ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ของ THE บอกอะไรได้บ้าง ?


จากการที่ Times Higher Education  (THE)  ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเซีย
ปรากฎว่ามหาวิทยาลัยของไทย ได้แก่ พระจอมเกล้า ธนบุรี  ได้ที่ 55 มหิดล ได้ที่ 61
จุฬาได้ที่ 82  ตามเกณฑ์การจัดแบบนี้

1. Teaching: the learning environment (30%)  

2. Research: volume (based on ISI databases), income and reputation (30%)  

3. Citations: research influence (based on ISI databases) 30%

4. Industry income: innovation (2.5%)

5. International outlook: staff, students and research (7.5%)

โดยพระจอมเกล้า ธน ได้ค่าร้อยละ  30.3  เปอร์เซ็นต์  มหิดลได้ค่าร้อยละ 28.7  จุฬาได้ค่าร้อยละ  24.8 

ภายใต้ข้อมูลในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย มีท่าทีในการสร้างวาทกรรมสองรูปแบบ

1.วาทกรรมหลัก  ยอดเยี่ยมมาก ติดอันดับเอเซียก็ดีแล้ว ท่าทีนี้เป็นการสร้างในสื่อทั่วไปที่มีมหาวิทยาลัยไทย
ได้รับการรับรอง จัดอันดับ ได้ตั้งที่ 55 ของเอเซีย เก่งมากแล้ว เป็นท่าที่โดยทั่วไปที่ปรากฎใน
หนังสือพิมพ์ ข้อเขียน ใครที่บริหารมหาวิทยาลัยก็ปลื้ม ชื่นชมกัน กลุ่มคนจะผลิตความคิดชุดนี้
ขึ้นมา โดยไม่ได้ตั้งคำถามต่อข้อมูลที่ดูเหมือนธรรมดานี้

2.วาทกรรมอื่นที่สร้างขึ้น ได้การการตั้งคำถามว่า แล้วทำไมแค่เอเซีย ถึงขึ้นมาถึงสิบอันดับของเอเซียไม่ได้
ไม่ต้องกล่าวถึงระดับโลก อันดับกลาง ๆ ง่าย ๆ อันดับทาบเส้นครึ่งหนึ่ง หรือได้แค่สามสิบจุดสาม ส่วนร้อยคะแนน
ซึ่งผู้รับการประเมินถือเป็นมันสมองของประเทศ เป็นผู้ที่ผ่านการทรงจำ และสอบได้คะแนนสูงทุกระดับ
เป็นผู้ที่มีการศึกษาที่ถือว่าดีที่สุด  ปัญญาชนเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กรอื่น ๆ ในประเทศ
หากมีข้อมูลองค์กรอื่นเด่นชัด เหมือนกับการจัดอันดับนี้แล้ว กลุ่มปัญญาชนเหล่านี้จะไม่พลาดที่จะเหยียบซ้ำ  
แล้วหาวิธีการกระทำอะไรสักอย่างที่เห็นว่าผิดมาก ๆ  อย่างเช่นการสอบ pisa ระดับนานาชาติ ผลที่ได้ก็คือ
นักเรียนได้รับค่าคะแนนน้อย ค่าคะแนนที่ได้น้อยจึงเป็นความผิดที่ชัดเจน จนต้องอาศัยอำนาจทางวิชาการกด
เบียดขับ ผู้ด้อยอำนาจกว่าที่ไม่มีโอกาสที่จะชี้แจงเป็นวิชาการ 

หลักวิชาการประเมินแล้วก็จัดลำดับ เป็นวิชาการที่ตั้งเกณฑ์ ขึ้นมา แล้วประเมินตามเกณฑ์
อย่าง THE ก็ตั้งการจัดการเรียนการสอน ปริมาณการวิจัย รายได้และชื่อเสียง  การถูกอ้างอิงทางวิชาการของงานวิจัย
ทั้งหมดรวมเก้าสิบเปอร์เซ็นต์  และอีกสองปัจจัยมาจากรายได้จากอุตสาหกรรม นวัตกรรม   และห้าแนวโน้มระหว่าง
ประเทศ นักศึกษาและนักวิจัย ซึ่งก็สะท้อนคุณภาพระดับเอเซียได้ถูกต้องเหมือนกัน

แล้วมหาวิทยาลัยที่ได้หลังอันดับเกินร้อย จะได้กี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าจัดอันดับทั้งประเทศ ที่ไม่ติดอันดับเพราะอะไร
เรามีครูบาอาจารย์ที่ได้รับปริญญาเอกทางด้านวางแผนจากต่างประเทศจำนวนมาก เรามีนักวิชาการด้านบริหาร
การศึกษาทุกระดับการศึกษา ระดับปริญญาเอกจากเมืองนอกจำนวนมากมาย  และเรามีนักวิจัยระดับพระกาฬ
จำนวนมาก และทำไมมหาวิทยาลัยเวลาจัดอันดับในสิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องทำ เรายังไม่ถึงเลขตัวเดียว 

ภารกิจในการดูแลบ้านของตนเองให้มีคุณภาพแข่งขันกับระดับเอเซีย กับระดับโลกเป็นตัวอย่างให้แก่องค์กรอื่น ๆ
นั่นก็น่าจะเป็นการนำวิชาการสู่ชุมชนเป็นอย่างดี




      



คำสำคัญ (Tags): #the
หมายเลขบันทึก: 532938เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2013 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2013 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท