KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๙๔.ใช้ KM จัดการความรู้สึกของตนเอง



          ในการอ่านและตีความหนังสือ Teaching Kids to Be Good People : Progressive Parenting for the 21st Century เขียนโดย Annie Fox, M.Ed.  บทที่ ๕  How Can I Make It Better? Modeling Compassion to Teach Kindness 

          ผู้เขียนแนะนำว่า เมื่อคนในครอบครัว (เช่นลูก) ๒ คนทะเลาะกัน  ให้ใช้ ๕ คำถามต่อไปนี้ ช่วยให้แต่ละคนได้สติว่าทั้งสองฝ่ายต่างก็มีส่วนก่อความขัดแย้งนั้น  โดยต้องคุยกับคู่ขัดแย้งทีละคน


·  เธอทำอะไรบ้าง ที่อาจเพิ่มข้อขัดแย้ง

·  มีสิ่งที่เธอลืมทำอะไรบ้าง ที่อาจมีส่วนช่วยเพิ่มข้อขัดแย้ง

·  ถ้าย้อนเหตุการณ์มาเริ่มต้นใหม่ได้ เธอจะพูดหรือทำต่างจากที่ได้ทำไปแล้วอย่างไรบ้าง

·  คราวหน้าหากเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ เธอจะทำหรือพูดแตกต่างไปอย่างไร

·  ให้เธอลองนึกเรื่องนี้จากมุมของคู่ขัดแย้ง (เช่น น้อง)  เธอจะพูดหรือทำอะไรหากเธอเป็นน้อง


          ทำให้ผมปิ๊งแว้บว่า KM เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ครู/พ่อแม่ เอื้ออำนวยให้เด็กเรียนรู้/จัดการ ความรู้สึกของตนเอง ยามมีอารมณ์และขัดแย้งกับคู่ขัดแย้ง


          คนที่รู้จักสงบสติอารมณ์ และใช้ ๕ คำถามนี้กับตนเอง  เท่ากับมีทักษะที่มีคุณค่ามากต่อการมีชีวิตที่ดี  ทักษะนี้อาจเรียกว่า personal KM



วิจารณ์  พานิช

๘ เม.ย. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 534365เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2013 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2013 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

  ขอบคุณค่ะ ท่านอาจารย์ ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช 

  ดิฉันทำอะไรบ้าง ที่อาจจะเพิ่มข้อขัดแย้ง

· มีสิ่งที่ดิฉันลืมทำอะไรบ้าง ที่อาจมีส่วนช่วยเพิ่มข้อขัดแย้ง

· ถ้าย้อนเหตุการณ์มาเริ่มต้นใหม่ได้  ดิฉันจะพูดหรือทำต่างจากที่ได้ทำไปแล้วอย่างไรบ้าง

· คราวหน้าหากเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ ดิฉันจะทำหรือพูดแตกต่างไปอย่างไร

· ให้ดิฉันลองนึกเรื่องนี้จากมุมของคู่ขัดแย้ง (เช่น น้อง)  ดิฉันจะพูดหรือทำอะไรหากดิฉันเป็นน้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท