การจัดประชุม Pre-Planning เเนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี


สวัสดีครับ ชาว blog

วันที่ 23 เมษายน 2556 ผมเเละทีมงานมีโอกาสเดินทางมาจัดการประชุม Pre-Planning เเนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลราชธานี) เพื่อนำเเนวทางจากการหารือในครั้งนี้ไปจัด Deepening Workshop ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้ความรู้ทั้งภาครัฐเเละเอกชน โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา

การทำงานในครั้งนี้จะเเบ่งออกเป็น 2 รูปเเบบคือ Pre-Planing เป็นการศึกษาเพื่อหาความต้องการว่าความรู้เรื่อง AEC ที่ต้องการในเเต่ละ Cluster เป็นอย่างไร และ Public Seminar เป็นการให้ความรู้ในรูปเเบบการเสวนา เเลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาและสร้างความเข้มเเข็งของเครือข่าย ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬามาสร้างมูลค่าเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก AEC ได้เต็มที่

กิจกรรมทั้ง 2 รูปเเบบจะทำในลักษณะ cluster 

      ภาคเหนือจัดที่จังหวัดลำปาง จังหวัดนำร่องประกอบด้วย จังหวัดน่าน เเพร่ ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย 

      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย อุบลราชธานี มุกดาหาร สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครพนม 

      ภาคตะวันออกจัดที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว

      ภาคใต้จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี สงขลา ชุมพร  พัทลุง นครศรีธรรมราช

      ภาคกลางจัดที่ กรุงเทพมหานคร  จังหวัดนำร่องประกอบด้วย กรุงเทพฯ และจังหวัดในภาคกลาง

ผมจึงเก็บภาพบรรยากาศเเละแนวคิดของการประชุมในวันนี้มาฝากครับ

เเละผมจะรายงานบรรยากาศในการจัด pre-planning ในครั้งต่อๆไปมาฝากทุกครั้งครับ

                                                                                                        จีระ หงส์ลดารมภ์






หมายเลขบันทึก: 533660เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2013 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2013 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สรุปการประชุมโดยทีมวิชาการ Chiraacademy

การจัดประชุม Pre-Planningแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับ
การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

 

เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมของโครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อันมีวัตถุประสงค์

1.  เพื่อจัดทำแนวทางการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาไทยรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

2. เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐในภาคธุรกิจ
และผู้ประกอบการเอกชนที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้
ความเข้าใจถึงทิศทางของการท่องเที่ยวและกีฬา
สู่การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและต่อยอดด้านบริหารจัดการโครงการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศด้านการท่องเที่ยวแะกีฬาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

3. เพื่อส่งเสริมการทำงานแบบบูรณาการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
สู่การวางแผนและจัดทำโครงการที่สอดคล้องตามนโยบายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ส่งเสริมทักษะ และการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ 

โดยมีกิจกรรมการดำเนินการ ใน 2 ส่วนหลักคือ

1.การจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ประกอบด้วย

  - ข้อมูลที่ได้รับจากโครงการวิจัยการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬารองรับ
AEC

  - การจัดประชุม Pre-Planning
ใน 5 กลุ่มเขตพื้นที่ อันได้แก่ ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคกลาง  โดยมีประเด็นสำคัญในการจัดระดมความคิดเห็น (Pre-Planning)
ดังต่อไปนี้

1. องค์ความรู้ที่จำเป็นในการเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับอาเซียน
2. ทิศทางการท่องเที่ยวและกีฬาไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

  - Sport Tourism

  - การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวชุมชน

  - Growth + Sustainability

2. การประชุมเชิงปฏิบัติการเชิงลึกเผยแพร่องค์ความรู้
ใน
5 เขตพื้นที่ เผยแพร่แนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  และจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

สรุปการจัดประชุม Pre-Planning

แนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

1. องค์ความรู้ที่จำเป็นในการเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับอาเซียน

o  การกำหนดนโยบายทางการท่องเที่ยวและกีฬาอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม

o  การสร้างเอกลักษณ์ ของแต่ละจังหวัดไม่ซ้ำกัน แต่สามารถรวมกันเป็น Cluster ได้

o  การอนุรักษ์ และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

o  การศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศไทยและอาเซียนเพื่อเชื่อมโยงกัน

o  การสร้าง Networking และการทำงานร่วมกัน

o  การบริหารจัดการโครงการและงบประมาณ

o  การสร้างมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์

o  การสร้างโอกาสทางธุรกิจ และบริหารธุรกิจจากการท่องเที่ยวและกีฬา

o  องค์ความรู้เรื่องการตลาด

o  องค์ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อความยั่งยืน

o  กฎ กติกา อาเซียน และกฎระเบียบราชการ

o  ความคิดสร้างสรรค์ และโครงการนวัตกรรม

o  คุณธรรม จริยธรรม

o  การจัดทำฐานข้อมูลทางการท่องเที่ยว

o  ความปลอดภัย

o  การบริหารชุมชน

2.  ทิศทางการท่องเที่ยวและกีฬาไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

  -Sport Tourism

  - การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวชุมชน

  -Growth + Sustainability

ทิศทางการท่องเที่ยวและกีฬารองรับ AEC ด้าน Sport Tourism

o  การจัดแข่งแรลลี่ร่วมกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

o  สนามกีฬาที่มีอยู่เช่นที่ บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษควรสนับสนุนให้มีการแข่งขันกีฬาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน

o  กีฬาแม่น้ำโขง เช่นกอล์ฟชายหาด ล่องแพ เรือคะยัก

o  ส่งเสริมกีฬาเยาวชน

o  ส่งเสริมกีฬาเพื่อการอาชีพ เพื่อเพิ่มตัวเลขทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมท่องเที่ยว สร้างรายได้ ทำกีฬาแบบครบวงจร

o  กีฬาสร้างความสัมพันธ์ เช่น วิ่งมาราธอน จักรยานมุกดาหาร สุวรรณเขต ปั่นสองล้อสองเมืองสองแผ่นดิน จักรยานผลัดสี่คูณร้อย

o  จักรยานไหว้พระ

o  สนามกอล์ฟริมบึงที่มุกดาหาร

o  3 B– Bike  Believe Best Body

ทิศทางการท่องเที่ยวและกีฬารองรับ AEC ด้าน วัฒนธรรมและชุมชน

o  การท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์ เช่น อารยธรรมขอมโบราณ  อารยธรรมเกษตร เส้นทางไดโนเสาร์

o  การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมแต่ละจังหวัด เช่นบุญบั้งไฟประเพณีสงกรานต์ จุลปั่นฝ้าย สายบุญ จุลกฐิน

o  การเชื่อมโยงวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่นการทำ CBT อนุรักษ์ศูนย์วัฒนธรรมเชื่อมโยงกับลาว

o  การเชื่อมโยงวัฒนธรรมกับพุทธศาสนา

o  การเชื่อมโยงกับทุกจังหวัดทำโฮมสเตย์

o  การทำพิพิธภัณฑ์ชนเผ่า

o  1 อำเภอ 1 เส้นทางวัฒนธรรม

o  ตามรอยอีสานบน ไทย-ลาว-อีสาน

o  เส้นทางและสายน้ำตามหาอริยสงฆ์

o  ตามรอยสายเกจิอาจารย์ภาคอีสาน

o  ศูนย์ปราชญ์อีสาน ศูนย์ปราชญ์บุรีรัมย์

ทิศทางการท่องเที่ยวและกีฬารองรับ AEC ด้าน Growth + Sustainability

o  การมีสนามบินร่วมกันระหว่างมุกดาหาร อำนาจเจริญ และยโสธร

o  การสร้างทางรถไฟจากบ้านไผ่ นครพนม มุกดาหาร

o  การกำหนดโซนพื้นที่การท่องเที่ยว และแหล่งผลิตสินค้า

o  การใช้สื่อเป็นกระบอกเสียงส่งเสริมท่องเที่ยวและกีฬา และสนับสนุนวัฒนธรรมดั้งเดิม

o  การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์

การสร้างสันติภาพร่วมกันเช่น เทือกเขาพนมดงรัก มหานทีศรีทันดร  สามเหลี่ยมมรกต

o  การส่งเสริมเยาวชนให้มีส่วนร่วม




ข่าวโครงการ

ที่มา: Stock Review กันยายน 2556 หน้า 14-15

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท