กาแฟ+กาเฟอีนช่วยลดอุบัติเหตุ



.

สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง Lorry drivers who drink coffee 'cut their crash risk' = "คนขับรถบรรทุกที่ดื่มกาแฟ ลดเสี่ยงรถชน", ผู้เขียนขอนำมาเ่ล่าสู่กันฟังครับ

การศึกษาใหม่จากออสเตรเลีย ทำในกลุ่มตัวอย่างคนขับรถบรรทุกสินค้า 530 รายที่เพิ่งขับรถชน กับกลุ่มควบคุม 517 ราย

กลุ่มตัวอย่างมากกว่า 1/3 ดื่มเครื่องดื่มเติมกาเฟอีน

70% ของกลุ่มตัวอย่างมีประวัติ "ง่วงแล้วขับ" จนต้องจอดรถนอนช่วงสั้นๆ (nap) = 70%

ผลการศึกษา (ตีพิมพ์ใน BMJ) พบว่า กาแฟและเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน ช่วยลดเสี่ยงรถชน (crash risk) ได้ โดยลดอาการง่วงโงกเงก (nodding off) = 63%

คนขับรถที่มีประวัติขับรถชนมาก่อนในช่วง 5 ปี พบว่า มีโอกาสขับรถชนเพิ่มขึ้น 81%


อ.ลิซา ชาร์วูด และคณะ จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ กล่าวว่า การขับรถทางไกลทำให้เหนื่อยล้าได้ง่าย ซึ่งถ้ามีการหยุดพักเป็นช่วง (breaks) เช่น เข้าห้องน้ำ ล้างหน้า เดินไปเดินมา ฯลฯ จะปลอดภัยกว่าการขับต่อเนื่องนานคราวละหลายๆ ชั่วโมง

ผู้เชี่ยวชาญอังกฤษ (UK) แนะนำว่า วิธีทีุ่ดีที่สุดในการป้องกันหลับใน คือ ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน 2 แก้ว แล้วงีบช่วงสั้นๆ (a short nap = นอนไม่เกิน 15-45 นาที)

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำวิธีขับรถให้ปลอดภัยดังต่อไปนี้
.
(1). พัก (break) 15 นาที ทุกๆ 2 ชั่วโมง
.
(2). นอนให้พอเป็นประจำ และไม่ขับรถทางไกลเมื่ออดนอน เหนื่อย เพลีย หรือไม่สบาย
.
(3). หลีกเลี่ยงการขับรถในช่วง 24.00-6.00 น. หรือจากเที่ยงคืนถึง 6 โมงเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่คนเราง่วงนอนมากที่สุด
.
(4). ถ้าเริ่มรู้สึกง่วง (start to feel sleepy) ให้รีบหยุดพัก ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน 2 ถ้วย, แล้วนอน 10-15 นาที
.
ถ้านอนนานกว่า 15 นาที แนะนำให้นอน 1.5 ชั่วโมงไปเลย เนื่องจากจะทำให้หลับตื้น และยังไม่เข้าสู่วงจรนอนหลับเต็มตัว หรือเ้ข้าสู่ระยะหลับลึก
.
ถ้านอนนานไม่พอ (น้อยกว่า 1.5 หรือชั่วโมงครึ่ง) จะเสี่ยงต่อการตื่นแบบง่วงๆ งงๆ,  "สลึมสลือ" หรือเบลอๆ ไปอีก 15-20 นาที และจะเสี่ยงอุบัติเหตุในช่วงดังกล่าวได้
.

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

Thank BBC > http://www.bbc.co.uk/news/health-218418

.

 > [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 21 มีนาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
หมายเลขบันทึก: 530852เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2013 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2013 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท