล่งเรียนรู้  White Channel  TV.  ค่ายลูกเสือฉิมกุล สระบุรี

5. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

-  ละหมาดวันละ  5  เวลา อ่านอัลกรุอ่าน และอรรถาธิบาย  / ข้อคิดหลังละหมาด /ดุอา

-  กิจกรรมสถานีความคาดหวัง (ความคาดหวังในการอยู่ค่าย)

- กิจกรรมเพื่อนเขาเพื่อนเรา (สร้างความคุ้นเคย ตระหนักในการอยู่ร่วมกัน)

- ฟังการบรรยายหลักธรรมคำสอนของศาสนา เช่น หน้าที่และบทบาทของเยาวชนมุสลิม หลักการศรัทธา ชีวประวัติของท่านนบี

-  อบรมเชิงปฏิบัติการและฝึก ทักษะการพูดและพัฒนาบุคลิกภาพ

-  เยี่ยมเยียนสำรวจชุมชน

- ศึกษาแหล่งเรียนรู้ สถานีโทรทัศน์ White  Channel  TMTV

-  กิจกรรม  Walk  Rally

3. ผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้น เมื่อได้ดำเนินการตามขั้นตอนการพัฒนา

  เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน  ใช้หลักธรรม หลักปฏิบัติทางศาสนามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต  และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อคนรอบข้าง


4. เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ

  จากการประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการ โดยใช้แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ  ร้อยละ  80 พึงพอใจกิจกรรมตามโครงการและ ดีใจที่ได้เข้าร่วมโครงการ  อยากจะเข้าร่วมโครงการนี้อีกในปีต่อ ๆ ไป


หมายเลขบันทึก: 536569เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เยี่ยมมากเลยครับ บูรณาการวิธีการที่หลากหลาย มีอบรม บรรยาย ปฏืบัติการและการลงสู่ชุมชน
สิ่งเหล่านี้ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ใช้ชีวิต หรือเรียนรู้แบบฝังลึก ผ่านพบสัมผัสจริงกับโจทย์ของการเรียนรู้
หรือแม้แต่การเกิดเป็นเครือข่ายที่สำคัญต่อไป..

เราล้วนยังต้องฝากหวังไว้กับเยาวชน ---

ชื่นชมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท