โล”ภา”ภิวัฒน์--> Gobblization-->Globalization


โล”ภา”ภิวัฒน์--> Gobblization-->Globalization

ผมได้เสนอคำศัพท์ว่า“โลภาภิวัตน์”แทนคำว่า“โลกาภิวัตน์” มาไม่น่าต่ำกว่าสิบปีมาแล้ว (ขณะนี้พศ. ๒๕๕๖)แต่ไม่ฮิตติดตลาดสักทีวันนี้เลยคงต้องพึ่งภาษาอังกฤษบ้าง โดยขอบัญญัติศัพท์ใหม่ว่า Gobblizationแทนคำว่าGlobalization(โลกาภิวัตน์)

คำว่า Global แปลว่า โลกพอเติม-izationเข้าไปก็กลายเป็น โลกาภิวัตน์แต่ระบบนี้หากเรารู้เท่าทันเราก็รู้ได้ไม่ยากว่า มันเป็นระบบหลอกแดกจากฝรั่งเพื่อหากินกับความโง่ ความจนของคนส่วนใหญ่ในโลกนั่นเอง

โดยหลักการแล้วระบบนี้ไม่ต่างอะไรจากระบบล่าอาณานิคมสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ต่างกันเพียงวิธีการที่เนียนกว่าซึ่งเชื่อไหมว่า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลก ที่เป็นหนูทดลอง ว่าทำได้จนวันนี้ฝรั่งเอาไปขยายผลทั่วโลก(นักเศรษฐไทย ไม่รู้เรื่องที่ว่ามานี้หรอก .... ตามฟอร์ม)

ดังนั้นผมจึงขอเอาคำว่า Gobble ซึ่งแปลว่า การกินอย่างตะกละการแดกการเขมือบมาผนวกกับ–izationบ้างเพื่อบัญญัติศัพท์อังกฤษใหม่ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในโลก  คือ“Gobblization”

...ออกเสียงว่า ก๊อบ-บไล๊-เซเชิ่น...ซึ่งคล้ายกับ กล็อบบัลไลเซเชิ่น  มาก  ..แต่ความหมายต่างกันสวรรค์นรก

ส่วนใครแด็กซ์ใคร  อย่างตะกละ ง่ายดาย แถมได้รับการสรรเสริญจากผู้ถูกแด๊กซ์ แ่ค่ไหน เพียงไร อย่างไร ก็สุดแล้วแต่จินตนาการของใครของมัน ซึ่งผมไม่ขอยุ่งเกี่ยวด้วย


...คนถางทาง (๒๓ เมษายน ๒๕๕๖)

ปล. ประมาณ พศ. ๒๕๓๓ผมได้บัญญัติศัพท์นิยามประเทศไทยว่า เป็นประเทศที่มีระบบการพัฒนาเป็นแบบ“เจริญแต่ไม่พัฒนา” 

โดยผมวงเล็บภาษาอังกฤษด้วยว่า (Modernization without development)

ผมเขียนเป็นบทความเชิงตลกเสียดสีในหนังสือตลก“ต่วย’ตูน” (ซึ่งขณะนั้นผมเป็นนศ. ป. เอก อยู่ในusa) 

ปรากฏว่า ศัพท์บัญญัตินี้ดังพอควรในแวดวงวิชาการไทยแต่ส่วนใหญ่กลับไปให้เครดิทว่า นักวิชาการฝรั่ง ศ.ดร. ท่านหนึ่งเป็นคนบัญญัติไปฉิบ

เฮ้อ..ประเทศไทยเรา คนไทยพูด คิด ต้นฉบับอย่างไรก็ไม่ดังฝรั่งมาลอกไปโควตนิดเดียว ดังเป็นพลุแตก...นี่มันก็ผลพวงของGobblizationนั่นเอง ...ชิมิ อิอิ เซ็งจุงเบย บ่องตก

จากนั้นในปีพศ. ๒๕๓๓ นั้นผมยัง ปล. ต่อท้ายด้วยว่าอินเดีย ตรงข้ามกับไทย ตรงที่ประเทศเขานั้น Development without modernization 



หมายเลขบันทึก: 533710เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2013 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2013 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท