การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันเกิดจากประสบการณ์ร่วม


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิด องค์ความรู้ใหม่ ต่อ ผู้ที่ได้รับการแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิด นวัตกรรม การต่อยอดแนวคิด ทีส่งผลให้สำเร็จในกิจกรรมนั้นๆ สำเร็จการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น ส่งผลให้เกิดความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ และแบ่งปันประสบกาณ์ที่ดี มีประเด็นที่สนใจตรงกัน ในมุมมองของผม ไม่มีการเรียนรู้ใดที่เป็นสูตรสำเร็จตายตัว ทุกอย่างสามารถนำมาประยุกต์ได้ สามารถทำความเข้าใจได้ความรู้ของครูที่ให้กับนักเรียนก็เป็นอีกอย่าง ความรู้ของวิทยากรที่ให้กับชุมชน ก็เป็นอีกอย่างทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้เป็นหลัก ว่าต้องการนำความรู้ไปใช้อย่างไร การทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญอยู่ที่ ประสบการณ์ของผู้ถ่ายทอดกับผู้ที่รับความรู้นั้น มีความเข้าใจตรงกันหรือไม่ การใช้สื่อที่ตรงความหมาย  การอธิบายความให้เข้าใจต่อผู้ฟัง ซึ่งนอกจากปัจจัย ด้านอื่นเช่น สถานที่ สภาพอากาศ แรงจูงใจของผู้รับความรู้ แล้ว สิ่งที่สำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นั่นคือประสบการณ์ ซึ่งประสบการณ์นั้น อาจจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์โดยตรง หรือ ประสบการณ์อ้อม  ของผู้ให้ความรู้และผู้รับก็ได้  ตัวอย่างที่ชัดเจน ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ส่งผลเป็นรูปธรรม เช่น การอบรมครู ผู้ปกครอง ในการเลี้ยงดูบุคคลออทิสติก ผู้เขียน เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับบุคคลออทิสติก จะพบได้ว่า เทคนิควิธีในการดูแลบุคคลออทิสติกนั้นมีมากมายหลายวิธี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครองก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้เขียนได้เรียนรู้หลายอย่างมากขึ้น เพราะเทคนิควิธีที่ครู ใช้สอนนักเรียนออทิสติกก็อีกอย่าง เทคนิควิธีสอนบุตรหลานของผู้ปกครองก็อีกอย่าง โดยในทั้งสองวิธีนี้ก็สามารถทำให้เกิดพัฒนาการสำหรับบุคคลออทิสติกได้ องค์ความรู้เรื่องของการดูแลบุคคลออทิสติก ของครูและผู้ปกครอง จึงมีจุดเชื่อม ซึ่งจุดเชื่อมตรงนี้เองที่ทำให้เกิดแรงจูงใจ และแรงจูงใจนี้เองที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูก็อยากจะพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะต่างๆที่ดีขึ้น ผู้ปกครอง ก็อยากจะให้บุตรหลานของตนช่วยเหลือตนเองได้ ผู้เขียนเคยจัดฝึกอบรมให้กับครูและผู้ปกครองบุคคลออทิสติก เทคนิควิธีที่อธิบายเป็นแนววิชาการ ผู้ปกครองบางคนก็ไม่เข้าใจ แต่ช่วงที่มีกิจกรรม ลงกลุ่มกลับทำได้และเข้าใจทั้งนี้อาจเป็นเพราะ การใช้คำศัพท์ทางวิชาการ ซึ่งฐานความรู้ของผู้ปกครองบุคคลออทิสติกก็มีหลายระดับจึงทำให้ขาดความเข้าใจ จนกว่าจะลงมือปฏิบัติถึงจะเกิดความถ่องแท้ ผู้ปกครองลงมือปฏิบัติถึงจะนึกออกว่า ” อ๋อ เขาเรียกอย่างนี้นี่เอง เป็น อย่างนี้นี่เอง” เพราะสิ่งที่ผู้ปกครองฝึกสอนบุตรหลานเป็นประจำนั้น บางเทคนิควิธีก็เป็นวิธีเดียวกับที่ครูใช้ แต่ผู้ปกครองไม่ทราบว่าเทคนิคนั้นเรียกว่าอะไร อย่างนี้เรียกว่าอะไร การฝึกอบรมจึงสร้างความเข้าใจขึ้น นอกจากความเข้าใจที่เกิดขึ้น ผู้ปกครองก็มีเทคนิควิธีหลายอย่างซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตนในการสอนบุคคลออทิสติก ซึ่งสามารถนำมาเป็นเกร็ดความรุ้ให้ครูนำมาสอนนักเรียนออทิสติก ในชั้นเรียน ได้

  ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกอย่าง คือการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้รับความรู้ ผู้เขียนเคยบรรยายให้กับนักศึกษา หัวข้อ เยาวชนจิตอาสาดูแลบุคคลออทิสติก พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ ได้ยินแต่ชื่อ แต่ไม่รู้ว่าอาการลักษณะ พฤติกรรม การสื่อสาร ของเด็กออทิสติกเป็นอย่างไร  และไม่มีประสบการณ์ตรงกับบุคคลออทิสติก ผู้เขียนจึงใช้สื่อวิดิทัศน์ หลายเนื้อหาประกอบเพื่อรสร้างความเข้าใจให้กับนักศึกษาในเบื้องต้น ซึ่งนั้นก็เป็นส่วนประกอบย่อย ผู้เขียนใช้วิธีการให้แสดงบทบาทสมมุติ ให้กับนักศึกษาหลังจากการอบรมวันแรกให้แบ่งกลุ่มจะ แสดงบทบาทสมมุติ โดยแสดงบทบาทภายใต้หัวข้อ เยาวชนจิตอาสาช่วยบุคคลออทิสติกในภาวะภัยพิบัติ ซึ่งการแสดงบทบาทสมมุติของนักศึกษานั้นพบว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี เพราะแต่ละบทบาทที่นักศึกษาแสดง แต่ละกลุ่ม ต้องประกอบด้วย บทบาทของ ผู้ปกครอง เด็กออทิสติก อาสาสมัครกู้ภัย หน่วยบรรเทาสาธารณะภัย และผู้เขียนให้ แต่ละกลุ่ม วิจารณ์ กันเองภายในกลุ่มและ ออกมาแสดงความคิดเห็นให้กับกลุ่มอื่นๆด้วย การสร้างประสบการณ์ทางอ้อมนี่ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มได้อย่างรวดเร็วเพราะนักศึกษาใช้ประสบการณ์ในบทบาทสมมุติเป็นฐานความเข้าใจ  และแลกเปลี่ยนความเห็นกันภายในกลุ่มผู้เข้าอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกรณี ทั้งสองตัวอย่างนี้ จะเน้นไปที่ การใช้ประสบการณ์ร่วมเป็นหลัก อันได้แก่ ประสบการณ์ทั้งตรงและอ้อมของผู้ให้ความรู้และผู้รับความรู้ หรือระหว่างผู้รับความรู้เองซึ่งประสบการณ์เหล่านี้จะสร้างแรงจูงใจที่สำคัญและทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่เป็นรูปธรรม


หมายเลขบันทึก: 532178เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2013 04:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2013 04:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชอบบทความนี้ ที่เกริ่นนำด้วย ประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ... การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ต่อผู้ที่ได้รับการแลกเปลี่ยน เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดนวัตกรรม การต่อยอดแนวคิดที่ส่งผลให้สำเร็จในกิจกรรมนั้นๆ ...การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่งผลให้เกิดความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ และแบ่งปันประสบการณ์ที่ดี...

"ไอดิน-กลิ่นไม้" ขอแลกเปลี่ยนแนวคิด ว่า "บรรยากาศในวงสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิด" เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นหรือยับยั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิด ค่ะ

ขอบคุณสาระและแนวคิดดีๆ ที่ "คุณ อาทิตย์ กิรตินันท์" เขียนจากประสบการณ์ตรง และนำมาแลกเปลี่ยนนะคะ  


ชอบบทความนี้ ที่เกริ่นนำด้วย ประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ... การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ต่อผู้ที่ได้รับการแลกเปลี่ยน เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดนวัตกรรม การต่อยอดแนวคิดที่ส่งผลให้สำเร็จในกิจกรรมนั้นๆ ...การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่งผลให้เกิดความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ และแบ่งปันประสบการณ์ที่ดี...

"ไอดิน-กลิ่นไม้" ขอแลกเปลี่ยนแนวคิด ว่า "บรรยากาศในวงสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิด" เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นหรือยับยั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิด ค่ะ

ขอบคุณสาระและแนวคิดดีๆ ที่ "คุณ อาทิตย์ กิรตินันท์" เขียนจากประสบการณ์ตรง และนำมาแลกเปลี่ยนนะคะ  


อาทิตย์ กิรตินันท์

ขอบคุณนะครับสำหรับการเเลกเปลี่ยน บรรยากาศในการสนทนาก็เป็นปัจจัยที่สำคัญครับเพราะสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสม ก็ช่วยส่งผลให้เกิดความเข้าใจและบางทีไอเดียใหม่ๆที่จะนำมาเเลกเปลี่ยนก็เกิดขึ้นได้ครับ 

ขอบคุณบทความดีๆเรื่องนี้ครับ ประสบการณ์ทั้งทางตรงทางอ้อมนั่นทำให้เกิดผลการดำเนินงานและการเป็นวิทยากรดีๆจริงๆครับ ผมได้ฟังเรื่องเล่าประเด็นเหล่านี้เรื่องเล่าที่มาจากประสบการณ์และการวิเคราะห์มันเต็มไปด้วยสีสันและมีพลังอย่างเต็มที่จริงๆ ครับ..ขอบคุณครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท