โครงการสัมมนาเรื่อง ความรู้ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับชาวมุกดาหาร


จังหวัดมุกดาหารมีวิสัยทัศน์ เป็น“เมืองการศึกษา การค้า การท่องเที่ยว วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงอาเซียน” เพราะเป็นเมืองหน้าด่านด้านตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่มีความสำคัญด้านการค้าและการลงทุน เป็นประตูสู่ประเทศอินโดจีน โดยมีที่ตั้งอยู่บนแนวเส้นทางเชื่อมโยงตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวระเบียงตะวันตก-ตะวันออก (East-West Economic Corridor: EWEC) โดยมีการเปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่างชาติ แห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต และข้อตกลงด้านการคมนาคมขนส่งทางถนนระหว่าง ไทย-ลาว-เวียดนาม สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งในอนุภูมิภาค มีการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองแฝดสามระหว่างมุกดาหาร - สะหวันนะเขต (ลาว) – กวางตริ (เวียดนาม) เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีในหลายด้านเป็นการเปิดโอกาสด้านการค้า การลงทุน นโยบายการเปิดเสรีทางการค้ากับจีน และประเทศภูมิภาคอินโดจีน จะเป็นแหล่งกระจายสินค้าการเกษตร

อย่างไรก็ตาม จังหวัดมุกดาหารยังประสบปัญหาหลายเรื่องคือ ขาดการสนับสนุนด้านการพัฒนาการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเพื่อเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านจากหน่วยงานภาครัฐอย่างจริงจังข้อจำกัดด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ระหว่างประเทศที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าการลงทุน การค้าชายแดน การลงทุน ต้องพึ่งพานักลงทุนจากภายนอก

ดังนั้นเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของจังหวัด จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการตามกลยุทธ์หลักคือ การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนและส่งเสริมการค้าการลงทุน การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการค้า การลงทุนเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการค้า การลงทุน และการค้าชายแดน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ พัฒนาและดำรงความสัมพันธ์ทางการทูตและความร่วมมืออันดีระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน พัฒนากฎหมาย กฎระเบียบ ข้อตกลง ที่เอื้อต่อการค้า การลงทุน และการค้าชายแดน สร้างกลไกและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชนและภาคประชาสังคม

ในการนี้ สโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติ สโมสรไลออนส์มุกดาหาร และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจึงจะร่วมกันจัดโครงการสัมมนาเรื่อง ความรู้ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับชาวมุกดาหาร

วัตถุประสงค์

1.เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

2.เพื่อเตรียมความพร้อมให้ทุนมนุษย์ชาวมุกดาหารในการก้าวสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

3.เพื่อช่วยให้ชาวมุกดาหารสามารถบริหารความเสี่ยงและฉกฉวยประโยชน์สร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

4.เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของจังหวัดมุกดาหารในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและประชาชนทั่วไป

กำหนดการ

โครงการสัมมนาเรื่อง ความรู้ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับชาวมุกดาหาร

ในวันพฤหัสที่ 18 เมษายน 2556

เวลา 9.00-12.00 น.

ณ ห้องประชุมใหญ่ ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร

8.30 น.    ลงทะเบียน

9.00 น.   พิธีเปิด

กล่าวรายงาน

โดย   ไลออน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นายกสโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติและ

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

กล่าวเปิดงาน

โดย  ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร

9.15 น.   ปฐมนิเทศ

โดย   ไลออน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นายกสโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติและ

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

10.00 น.  การบรรยายเรื่อง ความรู้ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับชาวมุกดาหาร

ไลออน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นายกสโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติ

และคณะผู้บริหารสโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติ

11.00 น.  การระดมสมองในการประชุมกลุ่มย่อย

11.30 น.  การนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อยและช่วงถาม-ตอบ

12.00 น.  ปิดโครงการ

ติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับจังหวัดมุกดาหารได้ที่ลิ้งค์นี้

http://www.mukdahan.go.th




















หมายเลขบันทึก: 530754เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2013 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2013 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ข่าวโครงการ






ที่มา: แนวหน้า วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2556 หน้า 5

http://www.naewna.com/politic/columnist/6314

โปรดติดตามข่าวโครงการได้ใน

รายการคิดเป็็น.. ก้้าวเป็็น กับ“ดร.จีระ”ทางสถานีโทรทัศน์ TGN  วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2556
เวลา 21.00-21.25 น.

และ

รายการ “สู่่ประชาคมอาเซียน”ทางสถานีโทรทัศน์ NBT (ช่อง11) วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556 

เวลา 13.00 น.

สนใจสั่งซื้อซีดีรายการได้ที่ 0-26190512-3,0-22730180
มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

สัมภาษณ์คุณสกลสฤษฏ์  บุญประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร

เรื่อง การเตรียมพร้อมสำหรับจังหวัดมุกดาหารในการเข้าสู่ ASEAN

จังหวัดมุกดาหารซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนถือว่าเป็นประตูสู่อาเซียน ในมุมหนึ่งก็ติดกับประเทศลาวแล้วก็สามารถเชื่อมโยงไปทางประเทศเวียดนาม และประเทศจีนทางด้านตะวันออกของประเทศไทยในส่วนนี้

การเตรียมการของจังหวัดมีหลายเรื่องด้วยกัน โดยที่ศักยภาพของพื้นที่เองก็มีการตื่นตัวและมีการพัฒนาทั้งในเรื่องการเตรียมความพร้อมที่จะส่งเสริมการลงทุน เตรียมความพร้อมด้านการค้าขาย ส่งเสริมการท่องเที่ยว และการพัฒนาเรื่องอาชีพความเป็นอยู่ต่างๆของคนในพื้นที่เพื่อที่จะพัฒนามาตรฐานการผลิต มาตรฐานสินค้า และมาตรฐานเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจทางภาษาของคนในพื้นที่และได้ประชาสัมพันธ์ให้คนในพื้นที่ได้รับทราบว่าการเปิดประเทศเข้าสู่อาเซียนจังหวัดมุกดาหารซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนที่จะเป็นด่านหน้าที่เพื่อนบ้านไปมาหาสู่กันมากอยู่แล้ว ก็จะไปมาหาสู่กันมากขึ้น

ทุกวันนี้จังหวัดมุกดาหารมีการผูกสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นเมืองคู่แฝดกับลาวที่เมืองสะหวันนะเขตและเป็นเมืองคู่แฝดกับประเทศเวียดนามที่เมืองกวางตรี และขึ้นเหนือไปก็เป็นเมืองคู่แฝดกับเมืองฉงจั่วที่ประเทศจีน

การเตรียมการในส่วนของประชาชนได้ทำความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์ ได้ให้ความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนได้เตรียมตัวที่จะพัฒนาตนเองเพื่อทำมาค้าขาย หรือพัฒนาอาชีพ และพัฒนาความสัมพันธ์ที่จะเป็นเจ้าบ้านและที่จะทำธุรกรรมกับเพื่อนบ้าน เพราะว่าการไปมาหาสู่ก็จะกว้างขวางไร้ขอบเขตหรืออยู่ในกฎเกณฑ์กติกาที่เปิดกว้างมากขึ้น

ในส่วนของการเตรียมความพร้อมด้านอื่นๆไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานถนนหนทาง การปรับปรุงสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ ทางจังหวัดได้รับขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางมีการพัฒนาไปพอสมควร รวมทั้งความต้องการที่จะได้รับความสะดวกในเรื่องของการเดินทางทางเครื่องบิน และการส่งเสริมการลงทุนต่างๆก็พยายามประชาสัมพันธ์ไปยังภาคเอกชน ว่าจังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดที่มีสะพานมิตรภาพไทย ลาวแห่งที่ 2 มีมูลค่าการค้าสินค้าผ่านแดนในปีที่ผ่านมา ปี 2555 มีมูลค่าสินค้าเข้าสินค้าออกและสินค้าผ่านแดนรวมกันแสนล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงกว่าจังหวัดชายแดนหลายจังหวัด ซึ่งภาคเอกชนควรจะเข้ามาพัฒนาเรื่อง Logistic คลังสินค้า หรือการลงทุนประเภทต่างๆเพื่อที่จะเป็นด่านหน้าในการเชื่อมความสัมพันธ์ในเชิงเมื่อเปิดประเทศอาเซียนขึ้นมาก็จะทำให้ร่นระยะทาง ทำให้พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจกับภาคอีสาน และพัฒนารายได้ค่าธรรมเนียมให้กับประเทศไทย

ซึ่งทุกๆด้านเราได้พยายามพัฒนาเต็มที่เพื่อให้พี่น้องประชาชนรวมทั้งภาคเอกชนและส่วนราชการได้เข้าใจและเตรียมพร้อมที่จะเปิดรับประเทศเข้าสู่อาเซียน

ผม มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และในฐานะนายกสโมสรไลออนส์ มีโครงการที่จะไปเผยแพร่ให้แก่ผู้นำท้องถิ่นในต่างจังหวัดเลยเห็นว่ามุกดาหารเป็นประตูสู่อาเซียน

ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากจากสโมสรไลออนส์ที่มุกดาหาร มีท่านอดีตนายก ปัจจุบันเป็นอดีตผู้ว่าราชการภาค คือท่านพิเชษฐ์ และมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่ด้วย

ซึ่งท่านได้เล่าให้ฟังว่า หลังจากมุกดาหารมีสะพานข้ามไทย ลาว ซึ่งมีรัฐบาลญี่ปุ่นมาร่วมมือกับเรา ข้ามไปเป็นแขวงสะหวันนะเขตของลาว ซึ่งไทยเรียกว่าสุวรรณเขต ท่านผู้ว่ากล่าวว่า งานท่านหนักเพราะรัฐบาลก็อยากให้ประชาชนชาวมุกดาหารได้รับประโยชน์ แต่ปรากฏว่า ปัจจุบันสินค้าข้ามไปจากไทยไปลาว ไปเวียดนาม มูลค่าสูงประมาณ 5หมื่นกว่าล้าน เข้ามาจากลาว เวียดนาม 2 หมื่นกว่าล้าน รวมๆแล้วเกือบแสนล้าน

ท่านผู้ว่าบอกว่า ประชาชนชาวมุกดาหารรู้สึกว่ายังไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร

เพราะว่ามุกดาหารเก่งอยู่ 3 เรื่อง หนึ่งคือเรื่องการเกษตร มีข้าว อ้อย ยางพารา จึงอยากให้พัฒนาการเกษตร

เรื่องที่สองอยากพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยว ซึ่งมีชาติพันธุ์ มีศาสนามาก พวกเราสนใจเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งตรงนั้นติดแม่น้ำโขง เขาอยากทำ creative economy

และเรื่องสุดท้าย เรื่อง Logistic อยากให้เป็น logistic แบบ SME เพราะธุรกิจขนาดใหญ่เป็นธุรกิจระดับข้ามชาติ

ท่านผู้ว่าเลยฝากให้ผมมาเล่าให้ฟัง

เผอิญว่าการประชุมวันนั้นมีทั้งข้าราชการ และผู้นำท้องถิ่น

ก็เลยเสนอโครงการขึ้นว่า มุกดาหารน่าจะจัดการพัฒนาทุนมนุษย์ในระดับราชการ ในระดับผู้นำท้องถิ่นด้วย

และพอเขาได้เห็นหนังสือ 8K 5K เขาก็รู้สึกว่าคุณภาพทุนมนุษย์ไม่ควรมีเฉพาะธุรกิจใหญ่ๆ ควรมีธุรกิจเล็กด้วย โดยเฉพาะพัฒนาธุรกิจท้องถิ่น

ถ้าในอนาคตข้างหน้ามีจังหวัดไหน หรือจังหวัดชายแดน และมีความต้องการ เราก็จะไปเยี่ยมเขา

ผมคิดว่าประเทศไทย กับลาวโดยเฉพาะสะพานก็ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่อยากให้ชาวบ้านได้รับการพัฒนาด้วย ทำให้มีศักยภาพสูงขึ้นด้วยก็มีประโยชน์

ผมก็คิดว่าผมจะไปติดตามงานของที่มุกดาหารต่อไป

แต่ในช่วงแรกเรามีโครงการเกี่ยวกับกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งทางมุกดาหารก็จะส่งคนไปร่วมกับเราในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ในจังหวัดมุกดาหารมีคนหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นคนพื้นบ้าน หรือคนที่มาจากชุมชนอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นประโยชน์ ผมเชื่อในระบบวัฒนธรรมยิ่งเป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม

เพราะฉะนั้นข้อสำคัญก็คือ ผู้ที่เป็นผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว หรือทางเกษตร เขาต้องมีความคิดทางด้านมูลค่าเพิ่ม หรือ 3V value added, value creation  และ value diversity ให้ออกมาทางการท่องเที่ยวให้ได้ และบางครั้งจะจัดร่วมกับประเทศลาว เลยอีกนิดถึงดานัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท