มหันตธนภัยจากเงินกู้สองล้านล้าน (โปรดฟังอีกหลายๆ ครั้ง)



ขณะนี้เรามีเงินกู้รวมประมาณ ๔๘ ปซ.  ของรายได้ประชาชาติ  ถ้ากู้อีก สองจุดสองล้านๆ ยอดเงินกู้จะเป็น ประมาณ ๖๐ ปซ.  ซึ่งตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ฝรั่งถือว่าเป็นการคาบเส้นพอดี  เกินจากนี้ถือว่าอันตราย

แต่ผมได้เสนอสูตรคำนวณใหม่ว่าสำหรับไทยเราถ้าไปลอกเอาทฤษฎีฝรั่งมาใช้  มันควรต้องเอา ๔ คูณจึงจะถูก กลายเป็นหนี้ ๒๔๐ ปซ. ซึ่งอันตรายมากน่าจะถึงขั้นล้มละลายได้เลย

 เชื่อว่าหลายท่านไม่เข้าใจสูตรนี้ (เพราะมีคนท้วงผมมาแล้วด้วย หาว่าผมผิด)  วันนี้ผมคงต้องเหนื่อยมาอธิบายสักหน่อย 

สมมุติว่าฝรั่งกับไทยมีรายได้  ๑๐๐ บาท เท่ากัน และ  กู้ ๖๐ บาทเท่ากันกับเรา  ถามว่าใครจะแบกรับภาระหนี้มากกว่ากัน และเท่าไหร่ 

 สิ่งที่ผมพยายามบอกมานานก็คือ ไทยเราจะแบกรับภาระหนี้มากกว่าฝรั่ง ๔  เท่า  ..ดังนั้นภาระหนี้ของเราไม่ใช่ ๖๐ ปซ.  แต่ต้องเป็น ๒๔๐ ปซ. เพื่อให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกับทฤษฎีของเขา

ทั้งนี้เพราะรายได้ ๑๐๐ บาทฝรั่งเขาเก็บภาษีได้ ๓๐ บาท  (โดยเฉลี่ย บางประเทศเก็บมากกว่านี้)   และในจำนวนนี้เขาจ่ายเป็นงบดำเนินการ (เงินเดือน การใช้จ่ายประจำ เช่น ปากกา ดินสอ ค่าน้ำ ไฟ) เสีย ๖๐ ปซ.  ก็คือ   ๑๘  บาท  เหลือเป็นงบลงทุน  ๑๒  บาท  ซึ่งไอ้ ๑๒ บาทนี้เขาอาจเอาไปสร้างถนน  สร้างระบบประปา  ห้องปฏิบัติการวิจัย กองกำลังทหารพิเศษ  เสีย ๑๐ บาท อีก ๒ บาทเอาไปใช้หนี้เงินกู้  หรือ อาจเพิ่มการใช้หนี้เป็น ๓ ๔ ๕ บาทก็ย่อมได้หากจำเป็น 

สำหรับไทยเรา ๑๐๐ บาท เก็บภาษีได้เพียง ๑๕ (ครึ่งหนึ่งของฝรั่ง นี่ว่าโดยเฉลี่ย)  ส่วนงบดำเนินการเราน่าจะประมาณ ๘๐ ปซ.  (เพราะเรามีขรก.มากเหลือเกิน  เช่นงบการศึกษาไทยเรา ๒๘ ปซ. สูงที่สุดในโลก  ในขณะที่ฝรั่งเฉลี่ยที่ ๑๕ ปซ. เท่านั้น)  ดังนั้นเราเหลืองบลงทุนแค่ ๒๐ ปซ. ของภาษีที่เก็บได้  ก็คือ  ๓ บาท  (เทียบกับฝรั่ง ๑๒ บาท) 

เห็นไหมครับว่า เรามีเงินเหลือใช้หนี้ ๓  บาท  ในขณะที่ฝรั่งมีเหลือ ๑๒  บาท  ...มากกว่าเรา ๔  เท่า 

ถ้าเรากู้ ๖๐ บาท โดยไม่มีดอกเบี้ยเลย แล้วเอางบลงทุนมาใช้หนี้ทั้งหมดเราต้องจ่ายหนี้ ๒๐ ปี จึงจะหมด  ส่วนฝรั่งจ่าย  ๕ ปี  ก็ ๔ เท่าเวลา  แต่ในช่วง ๒๐ ปีนี้เราลงทุนอะไรไม่ได้เลยนะ  สร้างถนนเพิ่มไม่ได้ โรงพยาบาลก็ไม่ได้  นักการเมืองจะกระแดะไปดูงานเมืองนอกเพิ่มก็ไม่ได้ 

ดังนั้นก่อนที่เราจะไปลอกทฤษฎีสัดส่วนเงินกู้ฝรั่งมาใช้   ที่ว่า  จุดอันอันตรายเงินกู้คือ ๖๐ ปซ. นั้น  ลอกดุ้นๆ ไม่ได้  มันโง่เกินไป  เราต้องปรับทฤษฎีเสียก่อนด้วยการทำอย่างได้อย่างหนึ่งดังนี้

๑.  คูณด้วย ๔  ยอดเงินกู้ของเรา เช่น ๖๐ ก็กลายเป็น ๒๔๐ 

๒.  หรือไม่ก็หารด้วย ๔  ดังนั้นจุดอันตรายของเราคือ ๑๕ ปซ.  ไม่ใช่ ๖๐

เรื่องแบบนี้ไม่มีในตำราเศรษฐศาสตร์ เราคนไทยต้องคิดเอาเอง เพราะมาตรฐานเราไม่เหมือนเขา 

เรื่องการกู้ ๒.๒ ล้านแล้วได้ ๖๐ ปซ. พอดีนี้ผมว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญ  เชื่อได้เลยว่ามีการตั้งธงยอดการกู้ไว้แล้ว เพื่อให้ได้ตัวเลขนี้  ....บ้าบอคอแตกกันดีจริงๆ 

...คนถางทาง (๓๑ มีนาคม ๒๕๕๖) 


หมายเลขบันทึก: 531735เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2013 07:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2013 07:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรื่องเงินกู้ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันทั่วในขณะนี้

เท่าที่ได้อ่าน อ่านความคิดเห็นในโลกออนไลน์

คิดว่า เป้นเรื่อง บ้าบอคอแตก มากกว่าเรื่องดี จริง ๆ ค่ะ

ก่อนจะอ่านความเห็นอาจารย์ ผมว่าอาจารย์มองผิดนะเรื่อง % แต่หลังจากอ่านความเห็นอาจารย์พร้อมคำอธิบาย ผมมองเห็นว่า อาจารย์อาจจะถูกก็ได้ที่ว่าเราจะล้มละลาย หรืออาจจะผิดอย่างจังเบอร์ก็ได้

สิ่งที่ได้ ไม่ใช่ว่าอาจารย์ผิดหรือถูก รัฐบาลผิดหรือถูก แต่ที่ได้คือ ภาวะความเสี่ยงที่มีมากกว่าที่เราเคยรู้กัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องตั้งคำถาม และต้องมีคำอธิบายว่าจะป้องกันหรือแก้ไขตรงนี้ได้อย่างไร

บางที รัฐบาลอาจจะมีแผนการณ์หรือแนวทางการหาเงินมาใช้เงินกู้แล้วก็ได้ ตอนประชาธิปัตย์กู้ 8 แสนล้านทำให้ หนี้เพิ่มเป็น 48% x 4 ตามทฤษฏีอาจารย์ มันก็เกินกว่าร้อย% ก็ไม่เห็นมีใครออกมาทักท้วงว่าเราจะล้มละลาย และก็ไม่เห็นว่าเราจะล้มละลาย หรือเซอร์วิสหนี้ไม่ได้  ที่ผ่านมาก็ดูเหมือนว่ามันก็ไปต่อได้ ทั้งๆ ที้เงินกู้งวดนั้นที่เบิกมาใช้ 4 แสนล้าน ไม่ได้เอามาทำอะไรให้เกิดประโยชน์แม้แต่น้อยด้วยซ้ำไป

ดังนั้น ผมขอถือหางว่า อาจารย์วิเคราะห์ถูกว่าหนี้มันเสี่ยง แต่อาจจะสรุปผลผิด เพราะเอาเข้าจริง เราสามารถ service หนี้ได้ ประเทศจะเจริญก้าวหน้าต่อไป และสามารถใช้หนี้ได้ตามปกติ


อีก 6 ปี เราจะได้รู้ ว่าใครถือหางถูกฝ่ายครับผม

ท่าน ensign ครับ ผมได้ยกตัวอย่างมาให้เห็นแล้วในบทความก่อน ๆ  เช่น กรีซ  ตุรกี  เสปน ปอร์ตุเกส  กู้ประมาณ ๑๐๐ กว่า ปซ.  ก้ล้มกันระเนนาด  มันไม่ได้ล้มฉับพลันหรอกครับ แต่จะล้มในระยาวยาวถึงปานกลาง   ...อย่าลืมครับ คนฉลาดต่างจากคนโ่ง่  ตรงที่ คนฉลาดมองเห็นปัญหาระยะยาวล่วงหน้า     การใช้หนี้ได้ในระยะสั้นมันไม่ได้บอกอะไรเราเลย   ...ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไม  usa มีหนี้เพียง ๑๐๐ ปซ.   และก็ใช้หนี้ได้สบายๆ  เพราะเป็นประเทศเดียวในโลก ที่พิมพ์แบงค์มาใช้หนี้ได้สบายๆ   โดยไม่ต้องมีทองสำรอง   ...ถามว่าทำไม สหรัฐไม่เร่งพิมพ์แบงค์มาใช้หนี้ให้หมดๆ ไปเร็วๆ   กลับต้องมาเพิ่มภาษีคนรวย และลดการใช้จ่ายของรัฐบาล   ด้วย fiscal cliff policy 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท