ศูนย์การเรียนรู้


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

  รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพผู้เรียน ด้วยศูนย์การเรียนรู้ โรงเรียนบ้านคลองสำราญ อำเภอทุ่งเสลี่ยม  จังหวัดสุโขทัย  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพผู้เรียน ด้วยศูนย์การเรียนรู้  โรงเรียนบ้านคลองสำราญ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยศูนย์การเรียนรู้  โรงเรียนบ้านคลองสำราญ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย การศึกษานี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยรวบรวมผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การจัดประชุมเวทีชาวบ้าน การเก็บข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มย่อยและการใช้แบบประเมินผล รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพผู้เรียน ด้วยศูนย์การเรียนรู้ สำหรับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการเชิงคุณภาพและวิธีการเชิงปริมาณผลการศึกษาสรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการวิจัยที่ระดมการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพผู้เรียน ด้วยศูนย์การเรียนรู้ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพัฒนารูปแบบ คือ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์พิจารณาสภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหาการบริหารจัดการคุณภาพผู้เรียน ภายในโรงเรียนและชุมชนร่วมระดมความคิดในการนำผลการวิเคราะห์ปัญหามาออกแบบหลักสูตรและกิจกรรมศูนย์การเรียนรู้ ตลอดจนร่วมกันวัดผลและประเมินผลระหว่างการวิจัยและหลังกระบวนการวิจัย

ประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพผู้เรียน ด้วยศูนย์การเรียนรู้ ที่ทำการพัฒนาจากกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย ร่วมค้นหาปัญหาและสาเหตุ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติร่วมประเมินผล เกิดการมีส่วนร่วมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความพึงพอใจ และเกิดการยอมรับในรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพผู้เรียน ด้วยศูนย์การเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นร่วมกัน ชุมชนให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการคุณภาพผู้เรียน มีทัศนคติต่อการจัดการศึกษาไทย เด็กนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นภายหลังจากเรียนรู้จัดการคุณภาพผู้เรียนด้วยศูนย์การเรียนรู้ ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเรียนรู้ มีความตระหนักด้านการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สนใจศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ใช้กระบวนการบริหารวงจรพัฒนาคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) การสังเคราะห์เอกสาร  แบบสอบถามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อ  การดำเนินการบริหารการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านคลองสำราญ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดย  การใช้ t-test แบบ Paired-test ผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้

กระบวนการดำเนินการบริหารการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยการวิเคราะห์องค์กรเพื่อให้ทราบสภาพปัญหา ความต้องการที่แท้จริง ทำให้ได้นโยบายสำหรับพัฒนาการบริหาร คือ  การปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหาร การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงกระบวนการจัดกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาตามความถนัดและความสนใจเพิ่มขึ้น สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน  ในการจัดการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีบรรยากาศร่วมรื่น น่าอยู่ น่าเรียน สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และความภาคภูมิใจ และปรับปรุงและการจัดการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ที่สนองความถนัดและความสนใจ ที่นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะ ความสามารถและศักยภาพของนักเรียน ด้วยโครงการพัฒนาจำนวน 8 โครงการ ซึ่งแต่ละโครงการเป็นดำเนินต่อเนื่อง 3 ปีการศึกษา คือโครงการพัฒนาระบบบริหารพัฒนาคุณภาพ  โครงการพัฒนาระบบยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โครงการพัฒนาทักษะ ๘ กลุ่มสาระ  การเรียนรู้โครงการรักการเรียนรู้สู่การพัฒนาตนเอง โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการสถานศึกษา โครงการแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคนเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร โครงการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โครงการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน

ซึ่งการดำเนินการตามโครงการ และกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแต่ละปีการศึกษา ตามวงจรพัฒนาคุณภาพ PDCA เป็นหลักในการดำเนินงาน ผลการดำเนินการบริหารการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านคลองสำราญ สรุปผลการดำเนินการ ได้ดังนี้ ด้านการบริหารการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทำให้โรงเรียนมีมาตรฐานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน มีมาตรฐานการปฏิบัติงานให้ครูและบุคลากร ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกันทั้งโรงเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนทำงานอย่างเป็นระบบ และสามารถตรวจสอบได้ มีคณะกรรมการตรวจสอบ ติดตามพัฒนาคุณภาพภายในระดับโรงเรียน และดำเนินการตรวจติดตามการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน เพื่อการปรับปรุงแก้ไข พัฒนางานมีการประเมินตนเอง และจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามมาตรฐานและตัวชี้วัดมาตรฐานพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษา ครบทั้ง 18 มาตรฐาน เสนอแก่ผู้เกี่ยวข้อง ผ่านการประเมินพัฒนาคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยหน่วยงานต้นสังกัดด้าน  การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้เรียนได้รับการเยี่ยมบ้านร้อยละ 99 ผู้เรียนได้รับการเอาใจใส่ ดูแลช่วยเหลือจากครูที่ปรึกษาเพิ่มขึ้น การช่วยเหลือสนองความต้องการมากขึ้นและพบว่า โรงเรียนสามารถจัดการทักษะความสามารถพิเศษแก่ผู้เรียน ได้รับการพัฒนาตรงตามความสามารถ ความถนัด และความสนในอย่างแท้จริง โดยเฉพาะด้านวิชาการ ดนตรี และกีฬาเพิ่มขึ้น มีวัสดุอุปกรณ์ และวิทยากรช่วยเหลือ และได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองได้เพิ่มขึ้น โรงเรียนมีสภาพแวดล้อม ด้านกายภาพภายในร่มรื่น สวยงาม เป็นสัดส่วน และเป็นระเบียบที่เอื้อให้เกิด  การเรียนรู้ และกล่อมเกลาสภาพจิตใจนักเรียนให้อ่อนโยน และนักเรียนได้รับรางวัลทั้งระดับเขตพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ 

ความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อ  การดำเนินการบริหารการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อการดำเนินการบริหารการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านคลองสำราญ ได้ข้อค้นพบ คือ ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อการดำเนินการบริหารการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนก่อนและหลังการดำเนินการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อการดำเนินการบริหารการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนหลังการดำเนินการสูงกว่าก่อนการดำเนินการ


หมายเลขบันทึก: 531759เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2013 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2013 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามมาอ่านมาเขียนบ่อยๆนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท