530. การพัฒนาองค์กรแบบนาซ่า (ส่งคนไปดาวอังคาร)


เมื่อวันก่อนดูสารคดีเรื่องการที่องค์การอวกาศนาซ่าวางแผนจะเอาคนเดินทางไปสำรวจดาวอังคาร ประเภทเดินทางเป็นปี อยู่บนดาวอังคารอีกเป็นปี แล้วก็เดินทางกลับอีกเป็นปี  นอกเหนือจากความท้าทายด้านวิศวกรรม ที่ต้องเอาชนะกันสุดๆ แล้ว ที่สำคัญที่สุดอีกเรื่องคือต้อง “พัฒนาองค์กร” ครับ คืออะไร.. การที่คุณเอาคนไปอยู่ในที่แคบๆ ในยานอวกาศ ที่คนในนั้นจะรู้สึกว่าชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้ายอยู่ตลอดเวลานั้น แล้วอยู่ด้วยกันไปเกือบสามปี นี่มีสิทธิสติแตกได้ ... น่าซ่าต้องเตรียมตัว เตรียมทีมงานนักบินอวกาศให้ดี..


                                             

               (นักบินอวกาศรัสเซีย ต้องทำงานอยู่ในที่แคบร่วมกันเป็นเวลานานนับปี 

                  เป็นประสบการณ์ที่นาซ่านำมาต่อยอดเพื่อพัฒนาคนไปดาวอังคาร)

          Cr: http://starchild.gsfc.nasa.gov/docs/StarChild/space_level2/mir_console.html


เรื่องนี้มีประสบการณ์มาแล้ว จากสถานีอวกาศรัสเซียเมียร์ครับ รัสเซียมีประสบการณ์เรื่องการเอาคนไปอยู่ในอวกานานๆ นี่มากกว่าชาติใดในโลก บางครั้งเกือบสองปี มีบันทึกเรื่องความกดดัน ครับ มีครั้งหนึ่งเกิดอุบัติเหตุยานลำเลียงเสบียงชนเข้ากับสถานีอวกาศ มีนักบินอวกาศคนหนึ่งถึงกับวางแผนฆ่าตัวตาย แต่ไม่สำเร็จ มีอีกรายวิทยุกลับมาที่โลกว่า “... ช่วยเอาไอ้ศพนี่ลงไปเถอะ ไม่งั้นผมฆ่ามันแน่..”  คือถึงกับวางแผนฆ่ากันก็มี

นี่ครับนาซ่าเลยต้องพยายามอย่างหนักที่จะพัฒนาคน เตรียมตัวคน เนื่องจากมีสองคนขึ้นไปจึงเป็นองค์กรเล็กๆในระดับทีม มีการให้ทุกคนไปใช้ชีวิตในป่าร่วมกัน ปีนเขาสูงร่วมกัน แก้ปัญหาวิกฤตร่วมกัน แล้วที่สุดนาซ่าก็ได้คุณสมบัติของนักบินอวกาศที่จะไปดาวอังคาร คือถ้าจะไปกันให้รอด ในทีมต้องมีคนที่บุคลิกต่างกันสี่แบบคือ

นักวิเคราะห์

นักผลักดัน

นักสร้างสัมพันธ์

นักสร้างกำลังใจ

นี่คือสิ่งที่องค์กรอวกาศสรุป เป็นเรื่องที่ต้องค้นหา หรือต้องสร้างคนที่นอกเหนือจะเก่งด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์แล้ว ยังต้องมีบุคลิกภาพพิเศษนี่ขึ้นมาครับ เทคนิคที่ผมเห็นในสารคดีนี่คือกระบวนการกลุ่มนั่นเอง ทางพัฒนาองค์กรเราเรียกว่า Small Group Intervention สมอล กรุ๊ป อินเตอร์เวนชั่น เช่น Team Building แต่โหดกว่าครับ คือเอาไปอยู่ในป่าเลย แล้วต้องให้ตัดสินใจเรื่องยากๆ ด้วยกัน ในทาง OD เรามีการทำ OD โดยการแบ่งคนเป็นสี่ด้าน เพื่อค้นหาศักยภาพ แล้วดึงศักยภาพคนออกมาใช้ประโยชน์ได้เช่นกันครับ เรียกว่าแนวคิด Whole Brain Literacy  (ดูบันทึกที่เกี่ยวข้องด้านล่างครับ มีสองตอน)


                       

                   Cr: http://www.dailygalaxy.com/my_weblog/2009/03/does-us-have-th.html


บุคลิกทั้งสี่แบบนี่ ผมได้ยินแล้วรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่ครับ การศึกษา การทำงานของเราอาจต้องมองจากแนวคิดของนาซ่าด้วยจะดีมาก เนื่องจากตอนนี้สภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนไปมาก เราเจอเรื่องท้าทายด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านความเชื่อมากขึ้นทั้งจากภายใน จากภายนอก ผมว่าการฝึกคน สร้างทีมให้มีบุคลิกสี่ด้านนี้ อาจจะสำคัญต่อโลกยุคใหม่ครับ ที่คนต้องมาอยู่รวมกัน เพื่อสร้างผลงานที่โดดเด่น ในท่ามกลางความกดดันครับ ถ้าทำได้จะเป็นอะไรที่สนุกทีเดียว

วันนี้พอเท่านี้ครับ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ 


หมายเลขบันทึก: 534225เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2013 07:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นางนวลน้อย วีระพันธ์

ขอบคุณข้อมูลดีๆ นะคะอาจารย์

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ

นักวิเคราะห์

นักผลักดัน

นักสร้างสัมพันธ์

นักสร้างกำลังใจ

3(สมองขวา) ต่อ 1(สมองซ้าย) เลยทีเดียว  :-D 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท