มานุษยวิทยามาร์กซิสต์ ตอนที่ 9 ชนชั้น: แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้น


ชนชั้นตามแนวคิดของมาร์กซ์

นอกจาก มาร์กซ์ ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างโครงสร้างส่วนบนและโครงสร้างส่วนล่างแล้ว มาร์กซ์ ยังได้ชี้ให้เห็นถึงการแบ่งแยกชนชั้นที่เกิดขึ้นภายในสังคม  ตัวแบบพื้นฐานเรื่องชนชั้นของ มาร์กซ์ ในสังคมสมัยใหม่ทั้งหลายประกอบด้วย สองชนชั้น โดยชนชั้นที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือเครื่องมือในการผลิต จะแสดงอำนาจเหนือชนชั้นกรรมกรไร้สมบัติ  ส่วนบรรดากลุ่มที่อยู่คั่นกลาง (intermediate groups) จะถูกดึงเข้ามาอยู่กับชนชั้นใดชนชั้นหลักทั้งสองชนชั้น

การแบ่งแยกชนชั้น วางอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่มีลักษณะขูดรีดโดยที่ชนชั้นที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตจะดูดซับเอามูลค่าที่ชนชั้นกรรมกรผลิตได้ในรูปแบบของผลกำไรมากกว่าที่จะตอบแทนในรูปของค่าจ้างที่เป็นธรรม  ความสัมพันธ์ของการครอบงำนี้สามารถดำรงอยู่ได้เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องทรัพยากรอำนาจ  ชนชั้นที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีเงินทุน ทรัพย์สินและกฎหมายที่ถือหางฝ่ายตนอยู่ในมือ  ขณะที่บรรดากรรมกรมีแต่เพียงพลังแรงงานติดตัวเท่านั้น  ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้จึงมีพื้นฐานอยู่บนความขัดแย้งผลด้านประโยชน์ที่พร้อมจะปะทุเป็นความขัดแย้งที่เป็นปฏิปักษ์กัน

ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว มาร์กซ์ คาดการณ์ว่าในที่สุดชนชั้นกรรมกรจะตระหนักถึงลักษณะที่แท้จริงของสถานะที่ถูกขูดรีดของพวกตน  และลุกฮือขึ้นมาโค่นล้มระบอบที่กดขี่และกักขังพวกตนเอาไว้ ในการลุกฮือขึ้นมาปฏิวัตินี้ ชนชั้นกรรมกรจะสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์  ที่คนในสังคมมีความเท่าเทียมกันขึ้นมาแทนที่สังคมกระฎุมพี  นี่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น สิ่งที่ มาร์กซ์ คาดการณ์ยังไม่เกิดขึ้น ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกลับเป็นสิ่ง มาร์กซ์ ไม่ได้คาดการณ์เอาไว้ เช่น การเติบโตของชนชั้นกลางใหม่ เป็นต้น

โครงสร้างสังคมไทยสมัยใหม่ มีลักษณะเฉพาะ ประกอบไปด้วยชนชั้นที่มีพื้นที่หรือมณฑลที่แตกต่างกันสองส่วน  แต่ยังคงมีบางด้านที่คาบเกี่ยวกัน คือ

1. ชนชั้นทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ชนชั้นล่าง, ชนชั้นกลางในชนบท-ชนชั้นกลางในเมือง และ ชนชั้นสูง

2.ชนชั้นทางวัฒนธรรม-การเมือง ประกอบด้วย ชนชั้นวัฒนธรรม-การเมืองเก่า และ ชนชั้นวัฒนธรรม-การเมืองใหม่

เหตุจำเป็น ที่เราต้องแบ่งชนชั้นออกเป็นสองส่วนเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องเกินเลย หากแต่ถ้าเราพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าความสัมพันธ์ทางปัจจัยการผลิต (ชนชั้นทางเศรษฐกิจ) กับสถานะทางสังคมในด้านวัฒนธรรม-การเมือง (ชนชั้นทางวัฒนธรรม-การเมือง) นั้นถูกแยกออกจากกันอย่างมาก การที่เรามีสถานะทางเศรษฐกิจสูง ไม่ได้หมายความว่าบทบาทในทางวัฒนธรรม-การเมืองจะสูงไปด้วย หากแต่ว่าเราจะเป็นเช่นนั้นได้ ก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนหรือเลื่อนชนชั้นทางวัฒนธรรม-การเมืองโดยการร่วมเป็นเครือข่ายของชนชั้นวัฒนธรรม-การเมืองเก่าหรือใหม่แล้ว เช่นชนชั้นสูงบางคนอาจมีจิตสำนึกช่วยเหลือชาวนาชาวไร่ เพราะได้เข้าร่วมกับเครือข่ายของชนชั้นวัฒนธรรมการเมืองใหม่ แต่ชนชั้นสูงบางคนอาจไม่มีลักษณะเช่นนี้เลยก็ได้ ความสำคัญของชนชั้นทางวัฒนธรรม-การเมือง ประกอบด้วย ชนชั้นวัฒนธรรม-การเมืองเก่า และ ชนชั้นวัฒนธรรม-การเมืองใหม่จะได้ผลดีก็ต่อเมื่อการเมืองมีลักษณะของชนชั้นที่แตกต่างจากแนวคิดของมาร์กซ์ เช่นกลุ่มเสื้อแดงและสลิ่ม เป็นต้น

หนังสืออ้างอิง

อรทัย ปิ่นเก็จมณี.ชนชั้นและรัฐในสังคมไทย ตอนที่ 1. http://firelamtung.com/index.php?option=com_content&view=article&id=101:--1&catid=1&Itemid=19 เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

อรทัย ปิ่นเก็จมณี.ชนชั้นและรัฐในสังคมไทย ตอนที่ 2.http://firelamtung.com/index.php?option=com_content&view=article&id=119:--2&catid=1&Itemid=19  เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

นิธิ เอียวศรีวงศ์. พลวัตของชนชั้นนำไทย (2). http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1349659365&grpid=03&catid=12. เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556 

ศศิริษา.ความสัมพันธ์ทางแนวคิดและทฤษฎี ประวัติศาสตร์ของสังคมทุกสังคมที่เคยมีอยู่ ล้วนคือประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ทางชนชั้น”Karl Marx. http://apinan.orgfree.com/resource.html  เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2556

ภีรเดช อเนกพิบูลย์ผล.ไพร่และ ‘สงครามชนชั้น’ สะท้อนความขัดแย้งในทางวัฒนธรรม-การเมือง. http://prachatai.com/journal/2010/04/28945  เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2556

Faris Yothasamuth. อะไรคือสลิ่ม? ว่าด้วยที่มา บริบทความหมาย และคุณลักษณะเฉพาะ. http://prachatai.com/journal/2011/11/37957

เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2556


หมายเลขบันทึก: 535603เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท