พฤติกรรมศาสตร์ 21 วัน กับพฤติกรรมศาสตร์วันเดียว


พฤติกรรมศาสตร์แบบหนึ่งบอกไว้ว่า เราต้องวางแผนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมผู้อื่นได้ ภายในหนึ่งชั่วโมง  หรือกล่าวง่าย ๆ ว่าในแผนจัดการเรียนรู้ที่มุ่ง
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านความรู้ ทัศนคติ และทักษะ ได้ภายในหนึ่งแผนการสอน
แล้วก็มุ่งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอื่น ๆ ในชั่วโมงต่อไป เช่นเราสอนเด็กชั้นเล็ก ๆ ให้
รู้จักแปรงฟันโดยการสอนให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากไม่แปรงฟัน ให้แปรงฟัน
โดยให้ความรู้เรื่องฟัน โทษของการไม่แปรงฟัน สาธิตการแปรงฟัน ให้นักเรียนฝึก
การแปรงฟัน เมื่อจบจากการสอนแล้ว ครูก็บันทึกว่านักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
กันทุกคน  หรือไม่ก็ครูอุดมศึกษาสอนให้นักศึกษาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเรื่องการ
ดื่มเหล้าและรับน้องใหม่ โดยการให้ข้อมูล ข้อดีข้อเสีย ของการดื่มเหล้า แถมยัง
นำเอาภาพข้อเสียของสุราลงไป นักศึกษาพยักหัวหงึก ๆ ไชโยเราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ได้แล้ว ,

 Dr.Maxwell Maltz ได้นำเสนอทฤษฎี 21-Day Habit Theory
ได้เขียนลงในหนังสือ Psycho-Cybernetics  โดยมีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมได้ว่า เกิดขึ้นจากตัวเอง โดยเชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดย
การตั้งมโนภาพในจิต เกี่ยวกับการปรับปรุงพฤติกรรมของเรา และกระทำซ้ำต่อเนื่อง
กันจนถึงยี่สิบเอ็ดวัน ก็จะตกผลึกกลายเป็นพฤติกรรมถาวรของเรา

พฤติกรรมศาสตร์สองรูปแบบนี้ มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ก็คืออันแรก
คือมีผู้จงใจทำให้คนอื่นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยการวางแผน  โดยไม่สนใจว่าเขา
จะเป็นอย่างไร  และทำในเวลาอันจำกัด  ส่วนแบบที่สองนี่คือคือให้ตัวเขาเองที่ต้องการ
เปลี่ยนแปลงตัวเองตั้งมโนภาพไว้ในจิต เกี่ยวกับพฤติกรรมที่จะเปลี่ยนแปลง และกระทำ
อย่างต่อเนื่อง ไปถึงยี่สิบเอ็ดวัน หลังยี่สิบเอ็ดวันแล้วถือว่า เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยถาวร

แบบไหนจะใช่ 

คำสำคัญ (Tags): #21 day
หมายเลขบันทึก: 532940เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2013 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2013 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท