การเรียนรู้ชีวิตเพื่อความอยู่รอด


การเรียนรู้ชีวิตเพื่อความอยู่รอด

การอยู่ในสังคมที่มีคนมีอุปนิสัยใจคอหลากหลาย  แต่ละครอบครัวมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน  ตลอดทั้งได้รับการดูแลเลี้ยงดูให้เติบโตมาต่างกัน  การมาอยู่รวมกันจึงต้องอาศัยวิธีการที่หลากหลายให้เกิดความพึงพอใจทุกๆคน


มันอาจจะยากพอสมควรที่จะใช้วิธีการที่ทุกคนมีความพึงพอใจ  แต่เพื่อการให้ทุกคนมีความสุข  เราจึงต้องเสียสละ  เจือจุนความสุขให้คนอื่นด้วย  หากสังคมใดมีคนแบบนี้ที่ชอบให้  มีเมตตากับเพื่อนมนุษย์  สังคมนั้นก็จะยิ้มแย้มและไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรง


การอยู่รอดในสังคมบางครั้งสอนให้เราเป็นคนเสียสละ  ตัวอย่างชีวิตในเมืองหลวงเรามีคนหลายกลุ่มที่เสียสละ  พร้อมกับมีคนหลายกลุ่มที่เห็นแก่ตัว


ถนนหนทางหลายแห่งที่ได้จัดทำทางข้ามให้เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน  ดังนั้นเราต้องเสียสละเวลาในการเดินข้ามตรงทางที่เขาจัดให้  ไม่วิ่งข้ามถนนตามใจชอบ  มันจะเป็นการสร้างนิสัยไร้วินัย  และอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตได้


สวนสาธารณะที่เขาจัดให้เราได้มีเนื้อที่ฟอกปอด  มีเนื้อที่ได้ออกกกำลังกาย หรือจัดกิจกรรมสันทนาการที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย  มันเป็นเนื้อที่ของทุกคนพึงรักษาให้สะอาด  ให้คงทนสภาพที่ดีไว้นานที่สุด  หลายๆคนได้ใช้สวนสาธารณะให้เกิดประโยชน์  แต่มีอีกหลายๆคนที่ใช้เนื้อที่แห่งนี้ไปในทางเลวร้าย  เช่น  จี้  ปล้น  ดักทำร้าย  ทำให้เป็นเนื้อที่ไม่ปลอดภัย  เวลากลางคืนเดินผ่านด้วยความหวาดระแวง  ทั้งๆที่เป็นที่สาธารณะน่าจะเป็นที่ปลอดภัยของเราทุกคน  


มีชีวิตเพื่อความอยู่รอดในแต่ละวัน  ได้เรียนรู้และบกเล่ากันว่า  แท็กซี่รถให้บริการก็เป็นสังคมที่น่ากลัว  หากเชื่อคำพูดนี้  เราจะไปไหนมาไหนได้อย่างไร  โดยเฉพาะคนแขนพิการอย่างครูอ้อย  สังคมแห่งการพึ่งพาเกิดขึ้น  หลายๆคันรถที่ไม่รับครูอ้อย  และบอกเหตุผลว่า  มันไกลครับผมกลัวกลับมาส่งรถไม่ทัน  ครูอ้อยก็ต้องเรียกคันใหม่  ละคิดเสมอว่า  แต่ละคนย่อมมีเหตุผลเสมอ 


เพื่อความอยู่รอดในสังคมมีมากมาย  สังคมชาวแฟลตที่มีแต่คนหาเช้ากินค่ำ  ครูอ้อยก็ต้องมีเมตตากับพวกเขา  จะไปทำตัวแบ่งเกรดนั้นไม่ได้  จะเข้าไปมักจี่มากมายก็ไม่เหมาะสม  ครูอ้อยต้องมีความคิด พูด และการกระทำที่พอดี  ให้ความร่วมมือช่วยเหลือพวกเขาในทุกกิจกรรม


เรื่องอาหารการกิน  เป็นไปได้ก็น่าจะทำกินกันเอง  สะอาดและปลอดภัยเป็นสิ่งที่เราทุกคนปรารถนา  ถึงจะมีคนบอกว่า  ซื้อเขากินสะดวกและประหยัดกว่าก็ตาม  เมื่อคำนึงถึงคุณภาพชีวิตแล้ว  เราก็น่าจะเลือกอย่างแรกมากกว่า


ส่วนเรื่องความอยู่รอดในครอบครัวของครูอ้อย  ในระยะนี้คือ  การเปลี่ยนระบบการใช้พลังงานของรถยนต์ที่บ้าน  ตั้งแต่ครูอ้อยได้รับอุบัติเหตุ  พ่อบ้านไม่ใช้มอเตอร์ไซค์เลย  ได้นำรถยนต์ไปใช้  ไปส่งครูอ้อยทำงานก่อน  และตัวพ่อบ้านเองก็ไปทำงาน  อย่างนี้ทุกวัน  สิ้นเปลืองน้ำมันมาก  จึงเปลี่ยนระบบการทำงานที่ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมัน  มาเป็นแก๊ส


เพื่อความอยู่รอดอีกเช่นกัน  ทั้งๆที่ก็ไม่เห็นด้วยกับการกระทำแบบนี้  แต่ก็ตามใจผู้ใช้ที่ทนต่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้ 


เพื่อความอยู่รอดอีกเช่นกัน  ที่จะต้องตรวจตรารถให้ดี  ปลอดภัยเสมอ 


เพื่อความอยู่รอดทั้งสิ้น.....  การเรียนรู้ชีวิตเพื่อความอยู่รอดเกิดได้ตลอดเวลา


หมายเลขบันทึก: 532292เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2013 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2013 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท