drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

KM-การตั้งโจทย์หัวข้องานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน


ท่านสามารถนำความรู้ต่างๆ หรือประสบการณ์มาแชร์ได้ที่นี่ครับ หัวข้อ "การตั้งโจทย์หัวข้องานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน"

หมายเลขบันทึก: 531302เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2013 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2013 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ลักษณะสำคัญของโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น 1) เป็นโจทย์ที่ชุมชนหรือคนในท้องถิ่นเห็นว่ามีความสำคัญ และอยากจะค้นหาคำตอบร่วมกัน 2) ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการค้นหาคำตอบร่วมกัน 3) มีการปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหา หรือเสนอทางเลือกให้กับท้องถิ่น 4) เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และเป้าหมายขององค์กร

ที่มาจาก http://vijai.trf.or.th/history.asp สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น

การตั้งหัวข้อ หรือโจทย์ของการวิจัยสำหรับพัฒนาชุมชน ควรจะต้องมีดังนี้ครับ

1. การเข้าไปที่ชุมชน หรือหมู่บ้านนั้น เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความเป็นอยู่ วิถีชีวิต การเพาะปลูก หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์หาหัวข้อวิจัยต่อไป

2. การเข้าเว็บไซท์ที่เกี่ยวกับ "ของดีเมืองไทย" เช่น เว็บไซท์ OTOP ของดีเมืองไทย ไทยซ่า.com    เ็ว็บไซท์ทัวร์เมืองไทย   เว็บไซท์สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครราชสีมา  เป็นต้น

3. จากการสัมภาษณ์นักศึกษา ผู้ปกครอง หรืออาจารย์ ที่อยู่ในชุมชนนั้น ข้อดีคือ จะช่วยทำให้งานเราง่ายขึ้น เพราะบุคคลเหล่านี้จะมีความสนิทคุ้นเคยกับชุมชน หรือผู้นำชุมชน เช่น ผู้ปกครองลูกศิษย์ของผม มีโรงงานทำกระดาษสา อยากจะให้ทำเรื่องกระดาษสาทนไฟ ดังนั้นเราก็จะมีหัวข้อที่ตรงจุดตรงประเด็นมากกว่า นักวิจัยคิดเอง เป็นต้น

4. ศึกษาจากเอกสารของนโยบายการสนับสนุนการให้ทุนวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) 

http://www.thaiwest.su.ac.th/files/policy.ppt

  1. ได้รับจากการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้นำชุมชน ประชาชน หรือผู้ประกอบการในชุมชนนั้น เช่น เรื่องการย้อมสีธรรมชาติที่ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ มีผู้เขียนหนังสือร้องเรียนไปที่ท่านนายก (สมัยนั้น) ทาง สวทช. จึงเชิญ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ ไปช่วยเหลือด้านการย้อมสี และออกแบบลวดลายใหม่ๆ ให้กับกลุ่มย้อมสีดังกล่าว เป็นต้น
  1. ศึกษาจากคู่มือการบริหารงานและการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เล่มที่ 2 
    7. เกิดจากปัญหาการใช้งานของผู้วิจัยเอง เช่น ซื้อของมาแล้วมีปัญหา ซื้อขนมมาเกิดการเน่าบูด ซื้อสินค้าแล้วไม่ได้คุณภาพ เป็นต้น
    8. ได้โจทย์จากพัฒนากรชุมชน นายอำเภอ ปลัดอำเภอ นายก อบต. อบจ. หรือกำนัน ผู้ัใหญ่บ้าน ที่ได้คลุกคลีกับชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา หากสัมภาษณ์ดีๆ อาจจะได้หัวข้อโครงการวิจัยที่มีคุณภาพ และส่งผลกระทบกับความเป็นอยู่ของชุมชนได้มากกว่า
    9. ศึกษาจากรายงานวิจัย งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น รายงานประจำปี 2548 และปีอื่นๆ จาก สกว.

11. บางคนก็บอกว่าโจทย์ต่างๆ หาได้ง่ายๆ จากงานนิทรรศการต่างๆ เช่น นิทรรศการวันนักประดิษฐ์ นิทรรศการ OTOP แห่งชาติ นิทรรศการ BIFF&BILL (ปกติที่ไบเทคบางนา) นิทรรศการ BIG & BIH (ปกติที่ไบเทคบางนา) นิทรศการสุดยอดสินค้า OTOP หรือ ซุ้มจำหน่ายสินค้า OTOP ของห้างเซ็นทรัล ห้างเดอะมอลล์ ห้างเทสโก้โลตัส ที่ร่วมรายการ เป็นต้น

(หมายเหตุ วันนักประดิษฐ์ ช่วง 2-5 กุมภาพันธ์ของทุกปี สถานที่ต้องดูประกาศอีกครั้ง งาน BIFF & BILL จัดช่วงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ณ ศูนย์แสดงสินค้า เมืองทองธานี งาน BIG & BIH 2013 22-23 เมษายน 2556 ณ ไบเทคบางนา เป็นต้น) 

2. ศึกษาหาข้อมูลเชิงลึุกจากประเด็นที่เป็นปัญหาของสังคม หรือ Hot Issue ของสังคม เช่น ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาการฆ่าช้างเพื่อนำงาไปแกะสลัก ปัญหาไส้กรอกมีซากลูกแมวเจือปน ปัญหาไฟไหม้ศูนย์อพยพฯ ปัญหาแพทย์ มข.ห่วงขาดสารไอโอดีนทำเด็กไทยไอคิวต่ำ ปัญหาโลกร้อน ปัญหาขาดกระแสไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อน ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาภัยแล้ง เป็นต้น

13. ศึกษานโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)  เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมกับการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน และตอบโจทย์กับยุทธศาสตร์ของชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

14. ศึกษาข้อมูลจากเว็บไซท์ เช่น ต่อยอดดอทคอม  เฟซบุ้คต่อยอด  มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 1,401 มาตรฐาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. เฉพาะที่เป็นกฎหมายบังคับ  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)  เป็นต้น

   


15. ศึกษาข้อมูลสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ สามารถหาข้อมูลจากต่างประเทศได้ด้วยนะครับ ถ้าต้องการภาษาไทยรบกวนพิมพ์ภาษาไทยจะแสดงภาษาไทยออกมาครับ ส่วนต้องการภาษาอังกฤษก็พิมพ์ Keyword แล้วเลือกประเทศไหนก็ได้นะครับ (ญี่ปุ่น ไทย อเมริกา ยุโรป จีน ออสเตรเลีย เยอรมนี)

16. ศึกษาข้อมูลจาก กรอบงานวิจัย จำนวน 7 ฉบับ  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)


17. ศึกษาข้อมูลจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ 


ROAD MAP

- ด้านไบโอพลาสติก

- ด้านเกษตรอินทรีย์

- ด้านอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ  

18. จากการเข้าร่วมสัมมนา-เยี่ยมชมกับนักวิชาการ ชุมชน หรือนักวิจัยอื่นๆ ในวงเสวนา การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรมเชิงทฤษฎี การขอเข้าเยี่ยมชมหน่วยงาน องค์กรเอกชน หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

ผศ.ดร.เนตรนภิส แก้วช่วย

ดีค่ะ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการหาหัวข้อในการทำวิจัย

ดร.ปรียาภรณ์ ไชยสัตย์

เป็นแนวทางที่ดีในการนำไปใช้ค่ะ

ควรบริการชุมชน  บริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยก่อน ...  หากชุมชนใดสนใจติดต่อมายังคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนะคะ

แนวความคิดนี้ได้นำไปใช้ในบริการวิชาการของภาคเคมีและศูนย์เครื่องมือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบ้างแล้วค่ะ


เทคนิคนี้ได้นำไปทดลองใช้ในการตั้งโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนโคกขาม จังหวัดสมุทรสาครตามปรัชญญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว  ให้ผลสัมฤทธิ์การดำเนินการในทางที่ดีมาก ตรงกับความต้องการของชุมชน และพัฒนางานวิจัยต่อยอดอย่างต่อเนื่อง  เพื่อการพาณิชย์ และพัมนาการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและโท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท