รังสีเทคนิค รามาธิบดี ชมอัมพวา(1) 2556


รังสีเทคนิค ศิษย์เก่ารามาธิบดี

วันที่ 7-10 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมารังสี

เทคนิค ศิษย์เก่า รามาธิบดี จัดประชุมวิชาการ ที่อัมพวา เพื่อพบปะ น้อง-พี่ รังสีรามา เกือบทุกๆรุ่นตั้งแต่รุ่น ที่ 1 ถึง รุ่นที่ 35(รุ่นสุดท้าย)

ผู้เขียนมีภาพบรรยากาศในงาน และ มีเนื้อหาวิชาการ

บางส่วนมาฝาก สำหรับผู้ที่ไม่ได้มาร่วมประชุมเช่น

เคยค่ะ......

ตามมาชมพร้อมๆกันค่ะ


บน-ล่าง คุณพี่อ๊อต เป็นที่ปรึกษาสมาคม และ ย้งช่วย

เหลือในงานประชุมทุกอย่างให้เป็นไปด้วยความ

เรียบร้อย..ขอปรบมือให้รุ่นพี่ที่น่ารักด้วยค่ะ


บน-ล่าง หนุ่มสาวรังสี ประชันความสวย-หล่อ ในงาน

เลี้ยงช่วงเย็น


ล่าง คุณพี่แดง เป็นรุ่นพี่ ที่มาเล่าประสบการณ์ การ

ทำงานที่ผ่านมา ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้

น้องๆได้ฟัง..น้องๆขอปรบมือในความสามารถและทึ่ง

ในความเก่งของพี่แดงค่ะ



หยิบยกเอาบางส่วน ที่พี่แดง นำมาเสนอค่ะ


อีกท่านที่ต้องปรบมือให้เช่นกันคือ ดร.สารทิศ(อ.ต๋

อง) เป็นศิษย์เก่ารามาอีกคน ได้มาเล่าประสบการณ์

การเรียนและการทำงานในต่างแดนหลายสิบปีให้

พวกเราฟัง...ผู้มีดนตรีในหัวใจ..สุดยอดค่ะ






ล่าง อ.บรรจง(ซ้ายมือ) แม้ไม่ได้เป็นศิษย์เก่า แต่ก็

เคยสอนศิษย์เก่าหลายรุ่น...มาเป็นวิทยากร ขณะนี้

ดำรงในตำแหน่ง ประธาน กช. ต้องขอปรบมือให้อีก

คนด้วยค่ะ

ว่าที่ ดร.อ.เพชรากร(ขวามือ) เป็นศิษย์เก่ารามา ที่มา

เป็นวิทยากร ต้องขอชื่นชมในความสามารถอีกคนค่ะ


ขอนำเอาบางส่วนในการบรรยายของทั้ง 2 ท่าน

มาเสนอในงานประชุมครั้งนี้ .....

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในระบบการรับภาพ

เอกซเรย์ที่เปลี่ยนไป ที่คนรุ่นเก่าต้องเรียนรู้


สิ่งที่ต้องรับรู้ก่อนคือ ความแตกต่างของการสร้างภาพระบบดิจิทัลกับระบบสกรีนฟิล์ม(ดังภาพบน)

ตัวรับภาพของดิจิทัลมีช่วงของการตอบสนองต่อรังสีกว้างกว่าระบบฟิล์มสกรีน ปริมาณรังสีน้อย ๆ ก็ทำให้เกิดภาพได้ ปริมาณรังสีปริมาณมากๆ ก็ทำให้เกิดภาพได้เช่นกัน เรียกว่ามี Exposure latitude กว้างกว่า

อย่างไรก็ตามรังสีปริมาณน้อยๆ ทำให้ภาพรังสีมีสัญญานรบกวนบนภาพมาก จะเป็นภาพที่ด้อยคุณภาพ และ ในขณะที่รังสีปริมาณมากๆ ก็จะทำให้เกิดการตอบสนองของตัวรับภาพที่อิ่มตัว จะทำให้ได้ภาพที่มี contrast น้อย ก็จะทำให้ได้ภาพ ที่ไม่มีคุณภาพเช่นกัน


ตัวอย่างจากภาพบน จากการที่ตัวรับภาพไวต่อรังสี

พลังงานต่ำๆในระบบ CR ถ้า Imaging plate ไม่ได้ใช้งานนานเกิน 48 ชั่วโมง ควรนำไปลบข้ออมูลก่อนนำไปใช้งาน



ในระบบสกรีนฟิล์มเมื่อตั้งเทคนิคไม่เ้หมาะสม หาก

ข้อมูลภาพที่ได้ตกอยู่ในช่วง Toe ภาพที่ไ้ด้ก็จะขาว

เกินไป หากข้อมูลภาพที่ได้(Histogram)ไปตกในช่วง Shoulder ภาพที่ได้ก็จะดำเกินไป และไม่สามารถแก้ไขได้ (เปรียบเทียบ จากภาพบน ในระบบสกรีนฟิล์ม และ ภาพล่าง ในระบบCR-DR)


แต่ในระบบCR- DR เมื่อได้ข้อมูลภาพมาแล้ว จะมีกระบวนการ Rescaling ให้กราฟที่แสดงลักษณะภาพ (Look up Table:LUT) ให้มาอยู่ ณ ตำแหน่งของข้อมูลภาพ ทำให้ภาพที่ีขาวไปหรือดำไป แทบจะไม่ปรากฎให้เห็น

ภาพที่ปรากฏบนจอภาพ ขึ้นอยู่กับ LUTแต่ละแบบ ภาพบน เมื่อ LUT เป็นแบบInvert จะได้ภาพกลับจากขาวเป็นดำและดำเป็นขาว


ล่าง แสดงลักษณะของข้อมูลที่เกิดภาพ จากการประมวลผล


แต่ละอวัยวะหรือ organ ภาพ histogram ที่ได้

จากการประมวลผลจะแตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน ในการแสดง ลักษณะของภาพโดยการนำข้อมูลตัวเลขมาประมวลผล ดังภาพล่าง



ล่าง ตัวอย่าง histogram ของ Chest


ล่าง ในการสร้างภาพหาก มีปรับเปลี่ยน mAs โดยที่ kVp ยังคงที่จะได้ Histogram ที่มีลักษณะที่ไม่แตกต่างไปจากเดิม แตกต่างกันที่ ปริมาณรังสีที่ตัวรับภาพได้รับแตกต่างกัน ดังภาพล่าง Histogram Chest



ถ้าปรับเปลี่ยน kVp แล้วจะได้ histogram ที่ต่างกัน

ดังภาพล่าง


ล่าง ภาพ Histogram นี้ สามารถนำไปวิเคราะห์หาค่าดัชนีชี้วัดปริมาณรังสี (Exposure index )

ซึ่งจะเป็นค่าที่ใช้เตือน ให้นักรังสีเทคนิคได้ทราบว่า การตั้งเทคนิคมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่


ล่าง อาจารย์แนะนำ grid เมื่อใช้ระบบ CR-DR


ค่า Exposure Index (S) ที่กำหนดแตกต่างกันใน

ทางการค้า


ล่าง ตัวอย่างค่า Exposure index ในแต่ละ organ

ของFuji


ล่าง เทคนิคที่แนะนำสำหรับCRหรือDRควรใช้ High

kVp technique



สุดท้ายขอขอบคุณ อ.บรรจง ที่ได้ช่วยแนะนำการ

บรรยายลงในการเขียนบันทึกในครั้งนี้ค่ะ

โอกาสต่อไปหวังอย่างยิ่งว่าพวกเราจะได้เจอเพื่อนๆ

และ พี่-น้อง ชาวรังสีฯ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน

วิชาชีพอีกเช่นเคย...แล้วพบกันในโอกาสต่อไปนะคะ


หมายเลขบันทึก: 536088เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2016 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท