โครงการ PLC ครูสอนดี จังหวัดมหาสารคาม _21: วิพากษ์หลักสูตร 3PBL (ต่อ)


ผมทำ BAR กับตนเอง 3 ประเด็นคือ

  1. ตรวจสอบปรับจูนความรู้ความเข้าใจในเป้าหมายและหลักการของ PLC ด้วย 3PBL
  2. ลงมือ "ถอดบทเรียน" หรือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตาม Pattern-based และ Project-based ผมเตรียมแบบฟอร์มไปจำนนวนหนึ่งสำหรับความคาดหวังนี้
  3. วางแผนร่วมกันว่าเราจะขยับ PLC เพื่อให้เกิดการจัดการเรียนรู้แบบ Problem-based ได้อย่างจริงจังในพื้นที่ได้อย่างไร 

และผมยังหวังในใจว่า จะทำให้ครูได้ฝึกทักษะ 3 อย่างสำหรับครูฟา(facilitator) คือ

  1. การฟัง
  2. การตั้งคำถาม
  3. การออกแบบกระบวนการ

เป็นไปดังคาด รูปแบบกิจกรรมเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ผลที่ได้จาก AAR ไม่เหมือนที่ BAR แต่ว่า บรรลุได้เกินความคาดหวัง เกิดพลังที่ไม่ได้หมาย ดังนี้ครับ

  1. การมาประชุมคราวนี้เป็นผลเชิงประจักษ์สำหรับผมว่า "เรามาถูกทางแล้ว"  เพื่อนครูที่มาร่วมกิจกรรม มีความสุข สนุกที่ได้มา แตกต่างจากการไปร่วมฝึกอบรมอื่น
  2. แม้เราจะบอกฟันธงไม่ได้ว่า เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วกับ PLC และ 3PBL  แต่ผมมั่นใจว่าเรา รู้และเข้าใจ PBL เพื่อทักษะในศตวรรษที่ 21 มากขึ้นมาก และขณะนี้ PLC ได้เกิดขึ้นแล้ว  สังเกตจากการนำประสบการณ์การพัฒนาเรียนรู้ของตนเองมาแลกเปลี่ยนกันในวง อย่างมีพลัง สนุก สุข สังเกตจาก ประกายตาทำนองของวาจา และสีหน้าตอนเล่าเรื่อง
  3. เราทุกคนในกลุ่มมีเป้าหมายเดียวกันแล้วที่นักเรียน  ทุกคนมีแผนในใจที่จะกลับไปสร้าง PLC ในโรงเรียน 

ปกติผมจะไม่ค่อยชอบโพสท์ที่มีตนเองอยู่ด้วย แต่ภาพนี้ อยากจะให้เห็นจริงๆ ครับว่าเรามีความสุขมากแค่ไหน


ดูคลิปกิจกรรมของเราได้ตามลิงค์ด้านล่างครับ




ลองดูสีหน้า ท่าทางในการเล่าเรื่องนะครับ บ่งบอกให้เห็นถึงความมั่นใจ เข้าใจ และมุ่งมั่นอย่างยิ่ง ...... ผมมีความสุขจริงๆ ครับ


หมายเลขบันทึก: 522899เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2013 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2013 09:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เพิ่มเติม อ.ต๋อยนิดหนึ่งว่า

       วันนั้เราจะทำความเข้าใจใน PBL แรก คือ การเรียนรู้ในรูปแบบ(Pattern-based Learning) โดยใช้แบบฟอร์มต่างๆ เป็นเครื่องมือช่วยในการถอดบทเรียน(คือฝึกให้เขาเกิดทักษะ)เพื่อไปสู่ความไร้รูปแบบ ประเด็นคือนอกจากครูวิทย์ฯที่คลุกคลีกับโครงงานแล้ว ครูอื่นๆไม่มั่นใจในประเด็นปัญหา ครูเราไม่มั่นใจในตนเอง ไม่มั่นใจในการตั้งประเด็นคำถาม

      จากสื่อเพลงอิสานบ้านเฮา ต้องการฝึกครู ว่า เมื่อเจอประเด็นปัญหา แล้วจะทำอะไร ปัญหานั้นสำคัญอย่างไร  จะทำอย่างไรกับปัญหานั้น (เพื่อต้องการให้ครูฝึกรู้จักที่มาของปัญหา)

       ที่จริงต้องการฝึกครูให้คล่องกับที่มาของปัญหา(ให้รู้จักฟัง คล่องการจับประเด็น คล่องการวิเคราะห์)

       เมื่อครูคล่องแล้ว  รูปแบบไม่มีความหมายสำหรับครู....อะไรก็ได้...ประมาณนี้..ฮา

      ไม่แน่ใจว่าเป้าเราตรงกันไหม.....ฮา......เพราะเป้าครูผู้สอน กับเป้าผู้บริหารมักไม่ตรงกันเท่าที่ควร..ฮา     


อย่างกลุ่ม อ.ป๋อง อ.จิ ไปได้ เพราะทั้งหมดครูวิทย์  อ.ต๋อยลองเทียบการคิดกับกลุ่ม อ.อ๋อย สวยงามต่างกันไหม?

ไม่รู้นะ.......ฮา เปิดประเด็นต่อ


กลุ่มอาจารย์อ๋อยนำเสนอในความเข้าใจที่แตกต่างกับ 2 กลุ่มนั้น ทำให้ไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบได้  แต่ที่เห็นชัด เดาว่า  ความเข้าใจของกลุ่มอาจารย์อ๋อย น่าจะเป็นอิทธิพลทางความคิดของ อ.อ๋อย มากกว่า การอภิปรายในกลุ่มย่อยอาจยังไม่เต็มที่

ที่ออกมา อาจเป็นเพราะโจทย์ที่มีหลายคำถามไม่เคลียร์ ถ้าเป็นครูถามเรียกว่าไม่มีเอกภาพของประเด็นมากกว่า เราต้องการตอบทุกคำถามและมองอย่างครูมองในการจัดกิจกรรมเพื่อเด็ก การตอบคำถามออกมาทั้งหมดไม่มีอิทธิพลความคิดของใครเป็นมุมมองที่ส่วนใหญ่มองแล้วตรงกันมากที่สุด จึงกลั่นกรองออกมาดังที่เห็น ทุกอย่างไม่มีถูกหรือผิด ความคิดของครุูแต่ละกลุ่มสะท้อนประสบการณ์แต่ละคน มันควรเป็นบทเรียนที่ดี ที่มีคุณค่าที่เราจะรู้จักตัวบุคคลถ้าเป็นเด็กเราจะรู้จักเด็กรายบุคคลก่อนที่จะจัดกิจกรรมให้กับเขา ถ้าเอากิจกรรมมาเปรียบเทียบความสวยงาม ก็เหมือนกับเราถอยหลังเข้าคลอง ในความเป็นจริง ไม่มีเด็กคนไหนจะตอบคำถามได้เหมือนกันทุกคน ถ้าท่านทั้งสองคิดแบบนี้ ก็คงสวนทางกับความคิดของดิฉัน เพราะแต่ละกิจกรรมดิฉันไม่เคยเปรียบเทียบใครเลย มีแต่ความชื่นชม และเก็บข้อมูลวิจัย ถ้าเป็นครูฟาอย่างแท้จริง ควรตัดการเปรียบเทียบแบบนี้ออก ถ้ากิจกรรมใดคิดเปรีบยเทียบอย่างนี้อีก ดิฉันคงเดินสวนทางกับท่านซะแล้ว ดิฉันคิดว่าความคิดของพวกท่านคงเป็นฟาตั้งนานแล้ว ช่างน่าเสียดายเวลาจริง ๆ การเดินหน้า plc สำคัญที่เป้าหมายเดียวกัน จะเข้าใจและใช้อย่างไรแล้วแต่ครูแต่ละคนจะนำไป จะให้ทุกคนมีความคิดเหมือนกันคงไม่ได้ ลองคิดดูว่า ทำไม plc ของครูจึงขยายยาก มีครูเหลือน้อยลงทุกที ก็เพราะคิดกันแบบนี้หรือเปล่า คิดดูให้ดีนะว่าวันนี้ดิฉันพุูด หมายความว่าอย่างไร อ.ต๋อยมี plc ที่ม.เป็นอย่างไร อ.เพ็ญศรี มีplc ในโรงเรียนเพิ่มหรือไม่ ถ้าอาจารย์ทั้งสองมีความตรงกันก็ขอให้โชคดีในการขยาย plc นะคะ


ผมอ่าน ความคิดเห็นของ อ.อ๋อย แล้ว ผมว่า อ.อ๋อย พูดถูกหลายอย่าง และเตือนสติผมได้อย่างดียิ่ง ในประเด็นต่อไปนี้

  • ทุกอย่างไม่มีถูกหรือผิด ความคิดของครุูแต่ละกลุ่มสะท้อนประสบการณ์แต่ละคน มันควรเป็นบทเรียนที่ดี
  • ถ้าเอากิจกรรมมาเปรียบเทียบความสวยงาม ก็เหมือนกับเราถอยหลังเข้าคลอง
  • ในความเป็นจริง ไม่มีเด็กคนไหนจะตอบคำถามได้เหมือนกันทุกคน
  • ถ้าเป็นครูฟาอย่างแท้จริง ควรตัดการเปรียบเทียบแบบนี้ออก
  • การเดินหน้า plc สำคัญที่เป้าหมายเดียวกัน จะเข้าใจและใช้อย่างไรแล้วแต่ครูแต่ละคนจะนำไป

โดยเฉพาะประเด็นสุดท้าย.....ใช่เลยครับ ใช่!!!!! ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง

นี่เป็นคงนับเป็นครั้งที่ 2 ที่ผมทำให้ อ.อ๋อย ผิดหวัง ทั้งๆ ที่ อ.อ๋อย เป็นครูเพื่อศิษย์ที่ทำงานหนักที่สุดคนหนึ่งในจังมหาสารคาม การผลักดันในโรงเรียนที่ต้องเจออุปสรรคมากมาย การผลักดันสู่โรงเรียนบ้านดอนกลอย การเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งไม่เคยขาด และเป็นครูเพื่อศิษย์คนหนึ่งในไม่กี่คนที่ทางคุณอ้อ อ.เอ็ม (มูลนิธิสดศรี) ยอมรับ

ผมเองก็ไม่ขอแก้ตัวใดๆ  เพราะรู้แล้วว่าผิดไป ก็คงทำได้แค่ ขอโทษ ขออภัย และขอแสดงความรับผิดชอบโดยการ คงไว้ในบันทึกนี้เป็นอุทาหรณ์แก่ตนเอง ให้ออนไลน์ต่อไป (ไม่ลบหลบหนี) ประกาศให้ทุกคนที่เข้ามาอ่านรู้ว่า ครั้งนี้่เคยเกิด "ต่อม" ของการเรียนรู้ในวง PLC มหาสารคาม ของเรา

ขอโทษครับ อ.อ๋อย.... ขอบคุณที่เตือนสติ.... ผมได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นแล้ว

ด้วยความเคารพรัก

อ.ต๋อย

การจัดกิจกรรม 3 PBL ทั้ง3ขั้นตอนสามารถนำหลักการมาบูรณาการได้ทุกกลุ่มวิชาทุกระดับชั้นขึ้นอยู่ที่ตัวครูจะนำไปใช้เพราะ เราเน้นที่กระบวนการไม่ใช่เน้นที่เนื้อหา   แต่ถ้าเราจัดกิจกรรมได้สมบูรณ์แล้วเนื้อหาสาระจะเกิดโดยอัตโนมัติ ในขณะที่อบรมก็เป็นการฝึกครั้งแรกผลอาจไม่ดี  แต่ถ้าเรานำไปปฏิบัติเราก็จะเกิดการพัฒนาจากกิจกรรมที่เราทำไปพร้อมๆกับนักเรียน นำผลมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นได้ค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท