การฉ้อราษฎร์บังหลวง ตอนทีี่ 4 รูปแบบของการฉ้อราษฎร์บังหลวง


รูปแบบการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือคอรัปชั่น

รูปแบบของการคอรัปชั่นและรวมทั้งผลประโยชน์ทับซ้อนในปัจจุบันนั้นมีหลายแบบที่ปรากฏอยู่ในระบบราชการไทยแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อหลัก ดังต่อไปนี้

   1. ระบบส่งส่วย (syndicate corruption)
                วิธีการ  :  ข้าราชการชั้นผู้น้อยเก็บส่วย หรือภาษีไม่เป็นทางการแล้ว รวบรวมที่กองกลาง หลังจากนั้นแจกจ่ายรายได้ส่วยไปยัง ข้าราชการทั้งระดับสูงและล่างในกรม กอง
                แหล่งสำคัญ :  เช่น ที่ดิน ตำรวจ ศุลกากร
  2. กินตามน้ำ  การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement kickbacks)
  วิธีการ  :  สินบนการจัดซื้อจัดจ้าง
  แหล่งสำคัญ :  เช่นสาธารณสุข  ศึกษาธิการ เกษตร องค์กรบริหารท้องถิ่นระดับต่างๆ และเทศบาล มหาดไทย 
  3. การจ่ายสินบนเพื่อให้ได้การผูกขาดกิจการบางประเภทที่ต้องได้ สัมปทานจากรัฐบาล และเพื่อคงสภาพการผูกขาดนั้นไว้ โดยการจ่ายสินบนเป็นการจ่ายประจำให้ข้าราชการหลายระดับ ในบางกรณีจ่ายทั้งกรม
   แหล่งสำคัญ  :  เช่น กระทรวงการคลัง
  4.การคอรัปชั่นการประมูลโครงการ
   วิธีการ  :  หลายวิธีการ แต่โจ่งแจ้งที่สุดคือ การฮั้วกันระหว่างกลุ่มผู้เสนอประมูลเพื่อควบคุมการประมูลแล้วมีข้อตกลง กันเป็นผู้ชนะประมูลเป็นคราว ๆ ไป           
   แหล่งสำคัญ  :  เช่น  คมนาคม  กลาโหม  มหาดไทย
จากทั้ง 4 ประเภทนั้นสามารถแบ่งได้ตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1. การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เช่น การผูกขาด การให้สัมปทาน และการเรียกเก็บส่วนแบ่งอย่างผิดกฎหมาย โดยการสร้างการขาดแคลนเทียม เช่น ปัญหาการขาดแคลนน้ำตาล
2. เครพโตเครซี (Kleptocracy ) เป็นการฉกฉวยทรัพยากรของรัฐมาเป็นของครอบครัวและอาจกระทำโดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

 3. การมีผลประโยชน์ทับซ้อน สถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีผลได้ผลเสียส่วนตัว และผลดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ หรือการกระทำหน้าที่โดยขาดความเที่ยงธรรม

4. การใช้อิทธิพลทางการเมืองหาผลประโยชน์จากตลาดหลักทรัพย์ (ปั่นราคาหุ้นตัวเอง)

5. ปกปิดการบริหารงานที่ไม่ถูกต้อง การปิดบังข้อมูลและให้การเท็จ เช่น การทุจริตกรณีลำไยและกล้ายาง

6. การทุจริตโดยการทำลายระบบตรวจสอบอำนาจรัฐบาล ทุจริตเชิง นโยบายเป็นรูปแบบใหม่ของการทุจริตที่แยบยล โดยอาศัยรูปแบบของกฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรี  หรือมติของคณะกรรมการเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ ทำให้ประชาชน ส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องชองธรรมซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริงดังนี้

          6.1 มีการกำหนดนโยบายที่จะทำโคตรงการหรือกิจการ โดยองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลที่อ้างประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชนเป็นอันดับแรก
          6.2 มีการเตรียมตัวการรองรับโครงการหรือกิจการนั้นให้มีความชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบ
          6.3 ท้ายที่สุด คือ ผลประโยชน์อันมิควรได้เกิดขึ้นแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลผลประโยชน์ที่มหาศาล ที่ตกได้กับฝ่ายบริหารซึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ครอบงำฝ่ายนิติบัญญัติหรือข้าราชการประจำการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่

7. การใช้อิทธิพลทางการค้า แสดงบทบาทเป็นนายหน้าหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน จากการค้าต่างตอบแทน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับประเทศคู่ค้า เช่น การขายข้างแบบรัฐต่อรัฐ 

8. การใช้ทรัพยากรของรัฐไปในทางมิชอบ การปลอมแปลงเอกสาร การฉ้อฉล การใช้กองทุนของรัฐ ไปเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เช่น การใช้ธนาคารของรัฐในโครงการประชานิยม

9. ไม่กระทำการตามหน้าที่แบบตรงไปตรงมา แต่ใช้ลัทธิพรรคพวกแทน เช่น การจัดฮั้วประมูล

10. การให้และการรับสินบน การขู่เข็ญบังคับและการให้สิ่งล่อใจ

11. การยอมรับของขวัญที่ไม่ถูกต้อง เช่น เช็คของขวัญมูลค่าสูง และสินบนมูลค่าสูง

12. ระบบอุปถัมภ์กล่าวคือ สังคมไทยเป็นสังคมแนวดิ่ง คือเป็นสังคมของกลุ่มที่มีอำนาจกับกลุ่มไม่มีอำนาจ โดยกลุ่มที่มีอำนาจจะทำทุกวิถีทางที่ให้ตนมีอำนาจส่วนกลุ่มไม่มีอำนาจก็จะทำทุกวิถีทางให้ตนอยู่รอด และระบบอุปถัมภ์เป็นระบบที่ดูแลค้ำชูโดยผู้ใหญ่ดูแลเด็ก เด็กดูแลผู้ใหญ่ ซึ่งระบบอุปถัมภ์นี้เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเช่นเมื่อราชการกระทำความผิดเกิดขึ้นอาจเกิดจากเหตุที่ ไม่รู้ว่ากระทำนั้นเป็นการกระทำที่ผิด มีความจำเป็นในการกระทำเพื่อประโยชน์ของทางราชการ หรือ เกรงกลัวต่ออำนาจหรือกระโดยทุจริตก็ตาม เมื่อราชการกระทำผิดนักการเมืองมาโอบอุ้มส่วนราชกาให้พ้นผิด
การกระทำดังกล่าวเช่นนี้เป็นการอุปถัมภ์ซึ่งกันและกันจึงทำให้เกิดการสนองตอบด้วยการกระทำความผิดเนื่องจาก
          - กระบวนการยุติธรรมไม่เข้มแข็ง
          - การแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลและนักการเมือง
          - ความเบื่อหน่ายและเพิกเฉยของประชาชนต่อการทุจริตการทุจริตคอรัปชั่นสามารถแบ่งได้เป็น 5 รูปแบบ คือ 1) การทุจริตเชิงนโยบาย 2) ทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ 3) การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง 4) การทุจริตในการให้สัมปทาน

  13. ใช้อำนาจของตำรวจ ทหาร และข้าราชการในทางที่ผิด (ข่มขู่ คุกคามและทำร้ายให้เกิดความเกรงกลัวในการชุมนุมประท้วงนโยบายรัฐบาลและในการเลือกตั้ง)

14. ทุจริตการเลือกตั้ง ทั้งการซื้อเสียงและการทุจริตด้วยวิธีการต่างๆ

15. การบริจาคเพื่อช่วยเหลือการรณรงค์ที่ผิดกฎหมาย เช่น การบริจาคให้แก่นักการเมืองและพรรคการเมืองรัฐบาล เพื่อที่จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายและการออกกฎหมายของรัฐบาล

โดยสรุปการคอร์รัปชันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ Petty corruption และ Grand Corruption

Petty Corruption หรือ การคอร์รัปชันขนาดเล็ก ยังหมายรวมถึงการคอร์รัปชันในระบบราชการ ซึ่งบางครั้งการคอร์รัปชันประเภทนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Bureaucratic Corruption ส่วน Grand Corruption คือ การคอร์รัปชันขนาดใหญ่ มีความเกี่ยวโยงกับนักการเมือง หรือบางครั้งเรียกว่า Political Corruption การคอร์รัปชันขนาดใหญ่จะมีความสลับซับซ้อนตั้งแต่กระบวนการกำหนดนโยบาย กระบวนการจัดทำโครงการของรัฐ กระบวนการแสวงหาประโยชน์ การจัดตั้งบริษัทบังหน้า ไปจนถึงกระบวนการฟอกเงิน

สำหรับประเทศไทยแล้วข้อมูลที่ปรากฏเกี่ยวกับเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด พบว่า เกือบทุกเรื่องเป็นการคอร์รัปชันแบบ Petty Corruptionที่เจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการเรียกรับสินบน การคอร์รัปชันในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การคอร์รัปชันในการจัดเก็บรายได้ การคอร์รัปชันในการออกใบอนุญาต การยักยอกทรัพย์สินทางราชการ การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำรวจเป็นอาชีพที่ถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดฐานเรียกรับสินบนมากที่สุด ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐผู้ทำหน้าที่เป็นผู้รักษากฎหมายกระทำผิดกฎหมายเสียเอง และยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมชั้นต้นในการดำเนินคดีตามกฎหมายด้วยแล้วนั้น นั่นก็แสดงว่า ทุกวันนี้ต้นทุนของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะคอร์รัปชันในสังคมไทยนั้นถือได้ว่า “ต่ำมาก” หรือบางกรณีแทบจะเป็น “ศูนย์” เลยทีเดียว เพราะเมื่อผู้รักษากฎหมายกระทำผิดเองแล้ว ก็ไม่มีใครมาจับได้

หนังสืออ้างอิง

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว.ความหมายของคอร์รัปชัน.

government.polsci.chula.ac.th/Article/coruption.doc  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน2556

สรวิศ   อยู่รอด.ความเรื่อง การคอรัปชั่นในระบบราชการไทย. http://sd-group2.blogspot.com/2012/12/53242643.html  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2556

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง. http://thaipublica.org/2013/02/corruption-studies/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2556

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง 1. http://thaipublica.org/2013/02/corruption-studies-1/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2556

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง 2. http://thaipublica.org/2013/02/corruption-assessment-in-thailand-2/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน2556

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง 3. http://thaipublica.org/2013/02/corruption-assessment-in-thailand-3/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน2556

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง 4. http://thaipublica.org/2013/03/corruption-assessment-in-thailand-4/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2556




หมายเลขบันทึก: 534087เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2013 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2013 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน อาจารย์ต้น

ดิฉันขออนุญาตนำบทความเกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่อาจารย์รวบรวม ไปเป็นรายชื่อบทความที่สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติ 'ศูนย์ราชการใสสะอาด โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์' ใน G2K ควรศึกษาเพิ่มเติมนะคะ เน้นว่าขออนุญาตไว้ล่วงสำหรับทุกตอนค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ได้เลยครับคุณดารนี แต่ผมเอามาจากคุณสรวิช อยู่รอด และเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวงครับ ผู้อ่านควรอ่านจากบทความทั้งสองด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท