๕ หมู่ เพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ


ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงใด การรับประทานอาหาร ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในชีวิต เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายดังที่ว่า "กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น" ยิ่งในวัยสูงอายุด้วยแล้ว การใส่ใจเรื่องการกินนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้น ไม่ว่าเมนูใดๆ ที่จะปรุงให้ผู้สูงอายุทาน หรือแม้แต่ตัวท่านผู้สูงอายุเองที่ยังสามารถปรุงอาหารทานเองได้  ก็ต้องคำนึงถึงเมนูที่เหมาะสม และเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุนั้น  ก็ควรมีครบ ๕ หมู่ เช่นเดียวกับคนในวัยอื่น ๆ แต่ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นพิเศษอยู่บ้าง  ใส่ใจในส่วนผสมและขั้นตอน  เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูองอายที่เรารัก มีอะไรบ้างลองมาดูกันค่ะ.......

หมู่ที่ ๑ แป้ง คาร์โบไฮเดรต

            ผู้สูงอายุจะมีความต้องการ การใช้พลังงานลดลงกว่าคนในวัยอื่น ๆ เนื่องจากความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อลดลง  ผู้สูงอายุจึงควรกินอาหารกลุ่มนี้แต่พออิ่ม ไม่ควรกินมากจนเกินไป  เพราะส่วนที่เกินจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมตามแหล่งที่ต่าง ๆ อันจะเป็นผลเสียต่อระบบไหลเวียนโลหิต  ทำให้นำหนักตัวเพิ่ม  มีผลต่อข้อเข่า  ทำให้เสื่อมเร็วขึ้นและปวดเข่าเวลาเดินภายหลัง

หมู่ที่ ๒ โปรตีน เนื้อสัตว์ ถั่วชนิดต่าง ๆ

            โปรตีนนั้นมีความจำเป็นในการซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ  เพื่อทดแทนของเดิมที่สูญสลายไปตลอดเวลา  ผู้สูงอายุจึงยังต้องการสารอาหารกลุ่มนี้มากกว่าในวัยหนุ่มสาว  เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว  เนื้อสัตว์ที่ผู้่สูงอายุควรรับประทาน  คือ เนื้อไก่ที่ลอกหนังออก  เนื่องจากหนังไก่จะมีไขมันเกินไป  เนื้อปลาซึ่งยังมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า ๓ ถั่วชนิดต่าง ๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว  ก็เป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาไม่แพงที่ให้คุณค่าได้ไม่แพ้เนื้อสัตว์

หมู่ที่ ๓ ไขมัน

            ให้พลังงานสูงมากที่สุด  ซึ่งถ้าร่างกายรับประทานไขมันมากเกินไป  จะเป็นผลเสียคือ  ทำให้หลอดเลือดแข็ง  และเลือดไหลเวียนไปเลี้ยวอวัยวะที่สำคัญลดลง  เช่น สมองและหัวใจ  ผู้สูงอายุจึงควรกินไขมันน้อยที่สุด

หมู่ที่ ๔  อาหารที่ให้เกลือแร่

            แร่ธาตุที่ผู้สูงอายุต้องการมากที่สุด  คือ  แคลเซียมและสังกะสี  แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก  อาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง  ได้แก่ นม ก้อนเต้าหู้  ผัก  ผลไม้  เมล็ดงา  กระดูกสัตว์  เช่น ปลาป่นหรือปลากระป๋อง  ผู้สูงอยุจึงควรรับประทานนมบ้าง  โดยเฉพาะนมถั่วเหลืองที่มีแคลเซียมสูง  ส่วนธาตุสังกะสี  มีความจำเป็นต่อร่างกายหลายระบบ  โดยเฉพาะผิวหนัง  ซึ่งมีมากในอาหารทะเล  ปลา เป็นต้น

หมู่ที่ ๕  อาหารที่ให้วิตามิน

           วิตามินนั้นมีหลายชนิด  แต่ที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาจจะขาดได้บ่อยเช่น  วิตามินบีหนึ่ง  วิตามินอี  วิตามินดีและกรดโพลิค  ถ้าผู้สูงอายุท่านนั้นอยู่แต่ในบ้าน  โดยไม่ออกนอกบ้านเพื่อรับแสงแดดบ้างเพราะแสงแดดอ่อน ๆ สามารถกระตุ้นให้ผิวหนังสร้างวิตามินขึ้นเองได้  ส่วนวิตามินบีหนึ่ง  พบมากในข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้  ส่วนวิตามินอี พบมากในน้ำมันพืช ถั่วชนิดต่าง ๆ กรดโฟลิค จะพบมากในพืชผักสดใบเขียวทุกชนิด


ที่มา: สารรักผู้สูงวัย  ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ เดือนเมษายน ๒๕๕๖

หมายเลขบันทึก: 536130เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท