วิธีตากแดด__รับวิตามินD+ป้องกันมะเร็งผิวหนัง




.
เว็บไซต์ อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'Sunshine more effective than vitamin D pills'
= "แสงแดดดีกว่าวิตามิน D อัดเม็ด", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.

.
ภาพ: บรรยากาศชั้นโอโซน (ozone) สูงจากผิวโลก 10-50 กิโลเมตร (กม.), แถบที่มีแก๊สโอโซนหนาแน่นมากที่สุดในช่วง 20-40 กม. [ wikipedia ]
.
เส้นแนวดิ่งแสดงความสูงจากผิวโลก (กม.), เส้นแนวนอนแสดงความเข้มข้นของบรรยากาศชั้นโอโซน (เส้นสีเขียว)
.
ชั้นโอโซนทำหน้าที่คล้ายเป็นเกราะกำบัง ป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต (ultraviolet / UV) โดยปิดกั้น UVC ทั้งหมด, กั้น UVB บางส่วน, และยอมให้ UVA ส่วนใหญ่ผ่านลงสู่ผิวโลกได้
  • UVC > ทำให้ตาอักเสบ ผิวหนังอักเสบ (บวม แดง ร้อน)
  • UVB > ช่วยสร้างวิตามิน D, ขนาดสูง เช่น แสงแดดจ้าใกล้เที่ยง เพิ่มเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง ฯลฯ
  • UVA > ช่วยสร้างเม็ดสีผิวหนัง (ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายจาก UVB ขนาดสูง), ขนาดสูงทำให้ผิวเสื่อมเร็ว ดูแก่เร็ว เพิ่มเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง

การศึกษาใหม่จากสวีเดน รายงานในที่ประชุมสถาบันโรคผิวหนังอเมริกัน ไมอามี (มีนาคม 2556) ทำในกลุ่มตัวอย่างที่ขาดวิตามิน D
.
กลุ่มตัวอย่าง (ไม่ขาดวิตามิน D) จะมีระดับวิตามิน D (hydroxy vitamin D) = 20 หน่วย (nml./L.), ค่าปกติ = 75 หน่วย (nml./L)
.
การศึกษานี้สุ่มให้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มหนึ่งอาบแดด (ความแรงแสงแดด คำนวณเป็นหน่วยฟิสิกส์ที่ดูวุ่นวายหน่อย คือ 9 J/cm2) ทั่วตัว 3 ครั้ง/สัปดาห์
.
อีกกลุ่มหนึ่งให้กินวิตามินอัดเม็ด = วิตามิน D ขนาด 1,600 IU + แคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม
.

.
วิตามิน A-D-E-K ละลายในน้ำมัน จึงต้องกินวิตามินนี้พร้อมอาหารที่มีไขมัน ร่างกายจึงจะดูดซึมวิตามิน D เข้าสู่กระแสเลือดได้
.
ผลการศึกษาพบว่า การตากแสงแดดอ่อนๆ (ตอนเช้า-เย็น) เพื่อรับ UV (ultraviolet - อัลทราไวโอเล็ต / UV) แบบ "ทั่วตัว (full body - น่าจะคล้ายกับการนอนมีแผ่นปิดตา-อาบแดด) เพิ่มระดับวิตามิน D ได้ "สูงกว่า" การกินวิตามินอัดเม็ด
.
ระดับวิตามิน D ในกลุ่มตากแดด = 75 หน่วย (nmol/L) สูงกว่ากลุ่มที่กินวิตามิน = 60.6 หน่วย
.
ชาวตะวันตก (ฝรั่ง) บางคนชอบอาบแดด เพื่อให้ผิวสีเข้มแบบ "สีแทน (tan = สีน้ำตาลปนแดง คล้ายผิวคนเอเชีย คนไทย)
.

.
มีคนทำเตียงอาบแดด และแสงแดดเทียม (sun lamp) โดยออกแบบให้มี UVA มากกว่า 95%, UVB น้อยกว่า 5% เนื่องจาก UVB ขนาดสูงเพิ่มเสี่ยงมะเร็งผิวหนังมากกว่า UVA
.
แสงจากเตียงอาบแดด หรือแสงแดดเทียมไม่ค่อยช่วยสร้างวิตามิน D เนื่องจากมี UVB ต่ำมาก
.
ความเสี่ยงมะเร็งผิวหนังจาก UV มีลักษณะเฉพาะได้แก่
.
(1). เป็นความเสี่ยงแบบ "สะสม (cumulative exposure)" ตลอดชีวิต
.
ผิวหนังส่วนที่ได้รับแสงแดดมากจะเสี่ยงมะเร็งมากกว่าส่วนที่ได้รับแสงแดดสะสมน้อย
.
(2). เป็นความเสี่ยงที่แปรตาม "ความแรง"
.

.
แสงแดดจ้า โดยเฉพาะ 9.30-15.30 น. เพิ่มเสี่ยงมากกว่าแสงแดดอ่อนตอนเช้า-เย็น
.
คนเรามีรหัสพันธุกรรม หรือ DNA เป็นเส้นคู่ คล้ายบันไดลิง ทว่า... มีการบิดตัวให้เป็นเกลียว คล้ายๆ เกลียวไขควง หรือบันไดวน (บันไดวงกลม นิยมใช้ในที่แคบ)
.
DNA แต่ละเส้นหุบเข้า หรือคลี่ออกจากกันได้ เช่น เวลาเซลล์แบ่งตัว... DNA จะคลี่ออกเป็น 2 เส้น คล้ายๆ กับการรูดซิปออกจากกัน ฯลฯ
.
ร่างกายมีระบบ "ซ่อมแซม" DNA โดย DNA ที่เสียหายบางส่วนจะคลี่ออกจากกัน และพยายามซ่อมแซม ซึ่งถ้าซ่อมแซมสำเร็จ จะกลับมาดีได้ดังเดิม
.

.
ถ้าซ่อมแซมผิดพลาด อาจเกิดความเสียหาย ทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติ ตายไป เกิดพันธุกรรมผิดปกติ (อาจถ่ายไปสู่รุ่นลูกหลานได้) หรือเกิดมะเร็ง
.
รังสีที่มีอันตรายสูง เช่น เอกซเรย์ ฯลฯ ทำให้รหัสพันธุกรรม (DNA) ขาดได้ทั้งแบบขาด 1 เส้น และแบบขาด 2 เส้น (จาก DNA ทั้งหมด 2 เส้น)
.
DNA ที่ขาด 2 เส้นมักจะซ่อมแซมไม่ได้, ส่วน DNA ที่ขาด 1 เส้นจะซ่อมแซมตัวเองได้บางส่วน โดยเฉพาะถ้ามีช่วงพักฟื้นนานพอ ไม่ขาดออกซิเจน ไม่ขาดน้ำ และไม่ขาดอาหาร
.
UV เป็นรังสีที่มีอันตรายต่ำ ส่วนใหญ่จะทำให้รหัสพันธุกรรม (DNA) ขาดแบบ 1 เส้น (จาก DNA ทั้งหมด 2 เส้น) ทำให้ร่างกายมักจะซ่อมแซมได้เป็นส่วนใหญ่
.

.
วิธีตากแดดเพื่อสร้างวิตามิน D และลดเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง คือ
.
(1). หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า ในช่วง 9.30-15.30 น. > เลือกรับแสงแดดอ่อนตอนเช้า-เย็นแทน
.
คนส่วนใหญ่เสี่ยงอันตรายจากการขาดวิตามิน D มากกว่าเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง... การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ภาวะขาดวิตามิน D โดยเฉพาะขาดแสงแดดอ่อน อาจทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำลง และเพิ่มเสี่ยงมะเร็งทางอ้อมได้
.
(2). ถ้าโดนแสงแดดจ้า > ให้ลดระยะเวลาลง เช่น ไม่โดดแดดจ้าครั้งละนานๆ ฯลฯ
.
เพื่อให้ร่างกายมีเวลาพักฟื้นซ่อมแซม DNA ที่เสียหายได้ก่อนโดนแดดจ้าครั้งต่อไป
.
(3). เลือกรับแสงแดดผ่านส่วนที่ไม่ค่อยโดนแดด
.

.
คนส่วนใหญ่ได้รับแสงแดดสะสม คิดจากตลอดชีวิต จะมากบริเวณใบหน้า หัวกะโหลก ใบหู คอ แขน และด้านหลังมือ
.
บริเวณที่คนเราได้รับแสงแดดสะสมน้อย คือ ขากับลำตัว
.
การเปิดส่วนขา-ลำตัว หรือลำตัวกับครึ่งล่างของร่างกาย (ใต้สะดือ) รับแสงแดดอ่อนจะทำให้ร่างกายสร้างวิตามิน D ได้มาก และปลอดภัยกว่าส่วนหัว-คอ-แขน
.
วิธีที่น่าจะดี คือ ใส่กางเกงขาสั้น เสื้อสีอ่อนและไม่หนา รองเท้าแตะ หรือถ้าเป็นรองเท้ากีฬา ให้ใช้ถุงเท้าสั้นบางๆ รับแสงแดดอ่อนตอนเช้า-เย็น 15 นาที/วัน
.

.
และอาจปกปิดส่วนที่ได้รับแสงแดดสะสมมาก คือ หัว-คอ-ใบหู-แขน-หลังมือ โดยการสวมหมวก ใส่เสื้อแขนยาว ถุงมือ หรือทายากันแดด (เฉพาะส่วน "คอ-ใบหู-แขน-หลังมือ")
.
แบบนี้จะทำให้ได้รับวิตามิน D มากพอ ป้องกันผิวเสื่อมจากแสงแดด และลดเสี่ยงมะเร็งผิวหนังได้ในระยะยาว
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.


 > [ Twitter ]

  • Thank Dr.Gabe Mirkin Ezine > http://www.drmirkin.com/public/ezine031013.html
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 14 มีนาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 522298เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2013 07:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2013 07:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท