เทคนิค รักการเรียนรู้


การเรียนรู้คือ สิ่งที่ติดมากับมนุษย์ทุกคน โดยมีเครื่องมือที่สำคัญคือ อยาตนะ
สมอง และ จิต  สิ่งที่ผ่านอยาตนะนั้นเรียกว่า ประสบการณ์ หรือสิ่งที่ถูกรู้

แต่ก่อนเรายังเป็นลิงและวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ สิ่งสำคัญที่สุดคือประสบการณ์
ประสบการณ์นั้นก็คือ การแก้ไขปัญหา หรือ PBL ตามธรรมชาติ เพราะมนุษย์ย่อม
เรียนรู้ ปรับตัว ไม่ว่าสถานการณ์นั้นจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็ได้
เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาให้เป็นภูมิปัญญา ยกตัวอย่าง
เช่นฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย การนุ่งห่ม
การประกอบอาชีพ เวลาฟ้าผ่าก่อให้เกิดไฟไหม้ขึ้นมา มนุษย์ก็เล็งเห็นประโยชน์
จากการใช้ไฟ และวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ  และใช้ประโยชน์และสืบทอดผลิตซ้ำ
องค์ความรู้และการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ 

การรักการเรียนรู้ตลอดเวลา เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เป็นสิ่งที่จะกล่าวได้ว่าพระเจ้า
ได้สร้างสิ่งนี้ให้เป็นอาวุธของมนุษย์ เป็นสิ่งที่อยู่แล้ว และเริ่มหายไปเมื่อสังคมมี
ความสลับซับซ้อนมากขึ้น รัฐได้มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ทำให้เกิดการ
จำกัดวงแคบเข้าไป จากรักการเรียนรู้ตลอดเวลา ก็มาสู่การเรียนรู้ในห้องเรียนซึ๋ง
กว่าจะเรียนรู้ได้ก็ใช้เวลาแบบในโรงงาน และตอนออกจากโรงเรียนโรงงาน ก็จะ
ถือว่าหมดการเรียนรู้ไปด้วย  และประสบการณ์ต่าง ๆ ได้ถูกออกแบบก่อสร้างความรู้
โดยรัฐ  และมีองค์การสลับซับซ้อนแยกส่วนกันไปทำงานเลียนแบบระบบอุตสาหกรรม
เมื่อทำตามเงื่อนไขของรัฐได้เช่นจำเนื้อหาที่กำหนดไว้ได้ ก็จะได้รับใบรับรอง แม้ว่า
จะไม่มีความรู้อะไรเหลือจากห้องเรียนเลย 

ประสบการณ์ของมนุษย์ที่เป็นอุ่ของอารยธรรมต่าง ๆ ก็จะเป็นพวกนักปราชญ์ต่าง ๆ
หรือนักปรัชญา เมื่อถอดประสบการณ์ของนักปรัชญาทั้งหลาย สิ่งสำคัญที่สุด
ได้แก่ การตั้งคำถาม  และการพยายามตอบคำถาม ตามแนวทรรศนะ คำถามพื้น ๆ
นั้นก็ได้แก่ ความจริงคืออะไร  ความดีคืออะไร ความงามเป็นอย่างไร  จากนั้น
ปราชญ์ก็ใคร่ครวญหาคำตอบ กระบวนการเหล่านี้คือ การออกแบบก่อสร้างความรู้
ไม่ว่าตะวันตก หรือตะวันออก เป็นไปในรูปแบบนี้  

ดังนั้น การรักการเรียนรู้ตลอดเวลา จะเป็นไปดังนี้
1.) อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย   ถ้าเราอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจะมีการเรียนรู้ตลอดเวลา
2.) ตั้งคำถามกับสรรพสิ่ง  คำถาม(ปุจฉา) เป็นหัวใจของการเรียนรู้
3.) แสวงหาคำตอบพื้นฐานจากการใคร่ครวญภายในใจก่่อน
4.) ศึกษาคำตอบอืน ๆ ที่มีการบันทึกเอาไว้ จัดหมวดหมู่คำตอบ
5.) เปรียบเทียบคำตอบจากการใคร่ครวญในใจ กับคำตอบอื่น ๆ ที่จัดหมวดหมู่ไว้แล้ว
6.) สร้างองค์ความรู้จากการค้นพบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลงมือทำ

ถือเป็นการประสบการณ์จากวิธีการของนักปรัชญาที่ได้นิยามตนเองว่า เป็นผู้รักการเรียนรู้
จากการถอดประสบการณ์ของนักปรัชญา ทำให้ข้าพเจ้านำไปใช้ และได้พบ
คำตอบใหม่ ๆ เสมอ เป็นการฝึกการใช้เครื่องมือสำคัญที่สุดคือสมอง
โดยเฉพาะสมองส่วนที่เอาไว้คิด  เมื่อเส้นใยสมองเกิดการแตกเส้นสายใย
มากเท่าไร ก็จะเกิดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น


คำสำคัญ (Tags): #การเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 532459เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2013 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2013 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณบทความดีๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท