จดหมายถึงครู l ประเมินตนใน ๑ อาทิตย์ที่กลับมาทำงาน


จดหมายถึงครู l ประเมินตนใน ๑ อาทิตย์ที่กลับมาทำงาน

วันพฤหัสบดี  ที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖

กราบสวัสดีค่ะครู

        วันนี้เป็นวันที่ ๔ แล้วที่กลับมาทำงาน ว่าด้วยเรื่องการทำงานก็ยังไม่ค่อยเป็นชิ้นเป็นอันเจ้าค่ะ 

ว่าด้วยเรื่องศีลก็ยังน่าห่วง กระปิดกระปรอยขาดแหว่างกับตนเอง จนแทบไม่ค่อยกล้าทบทวน 

ศีลข้อ ๔ เป็นเรื่องอดไม่ได้ที่ละด่างพร้อย หรือ พูดเพ้อเจ้อสนุกคะนองปาก แถมที่ตั้งใจกับตนเองก็ไม่ค่อยจะลงตัวแบบที่วางแผนไว้ 

การนั่งสมาธิภาวนา ข้างในไม่สงบเลยเจ้าค่ะ หนูใช้การอ่านหนังสือให้ข้างในได้พักเอา หรือบางวันก็จะใช้ช่วงเที่ยง ๆที่พี่ ๆ ออกไปทานข้าว นั่งภาวนาเหมือนชาร์ทกับตนเองอยู่ข้างใน แต่ก็แป๊บเดียว แบบแค่ผ่อนคลาย 

เลิกงานหนูก็พยายามหาบาตร ๓ สันละไม่สำเร็จ แต่วันนี้ก็ได้ลาดเลาว่าที่ตลาดบางลำภูมีขายเป็นร้านขายส่ง หนูแว๊บ เมื่อวันอังคารไปดูแล้ว แต่อาจจะไม่ครบเจ้าค่ะ 

การวน ๆ ขับรถ และชีวิตกรทำงาน ๔ วันทำให้หนูเข้าใจว่า 

"ทำไม ครูบาอาจารย์ถึงให้พระ หรือ แม่ชี อยู่ในวัด"

การอยู่แบบนี้ถ้าไม่มีหลักใจ ไม่เป็นหลักให้ตนเองได้จริง ๆ มันจะเป๋ไปกับโลก แล้วกมีความคิดอยากสึก

ใจที่หวั่นไหว แล้วจัดการกับตนเองไม่ได้ นั่งภาวนาก็ฟุ้ง แต่ก็นั่งไปงั้นแหละเจ้าค่ะ 

แต่ดีที่พอเกิดจงกรมแล้วเหมือนพอผ่อนคลายกับตนเอง

วันนี้หนูตั้งใจกับตนเอง หลังเลิกงานนั่งภาวนาอยู่หน้าบ้าน 

พอเข้าบ้านจัดแจง เก็บของ แล้วพอฟ้ามืด 

หนูก็เริ่มจากเอาอะไรมานั่งอ่านก่อน พอผ่านไปเรื่อย ๆ บรรยากาศค่อนข้างสงบ 

หนูลงนั่งแต่ข้างในก็ไม่เบาเจ้าค่ะ 

ลืมตาขึ้นมาใจแว๊บถึงแม่

ทำยังไงถึงจะให้แม่พ้นทุกข์ 

คำตอบที่ดังคือเสียงและใบหน้าของครูว่า 

"ติ๋วต้องพ้นทุกข์ก่อน จึงจะเป็นเครื่องประกันให้แม่พ้นทุกข์"

"ทุกข์ที่บีบคั้นมนแม่ จะทำให้ท่านบีบเรื่องราวที่คาใจของมาเอ่ย ซ้ำก็จะเป็นเรื่องที่ได้ยินคุ้นหู"

แต่การได้ยินครั้งล่าสุด ใจไม่ได้โกรธ 

แต่เหมือนหมุนอยู่ข้างในว่า

"นี่แหละ กรรมเก่าที่ ไอ้ติ๋ว คนนี้แหละทำมาเอง ทำให้แม่ทุกข์ ทำอย่างไรจึงจะหาททางดับได้"

ตอนนั้นทำได้เพียงไม่เติมเชื้อ รับฟังด้วยใจที่นิ่งเย็น ยอมรับ และนำมาพิจารณาหาทางกับตนเองเจ้าค่ะ

หากเป็นเมื่อก่อน ที่แม่เคยเอ่ยประโยคประมาณนี้ โทสะข้างในจะพุ่งปรี๊ด 

บางทียังไม่ทันก็ ประชด ก็มี 

แต่ครั้งนี้วัคซีนที่คูให้ ครูเมตตาสอนเรื่องแม่


ทำไมคำพูดเหมือน ๆ กัน พฤติกรรมเหมือนกันของคนอื่นเราเฉย ๆ 

แต่พอเป็นแม่ เราไม่พอใจ เราโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง

ต้องทำความรู้แล้วแก้ไข

เอะนี่เราชั่วนี่


คำสอนครูดังขึ้นมาทุกครั้ง ที่ระลึกถึงแม่

ปัญญายังไม่เกิดได้แต่ย้ำสอนตนเองว่า

"เพียรนะติ๋วเพราะ อย่างน้อย ๆ ก็ เพือแม่"

วันนี้ได้เรียนปรึกษาผู้อำนวยการเรื่อง 

แนวทางการปฏิบัติตัวรวมถึงการแต่งกายเจ้าค่ะ ท่านโอเค ที่สำคัญช่วงนี้  

จังหวัดรณรงค์ให้สวมผ้าพื้นเมืองซึ่งก็จัดว่าไม่มีปัญหาเลยเจ้าค่ะ

โดยระบบไม่มีปัญหา แต่ใจข้างในหนูยังสะดุดเจ้าค่ะครู

นึกย้อนกับตนเองถึงคำว่า "หัวโล้น สวมชุดชี กับ แม่ชี"

ยังผิดกันอยู่ 

หลังนั่งภาวนาถามตนเอง

แว๊บว่า

เมื่อก่อนหนูเรียนเภสัข จบ ก็ไม่ได้รู้สึกว่าตนเองเป็น เภสัชกร แต่อย่างใด

หรือไม่ได้รู้สึกว่า ตนเองจะเป็นผู้เยียวยาคนไข้ได้เลยเจ้าค่ะ

ยิ่งทำงานทำในห้องแล็บข้างในก้ห่างไป


แต่เมื่อไม่นานมานี้ ครูเมตตาให้ได้นวด ถวาย

ได้ต้มยาให้แต่ละคนทาน ทำลูกประคบถวายครู 


ความเป็นเภสัชกร ก็ค่อย ๆ ปรากฏขึ้นในใจ

ไม่ใช่ว่าแบบ ฉันเป็นเภสัชกร หรือ ฉันเป้นหมอยาเจ้าค่ะ

แต่เป็นใจที่รู้สึกว่า

"แบบนี้ต้องรักษาแบบนี้"

พอวางนิ้วหรือมือสัมผัสลงที่ขาของครู จะสัมผัสได้ว่า ตรงนี้มีปัญหา แล้วทำอย่างนี้น่าจะแก้ได้

พอลงมือแก้ไข ก็ได้จริง ๆ โดยส่วนใหญ่ครูก็ช่วยยืนยันด้วยว่า จุดนั้นแหละปวด

ตอนนวดให้ครู ตั้งใจจะทำยังไงก็ได้ให้ครูหาย หรือคนที่หนูนวดให้หายปวด


หนูเชื่อว่าใจแบบนี้ทำให้การนวดรักษามีประสิทธิภาพเจ้าค่ะ


หนูไม่ได้เป็นหมอยาเพราะหนูจบปริญญา 

แต่หนูเป็นเพราะใจข้างใจปรากฏความรู็สึกว่า ช่วยคนได้ และปรารถนาที่จะให้เขาหายเจ้าค่ะ


มานึกย้อนถึงคำว่า แม่ชี

ตอนนี้ เหมือนหนูพึ่งลงทะเบียนเรียน แบบเตาะแตะเจ้าค่ะ

เหมือนตอนเข้าเรียนปีหนึ่งเภสัชแล้วถูกเรียกว่า เภสัชเลยสะดุ้ง

เมือนว่า โกนหัวแล้วเปลี่ยนชุดก็จะเป็ แม่ชีเลยข้างในหนูก็ยังไม่ถึงพร้อม

แต่ศีล ๘ ก็พยายามอยู่ ทำอยู่ แต่ยังไม่ลึกลงไปในใจเจ้าค่ะ

ที่ลด ละ เลิก ก็ด้วยอดทน ไม่ให้ผิด ยังเป็นแบบกดข่มไม่ให้ละเมิดศีลเจ้าค่ะ

แต่ใจยังไม่ถึงศีล


ลึก ๆ ก็เชื่อว่าทางนี้แหละ อดเอา ทนเอา กิเลสหนาก็อย่างนี้แหละ

อยากพ้นทุกข์ก็ต้องเพียร ไม่มีใครทำแทนใครได้ใช่ไหมค่ะครู

กราบขอบพระคุณที่เมตตาชี้ทางเจ้าค่ะ


หมายเลขบันทึก: 532172เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2013 01:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2013 01:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท