ชีวิตที่พอเพียง: ๑๗๗๐. การพัฒนามหาวิทยาลัย



          บ่ายวันที่ ๑๔ ก.พ. ๕๖ วันแห่งความรัก  ผมไปร่วมงานสภามหาวิทยาลัยและสภาคณาจารย์พบประชาคมมหิดล


          เรื่อง “ความมั่นคงในการทำงานกับความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย”

          วันที่ ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖  เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.

          ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม


          และกล่าวเปิดงานด้วยหัวข้อ ประชาคมมหิดลกับการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย  โดยผมเตรียมไปบอกที่ประชุมในเวลา ๑๕ นาที ว่าหัวใจคือ  ประชาคมประกอบด้วย ๓ หรือ ๔ ฝ่าย ที่หลอมรวมเป็นหัวใจเดียวกัน  ขับเคลื่อนฟันฝ่าไปด้วยกัน  เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันคือพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก

          เอาเข้าจริง ผมใช้เวลาไม่ถึง ๕ นาที จนประธานสภาคณาจารย์ท้วงว่าผมยังไม่ได้กล่าวปาฐกถา  ผมยืนยันว่าพูดแล้ว  คือพูดเพียงหลักการภาพใหญ่  ส่วนรายละเอียดเนื้อหาลงไปที่สาระสิ่งที่จะทำนั้น  อยู่ในส่วนที่ท่านอธิการบดีจะนำเสนอ  และจะมีผู้ทรงคุณวุฒิมาอภิปรายกลุ่ม   



วิจารณ์  พานิช

๘ ก.พ. ๕๖  ปรับปรุง ๑๙ ก.พ. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 522910เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2013 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ฟันธง ตรงประเด็น ครับ

ตรงประเด็นชัดเจนครับ  ม.ราชภัฏอยากได้ยินคำว่า พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยเพื่อท้องถิ่น

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

แสดงว่าเขาอยากฟังอาจารย์มากกว่า หรือสื่อไม่ตรงกัน ระดับสภามหาวิทยาลัย ยังเป็นอย่างนี้ ระดับล่างๆลงมาจะเป็นอย่างไรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท