กาแฟ คาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มโคล่า


กาแฟ กาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มโคล่า

เครื่องดื่ม (Beverages) มักจะเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดเตรียมสำหรับดื่ม มีสถานะเป็นของเหลว และมักจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก เครื่องดื่มอาจเป็นปัจจัยในการดำรงชีพ เช่นน้ำ หรือใช้ในด้านอื่น เช่น เหล้าและไวน์ใช้เป็นส่วนประกอบของพิธีกรรม รายชื่อเครื่องดื่มต่างๆ เช่น น้ำ น้ำประปา น้ำแร่ น้ำผลไม้ น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำแคร์รอต น้ำฝรั่ง นม นมชง : วิกิพีเดีย

ลองมาดูเครื่องดื่มที่ผสม กาเฟอีน (Caffeine) 

 

1. กาแฟ (Coffee)

กาแฟ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า " coffea " เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีหลายพันธุ์มากกว่า 6,000 สายพันธุ์ ที่นิยมมากมีเพียง 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์อาราบิกา (Arabica) และ สายพันธุ์โรบัสต้า (Robusta)

กาแฟมีประวัติมายาวนาน  เริ่มเมื่อต้นศตวรรษที่ 9 (1,200 ปีมาแล้ว) " คาลดี " (KALDI) เด็กเลี้ยงแพะชาวอบิสซิเนีย (เอธิโอเปีย) เป็นผู้ค้นพบต้นกาแฟเป็นคนแรก

อีก 400 ปีต่อมามีผู้เสพกาแฟด้วยการเคี้ยวเพื่อกระตุ้นให้คึกคัก

ประมาณศตวรรษที่ 13 ชาวอาหรับเอาผลแดงมาคั่ว และให้ผ่านไอน้ำ จนกลายเป็นกาแฟในปัจจุบัน

ประมาณศตวรรษที่ 14 มีการนำกาแฟในป่าเอธิโอเปียไปปลูกทางตอนใต้ของตะวันออกกลาง  ชาวมุสลิมถือได้ว่าเป็นผู้เริ่มวัฒนธรรมการดื่มกาแฟจนติดกันงอมแงม

ในศตวรรษที่ 16 กาแฟมีทั่วทั้งยุโรปติดกันงอมแงม

ปี ค.ศ. 1675 พระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอังกฤษ ประกาศห้ามการดื่มกาแฟ และ ปิดร้านการแฟ เนื่องจากเป็นที่ซ่องสุมชุมนุมของฝ่ายตรงกันข้ามรัฐบาล

กาแฟนำมาจากผลกาแฟ ซึ่งมีสารเสพติดชื่อ  " กาเฟอีน " (Caffeine) ซึ่งพบในธรรมชาติที่ ชา กาแฟ และโกโก้ (cocoa)

แหล่งผลิตกาแฟที่มากที่สุดของโลก คือ (1) บราซิล (2) โคลัมเบีย (3) เวียตนาม (12 %) (4) เม็กซิโก

กาแฟมีน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นเฉพาะตัว คนที่ชื่นชอบกาแฟจะรู้สึกได้ถึงความหอมสดชื่นทันทีที่ได้กลิ่นกาแฟที่โปรดปราน

เมื่อปี ค.ศ. 1909 นายจอร์จ  วอชิงตัน วิศวกรชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ ได้พบเทคนิคทำกาแฟสำเร็จรูป อีก 3 ปีต่อมา นายจอร์จได้เปิดบริษัทแปรรูปกาแฟในเมืองนิวยอร์คขึ้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 กาแฟสำเร็จรูปได้เป็นที่นิยมแพร่หลาย เพราะกองทัพอเมริกันได้รวมกาแฟสำเร็จรูปเข้าไว้ในเสบียงพลาธิการทหารด้วย

กาแฟสำเร็จรูปมีทั้งในรูปแบบเกล็ด(ผง) หรือสำเร็จรูปพร้อมดื่มในรูปของ “กระป๋อง” (can) แข่งขันออกสู่ท้องตลาดมากมายหลายยี่ห้อ นักดื่มกาแฟนิยมดื่มกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งได้จากการนำเมล็ดกาแฟไปต้มกลั่น และทำให้น้ำระเหยออกหมด สำหรับชาวสแกนดิเนเวียนและชาวอิตาเลียนนิยมดื่มกาแฟที่บดสด ๆ

 

คุณสมบัติ

กาแฟมีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือดดำให้การขจัดของเสียทางระบบไหลเวียนน้ำเหลืองทำงานได้ดียิ่งขึ้น

นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์ (ข่าวไทยรัฐ 11 พฤศจิกายน 2545) ศึกษาพบว่า กาแฟมีสรรพคุณช่วยเร่งการเผาผลาญน้ำตาลของร่างกาย จึงเท่ากับว่าช่วยป้องกันโรคเบาหวาน  ซึ่งผลการศึกษานับว่า ขัดกับที่เคยเชื่อกันมาก่อนว่า กาเฟอีนในกาแฟมีฤทธิ์ไปกดความรู้สึกของร่างกายให้ชากับฮอร์โมนอินซูลินลง

 

แหล่งผลิตกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลก  ดังนี้ (ดูใน " กาแฟ ชงให้เป็น ดื่มให้อร่อย " ,Joseph S.G., ดวงกมล , พิมพ์ครั้งที่ 7 , 2546)

Columbia นิยมสายพันธุ์ Arabica มี Medillin , Bogota , Suremo

Brazil นิยมสายพันธุ์ Arabica คือ Brazilian Santos

Costa Rica นิยมสายพันธุ์ Arabica  คือ Tarrazu , Tres Rios

Guatemala เช่นเดียวกับคอสตาริกา คือ Antigua , Coban

Mexico คือ Veracruz

Jamaica นิยมสายพันธุ์ Arabica คือ Blue Mountain

Hawaii คือ Kona

Java ทั้งสองสายพันธุ์ ในยุโรปเรียก " กาแฟจืด "

Sumatra ทั้งสองสายพันธุ์ คือ Mandheling , Ankola

India คือ Monsooned Malabar

Ethiopia เป็นจุดกำเนิดกาแฟ นิยมสายพันธุ์ Arabica คือ Harrar Longberry , Sidamo ,Kaffa

Kenya นิยมสายพันธุ์ Arabica  คือ Kenya AA

Thailand ทั้งสองสายพันธุ์ Arabica ปลูกในภาคเหนือ Robusta ปลูกในภาคใต้ เนื้อที่ปลูก 4.1 - 4.5 แสนไร่ ผลผลิตปี 2544 ได้ 85,000 - 100,000 ตัน รายได้ 1,100 ล้านบาท ส่งออกมากที่สุดไป สหรัฐอเมริกา รองลงมาส่งมาเลเซีย

Vietnam เป็นกาแฟคุณภาพต่ำ

 

กาแฟที่มีชื่อเสียง คือ 

Mexico โควตาเปก

Peru ชานชามาโย

Tanzania คีริมานจาโร

Venezuela มาราคาโบ

 

ชนิดของกาแฟชง มีดังนี้

1.  Espresso

2.  กาแฟดำ

3.  Cappuccino (คาปูชิโน่) คือ กาแฟใส่นม

4.  กาแฟใส่นมร้อน

5.  กาแฟร้อนชนิดต่าง ๆ

6.  กาแฟผสมเหล้า

ปัจจุบันมีการค้นพบกาแฟที่ไม่มีสารกาเฟอีนตามธรรมชาติ คือ " Coffea Buxifolia " จากเกาะมาดากัสการ์ แต่ยังไม่สมารถนำมาปลูกเชิงพาณิชย์อุตสาหกรรมได้ เพราะรสชาดขมเกินไป

 

มีเทคนิคในการสกัดสารกาเฟอีน ให้เป็น "กาแฟปราศจากกาเฟอีน" อยู่ 2 วิธี คือ

1.  Methylene Chloride เป็นเทคนิคที่ใช้สารเคมี โดยการสกัดก่อนนำไปคั่ว สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ยุโรปต่อต้าน

2.  Swiss Water Process - SWP เป็นเทคนิคกาเฟอีนผ่านการอบไอน้ำมาผ่านน้ำร้อน มีถ่านเป็นตัวกรอง แต่ไม่นิยม เพราะ กลิ่นและรสชาดถูกทำลาย วิธีการช้า มีค่าใช้จ่ายสูง

 

2. คาเฟอีน หรือ กาเฟอีน (Caffeine)

ไทยเป็นแหล่งผลิต และส่งออกสาร "คาเฟอีน"  ซึ่งเป็นสารตั้งต้นผลิตยาบ้า เพื่อป้องกันและปราบปรามยาบ้า เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2545 จึงได้มีการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุข พาณิชย์ คลัง มหาดไทย อุตสาหกรรม ปปส. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ใช้สารกาเฟอีน มีมติดังนี้

1.  ให้ควบคุมการขนย้ายกาเฟอีนใน 6 จังหวัด 32 อำเภอ เป็น 76 จังหวัดทั่วประเทศ

2.  ผู้ที่ได้รับอนุญาต ต้องขออนุญาตกรมการค้าต่างประเทศทุกครั้งที่มีการส่งออกหรือนำเข้า ผู้นำเข้าได้แก่กลุ่มผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน ผู้ผลิตยาแผนปัจจุบัน กลุ่มผู้ผลิตเพื่ออุตสาหกรรม ผู้ผลิตกระดาษพิมพ์เขียว

 

คุณสมบัติของกาเฟอีน

กาเฟอีนมีลักษณะเป็นผงสีขาวมีรสขม สามารถละลายในน้ำได้ดี และถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้เร็วโดยเฉพาะที่ลำไส้เล็กให้ระดับกาเฟอีนในเลือดสูงสุดที่ 30 - 60 นาทีหลังการบริโภคกาเฟอีน จึงออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างเร็ว หลังการดูดซึมจะกระจายไปยังสมอง หัวใจ ตับ และไต อย่างรวดเร็ว มีฤทธิ์ในร่างกายได้นาน 3 - 6 ชั่วโมง

กาเฟอีนจัดเป็นสารกระตุ้นสมองที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกตื่นตัว ความคิดฉับไว ไม่ง่วงนอน กระปรี้กระ เปร่า รู้สึกมีพลังทำงานได้ทนทานและนานขึ้น การได้รับกาเฟอีนในขนาดสูงจะทำให้นอนไม่หลับ ลดระยะเวลาหลับนอนและหลับไม่สนิท มือสั่น เกิดอาการวิตกกังวล และ ไม่เป็นผลดีต่อระบบการไหลเวียนโลหิตในระยะยาว

กาเฟอีนเป็นสารเคมีพวก Alkaloid ในกลุ่ม Methylxanthines  กาเฟอีนจะถูกดูดซึมจากทุกส่วนของทางเดินอาหารอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อหิว ผู้บริโภคจึงรู้สึกถึงฤทธิ์กาเฟอีนได้เกือบทันทีเมื่อเข้าสู่ร่างการ ผู้ดื่มที่มีความไวต่อกาเฟอีน จะทำให้เกิดอาการใจสั่น กาเฟอีนยังมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งของกรดและน้ำย่อยในกระเพาะ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะหรือมีแผลในกระเพาะอาหาร / ลำไส้ จึงไม่ควรบริโภค  อีกทั้งการบริโภคเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนขนาด 300 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไปเป็นประจำ อาจเกิดอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และ กระวนกระวายใจได้เมื่อหยุดบริโภค

สารกาเฟอีนเป็นสารที่กระตุ้นสมองประสาทส่วนกลาง มีผลดีต่อผู้ใหญ่คนวัยทำงาน แต่สำหรับเด็กจะเป็นผลเสีย การบริโภคเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนติดต่อกันเป็นเวลานานขนาดสูงเกินกว่าวันละ 350 มก. อาจทำให้เกิดอาการติดกาเฟอีนได้ 

เนื่องจากกาเฟอีนมีผลกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางมากที่สุด จึงมีการลักลอบนำสารกาเฟอีนไปในส่วนผสมกับสารกระตุ้นประสาทอื่นที่มีฤทธิ์รุนแรงกว่า เช่น แอมเฟตามีน และ อนุพันธ์ใหม่ ๆ หลายอย่างที่รู้จักในชื่อของยาบ้า  ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ สุขอนามัย สังคม และ ความมั่นคงของประเทศ

ปัจจุบัน "เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน" นับได้ว่าเข้ามามีบทบาทในตลาดอย่างมาก ฉะนั้นเราจึงควรทำความรู้จักไว้

"เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน" หมายถึง เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนเป็นองค์ประกอบทั้งโดยธรรมชาติ และการเติมผสม ได้แก่

เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนโดยเติมผสมกาเฟอีนสังเคราะห์ ได้แก่ เครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน (หรือที่ใคร ๆ มักเรียกกันผิด ๆ ว่าเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งมิได้มีสรรพคุณอย่างที่เรียกกัน)

เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนโดยธรรมชาติ ได้แก่ ชา กาแฟ โคล่า

สำหรับเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนสังเคราะห์ กฎหมายกำหนดให้มีกาเฟอีนไม่เกิน 50 มลลิกรัมต่อหน่วยบรรจุ ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 185/2534 เรื่อง แก้ไขตำรับเครื่องดื่มที่ผสมแคฟเฟอีน ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2534

 

ในเครื่องดื่มต่าง ๆ มีกาเฟอีนอยู่ในปริมาณไม่เท่ากัน  ดังนี้


 

ที่ ประเภทของ ต.ย. ปริมาณ(Oz)

ปริมาณคาเฟอีน(g)

ช่วง

 ปริมาณคาเฟอีน(g)

ค่าเฉลี่ย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

กาแฟชงจากเมล็ดกาแฟคั่วบด

กาแฟผงชนิดละลายทันที

กาแฟผงชงดื่มชนิดละลายทันที

ชา

ชาชนิดละลายทันที

โกโก้

ช็อกโกแลตหวาน

นมปรุงแต่งรสช็อกโกแลต

เครื่องดื่มโคล่า

5

5

5

5

5

5

1

8

6

61 - 124

40 - 108

29 - 176

8 - 91

24 - 31

2 - 7

5 - 35

2 - 7

15 - 23

83

59

-

27

28

4

20

5

-

 

หมายเหตุ ปริมาตร 1 ออนซ์= 30 มิลลิลิตร

 

ที่มา Dews, P.B., Caffeine, Springer Verlag, Berlin Heidelberg, 1984

 

ปัจจุบันมีปัญหาการควบคุมสารกาเฟอีนในเครื่องดื่ม และ อาหาร ขนม ต่าง ๆ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2546 เกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน  จึงมีมาตรการควบคุมเครื่องดื่ม 3 ประเภทหลัก คือ

1.  เครื่องดื่มผสมกาเฟอีนสังเคราะห์ ให้มีปริมาณกาเฟอีนไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อหน่วยบรรจุ และแสดงปริมาณกาเฟอีนที่มีส่วนประกอบเช่นเดิม และมีการแสดงคำเตือนบนฉลากว่า "ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ และเด็กสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ก่อน" แต่สำหรับในส่วนการโฆษณาเปลี่ยนแปลงจากเดิม คือ ให้โฆษณาได้เฉพาะภาพลักษณ์  บริษัท และต้องแสดงคำเตือนในการโฆษณาด้วย

2.  กาแฟ และ ชาพร้อมดื่ม กำหนดให้มีเฉพาะกาแฟหรือชาจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบเท่านั้น ห้ามเติมสารกาเฟอีนสังเคราะห์ และให้ระบุที่ฉลากว่า "มีกาเฟอีน" รวมทั้งให้แสดงปริมาณกาเฟอีนต่อหน่วยบรรจุด้วย ส่วนการโฆษณาก็ต้องมีการแสดงข้อความ "มีกาเฟอีน" ด้วยตัวอักษรขนาดที่เห็นได้ชัดเจน เพื่อเตือนให้ผู้บริโภครับทราบปริมาณกาเฟอีนที่จะดื่ม

3.  เครื่องดื่มน้ำอัดลมที่มีกาเฟอีน ให้มีได้เฉพาะกาเฟอีนที่มีอยู่ตามธรรมชาติของส่วนประกอบ และห้ามเติมกาเฟอีนสังเคราะห์โดยเด็ดขาด ทั้งนี้กำหนดให้มีกาเฟอีนได้ไม่เกิน 15 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลิลิตร และให้ระบุในฉลากว่า "มีกาเฟอีน" เหมือนออสเตรเลีย

ผลการวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทมหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อปี 2546 (ข่าวไทยรัฐ 28 สิงหาคม 2546) พบว่า เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นผู้บริโภคส่วนใหญ่ของลูกอมกาแฟ  ลูกอมทั่วไป และ เครื่องดื่มน้ำดำ หากคิดเกณฑ์การบริโภคลูกอมกาเฟอีน 1 - 2 มิลลิกรัม เด็กอายุ 7 ขวบ กินลูกอมจะได้รับกาเฟอีนเท่ากับน้ำหนัก 60.8 กก.  ได้กาเฟอีนเกินเกณฑ์น้ำหนักตัวไปเกอบ 3 เท่า ในน้ำหนักตัว 1 กก. ได้รับกาเฟอีน 3 - 5 มก. จะทำให้ปวดหัว เครียด มือสั่น ประสิทธิภาพการทำงานลดลง  หากน้ำหนักตัว 1 กก. ได้รับกาเฟอีน 10 มก. จะเกิดพิษที่เรียกว่า "กาเฟอีนนิสซึ่ม" เกิดอาการวิตกกังวล กระสับกระส่าย พูดจาติดขัด ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว สั่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปัสสาวะบ่อย

จากผลการวิจัยสุ่มตรวจขนมลูกอมที่มีส่วนผสมกาแฟ โกโก้ ช็อกโกแลต (เวเฟอร์ , คุ้กกี้ , ช็อกโกแลต , ซีเรียล (อาหารเช้าผลิตจากธัญพืช) , ลูกอม , ไอศกรีม , เค้ก รวม 83 ชนิด) พบว่า

 

ผลการศึกษาลูกอมเฉลี่ย 236 ไมโครกรัมต่อกรัม (0 - 915 ไมโครกรัม/กรัม)

1. ลูกอมรสกาแฟ  915 ไมโครกรัม/กรัม

ลูกอมสอดไส้ช็อกโกแลต  103 ไมโครกรัม/กรัม

2. ช็อกโกแลต  59 - 213 ไมโครกรัม/กรัม เฉลี่ย 88 ไมโครกรัม/กรัม

3. คุ้กกี้   เฉลี่ย  116 ไมโครกรัม/กรัม

4. เวเฟอร์  เฉลี่ย  88 ไมโครกรัม/กรัม

5. เค้ก  เฉลี่ย  82.1 ไมโครกรัม/กรัม

6. ไอศกรีม  เฉลี่ย 79.25 ไมโครกรัม/กรัม

7. ซีเรียล  เฉลี่ย 61.66 ไมโครกรัม/กรัม

 

3. เครื่องดื่มประเภทให้พลังงาน หรือ เครื่องดื่มชูกำลัง

เป็นเครื่องดื่มที่มีจำหน่ายในท้องตลาด มีสารเสพติด “กาเฟอีน” ผสมอยู่ในปริมาณ 50 มิลลิกรัมต่อขวด/กระป๋อง มีชื่อทางการค้าต่าง ๆ หลายยี่ห้อ ซึ่งมักปรากฏว่ามีการโฆษณาทางสื่อวิทยุและโทรทัศน์ที่เกินจริง นิยมใช้กันมากในหมู่ผู้ที่ทำงานกลางคืนหรือผู้ที่ใช้แรงงาน เป็นเครื่องดื่มที่ผสมสารพวกกาเฟอีนผสมกับน้ำตาลซูโครสและสารอื่น บรรจุขวดละ 100 – 150 มล.  ซึ่งกระตุ้นประสาท ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า หากไม่ดื่มจะรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอน เป็นต้น หากดื่มเกินวันละ 2 ขวดจะทำให้หัวใจสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน

ยี่ห้อเครื่องดื่มชูกำลังที่แพร่หลาย อาทิ ลิโพวิตันดี , กระทิงแดง (Red Bull) , เอ็ม 100 , เอ็ม 150 , .357 , แรงเยอร์ , ลูกทุ่ง , หมีคอมมานโด , ซัลโว , บูม , ฉลาม , คาราบาวแดง , เครื่องดื่มผสมโสมเกาหลี ฯลฯ

 

4. เครื่องดื่มประเภทน้ำดำหรือ โคล่า (Cola) และเครื่องดื่มอื่น ๆ

เป็นเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ น้ำตาลไหม้ กาเฟอีน และ สารสกัดจากใบโคคา (ที่สกัดโคเคนออกแล้ว) และลูกโคคา (ปริมาณเล็กน้อย) ผู้ที่ดื่มมาก ๆ จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าได้ เพราะในเครื่องดื่มประเภทนี้มีสารเสพติด “กาเฟอีน” ผสมอยู่ด้วย แต่ในปริมาณที่น้อย

เครื่องดื่มน้ำอัดลมอื่น ๆ ก็มีการเจือปนกาเฟอีนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นขวด กระป๋อง อาทิ ROOT BEER (รสซาสี่) ,เป๊ปซี่บลู

เมื่อปี ค.ศ. 1885 ดร.จอห์น เอส เพมเบอร์ตัน เภสัชกรชาวอเมริกันเป็นผู้คิดสูตรดั้งเดิมของเครื่องดื่มโคคา-โคลา โดยการนำแวง มาริอานิ (vin  mariani) เครื่องดื่มผสมเหล้าองุ่นแดงมาดัดแปลงสูตรใหม่โดยผสมใบโคคาลงไป แต่ขายไม่ดี เขาจึงปรับปรุงสูตรใหม่ โดยเอาเหล้าองุ่นออกและเติมลูกโคคาพันธุ์แอฟริกาที่มีสารกระตุ้นกาเฟอีนลงไป และเติมน้ำตาลและน้ำเชื้อกลิ่นรสเพื่อแก้รสขม ต่อมาดร.เพมเบอร์ตันขายกิจการให้ผู้อื่นไป จนตกมาถึงนายเอซา จี แคนด์เลอร์ ได้ผสมน้ำเชื่อมกับน้ำโซดาลงไป ในปี ค.ศ. 1892 นายเอซา จี แคนด์เลอร์ และนายแฟรงค์ โรบินสัน ได้ร่วมกันตั้งบริษัทโคคา-โคลา (Coca-cola) หรือ โค้ก (Coke) ขึ้น โดยทั้งสองคนเป็นผู้กำสูตรลับของเครื่องดื่มไว้ไม่ให้ผู้ใดรู้มาจนถึงปี ค.ศ. 1903 ในปี ค.ศ. 1909 รัฐบาลอเมริกันได้ยึดสินค้าโคคา-โคลา เพราะเชื่อว่ามีสารเสพติดโคเคนที่ผิดกฎหมายเป็นส่วนผสม  แต่จากการต่อสู้ทางคดีความเกือบ 10 ปี ก็ปรากฏว่าเครื่องดื่มโคคา-โคลา ไม่มีสารโคเคน

เครื่องดื่มประเภทนี้ปัจจุบันเป็นการแข่งขันกันระหว่าง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ บริษัทโคคา-โคลา (Coca-cola) ผลิตเครื่องดื่มโคคา-โคลา หรือ โค้ก และบริษัทเป๊ปซี่-โคลา (Pepsi–cola) ผลิตเครื่องดื่มเป๊ปซี่-โคลา ออกขายทั่วโลก

 

****************

 

อ้างอิง

มติชนรายวัน 26 กพ. 47 (ประวัติกาแฟ)

หนังสือ “ รู้รอบตอบได้ “  รีดเดอร์ส ไดเจสท์ , 2540

หมายเลขบันทึก: 536302เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2013 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2021 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท