นมไร้ไขมัน__อาจทำเราอ้วน



.
สำนักข่าว Telegraph (เทเลกราฟ) ตีพิมพ์เรื่อง Skimmed milk 'makes kids fat'
= "นมไร้ไขมันทำ (ให้) เด็กอ้วน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่จากสหรัฐฯทำในกลุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 2 ปี จำนวนเกือบ 11,000 คน ติดตามไป 2 ปี
.


ภาพที่ 1: ตารางแสดงประเทศมหาอำนาจด้านการผลิตนมวัวมากที่สุด เรียงจากสหรัฐฯ อินเดีย จีน รัสเซีย บราซิล เยอรมนี ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ อังกฤษ (UK), และตุรกี [ wikipedia ]
.

.
ภาพที่ 2: ตารางแสดงประเทศมหาอำนาจด้านการผลิตนมควายมากที่สุด เรียงจากอินเดีย ปากีสถาน จีน อียิปต์ เนปาล อิหร่าน พม่า อิตาลี ศรีลังกา บังคลาเทศ [ wikipedia ]
.
มีคำกล่าวในอินเดียว่า "ไจ (ชาร้อนใส่นม) อร่อยต้องผสมนมควาย, ใส่ในถ้วยกระเบื้อง, ดื่มแล้วตื้บ (กระทืบ)"
.
ชาวอินเดียเชื่อว่า นมควายมีความหอมมัน เหมาะกับการทำไจ (ชาร้อนใส่นม) มากกว่านมโค, แถมยังเลี้ยงได้ ล้ม(ฆ่า)กินเนื้อได้ เพราะไม่ใช่สัตว์ศักดิ์สิทธิ์แบบวัว (ในศาสนาฮินดู)
.
ที่ต้องดื่มแล้วตื้บ (กระทืบ) เพราะอินเดีย-เนปาลยังแบ่งชนชั้นวรรณะ กินแล้วจะให้คนต่างวรรณะกินภาชนะร่วมกันไม่ได้
.
อินเดียเป็นประเทศที่ใช้เครื่องปั้นดินเผาเปลือง คือ ใช้แบบ 'disposable' = ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งมาก
.
ประเทศกลุ่มเอเชียใต้ (อินเดีย ปากีฯ เนปาล ศรีลังกา บังลา) เป็นกลุ่มประเทศที่นิยมดื่มนมควาย, ความนิยมนี้น่าจะแพร่กระจายเข้าสู่พม่าด้วย
.
นี่อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชนกลุ่มใหญ่ในพม่านิยมดื่มนมควายตาม และทำให้ชาวพม่า (ที่ไม่ขาดอาหาร) มีรูปร่างสูงกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ในอินโดจีน
.
คำ "พม่า (Burmese)" - มาจากคำว่า "พราหมณ์" ที่ออกเสียง "บราม - บระมะ", ชาวพม่าเชื่อว่า ชาวพม่าอพยพมาจากตอนเหนือของอินเดีย แถมยังเชื่อว่า มีเชื้อสายศากยวงศ์ (วงศ์ของพระพุทธเจ้า) อีกต่างหาก
.
เรื่องนี้จะจริงหรือไม่... อย่าไปวิเคราะห์กับชาวพม่า เพราะอาจจะโกรธกันแรง
.
เรื่องที่น่ารู้ คือ คนบนโลกใบนี้ผลิตนมวัวได้มากกว่านมควาย = 6.48 เท่า หรือประมาณ 6.5 เท่า

กลุ่มตัวอย่างกินนมต่างกันหลายชนิดได้แก่
  • skimmed milk = นมไขมัน 0%
  • one percent fat milk = นมไขมัน 1%
  • two percent fat milk = นมไขมัน 2%
  • full-fat milk = นมจืดไขมันเต็มส่วน (ไม่สกัดไขมันออก
ผลการศึกษาพบว่า เด็กที่มีสุขภาพทั่วไปดี อายุ 2 ขวบที่ดื่มนมไร้ไขมัน (non-fat, skimmed milk) เป็นประจำ เพิ่มเสี่ียงน้ำหนักเกิน-โรคอ้วน = 57% เมื่อเทีียบกับนมไขมันเต็มส่วน (full-fat milk)
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ นมจืดแบบไขมันเต็มส่วน (full-fat milk) หรือนมจืดที่ไม่ได้สกัดไขมันออกทำให้เด็กๆ อิ่มได้นานกว่า มีรสชาติที่ทำให้เด็กๆ พึงพอใจมากกว่า ทำให้เด็กๆ กินขนมน้อยลง
.

.
การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระยะยาวในเด็กเล็ก (the Early Childhood Longitudinal Study) ที่ติดตามกลุ่มตัวอย่างเด็กที่เกิดในปี 2001/2544 
.
เรื่องนี้ตีพิมพ์ในวารสารโรคเด็ก (Archives of Disease in Childhood) และคาดว่า คงจะมีการติดตามกลุ่มตัวอย่างต่อไปจนเด็กเหล่านี้โตขึ้นไปเรื่อยๆ
.
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นมจืดไขมันเต็มส่วนมีดีอีกอย่างหนึ่ง คือ ให้วิตามินที่ละลายในน้ำมัน (A-D-E-K) โดยเฉพาะวิตามิน A มากกว่า
.
กระทรวงสุขภาพสหรัฐฯ แนะนำให้เด็กอายุ 1-3 ปีกินนม = 1/2 หน่วยปายน์ต่อวัน(pint: 1 pint = 473 มิลลิลิตร) = 236.5 มิลลิลิตร/วัน เพื่อป้องกันการขาดแคลเซียม
.

.
การศึกษานี้บอกเป็นนัยว่า อาหารที่ไม่มีไขมันเลยมักจะทำให้รสชาติแย่ลง ทำให้อิ่มไม่นาน และเพิ่มความอยากกินอาหารแคลอรีสูง เช่น ขนม ฟาสต์ฟูด ฯลฯ
.
อาหารที่มีไขมันชนิดดี เช่น สลัดใส่น้ำมันมะกอก ผัดผักด้วยน้ำมันผสมชนิดดีมาก เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนลา น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันถั่วลิสง หรือน้ำมันคาโนลาผสม
.
น้ำมันคาโนลาเป็นน้ำมันที่ดีมาก ทนความร้อนสูง ทั้งจากการผัดและทอด ทว่า... ราคาค่อนข้างแพง ประมาณ 90 บาท/ลิตร
.
น้ำมันคาโนลาผสม ชนิดดีราคาไม่แพง ใช้ผัด-ทอด-ทำสลัดได้ คือ 'Emerald' = น้ำมันเอมเมอรัลด์ ทำจากน้ำมันคาโนลาผสมปาล์ม โอเลอีน, ราคาประมาณ 53 บาท/ลิตร (emerald = หยก)
.

.
อาหารที่ทำให้อิ่มได้นาน มักจะมีเส้นใยหรือไฟเบอร์ เช่น ผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกากทิ้ง) ฯลฯ, โปรตีน (นม ถั่ว เต้าหู้ โปรตีนเกษตร ไก่ เป็ด ปลา เนื้อ งา ฯลฯ), ไขมันชนิดดีปนกันในมื้อเดียว
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.


 > [ Twitter ]

  • Thank Telegraph > http://www.telegraph.co.uk/health/healthnews/9938102/Skimmed-milk-makes-kids-fat.html
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 19 มีนาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 530721เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2013 06:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2013 06:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท