ทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม


ทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม

(Phenomenology)

  ปรากฏการณ์นิยมทางปรัชญามีต้นความคิดมาจากนักปรัชญาชื่อ Edmund Husserl โดยมีนักปรัชญาอีกคนหนึ่ง คือ Alfred Schultz เป็นผู้ถ่ายทอดมาอีกต่อหนึ่ง หากใครคุ้นเคยกับความคิดของ Max Waber และทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์แล้ว จะเห็นว่าปรากฏการณ์นิยมมีความคล้ายคลึงกับแนวความคิดทั้งสอง

  ตามแนวความคิดของพวกปรากฏการณ์นิยมนั้น มนุษย์จะเป็นผู้สร้างบริบทหรือสภาวะการณ์ขึ้นโดยที่ตนเป็นส่วนหนึ่งของสภาวะการณ์หรือระเบียบสังคม เมื่อเป็นดังนั้น มนุษย์จึงเป็นผู้สร้างสังคมขึ้น แล้วกำหนดความหมายสิ่งต่างๆในสังคมนั้นตามที่ตนเห็นสมควร (Social Order) ขึ้นได้อย่างไร นักปรากฏการณ์นิยมเน้นการศึกษากระบวนการเหล่านี้ ภายหลังในสังคมหรือจากความรู้สึกนึกคิดของสมาชิกสังคมที่เขาศึกษานั้น ส่วนใหญ่มักจะอาศัยเทคนิคการให้สมาชิกได้หยุดดำเนินชีวิตตามปกติชั่วคราว แล้วให้คิดว่าความจริงนี้ควรเป็นอย่างไร เช่น กำลังรับประทานอาหารอยู่ มีคนแปลกหน้ามาหยิบแก้วน้ำของท่านไปดื่มหน้าตาเฉย กรณีเช่นนี้จะทำให้ผู้ที่กำลังรับประทานอาหารอยู่ฉุกคิดขึ้นมาว่าความเป็นจริงระเบียบการกินอาหารนี้เป็นอย่างไร ควรหรือถูกต้องหรือไม่ ที่คนไม่รู้จักกันจะมาหยิบแก้วน้ำดื่มเฉยๆ ดังนี้ก็จะทำให้ได้ความจริงเกี่ยวกับระเบียบนั้นขึ้น

  สาระสำคัญของปรากฏการณ์นิยม ที่เน้นเฉพาะการที่มนุษย์แต่ละคนและกลุ่มสร้างหรือแสดงพฤติกรรมประจำวัน โดยวิธีให้การหยุดชะงักการดำเนินชีวิตสังคมไปชั่วคราว เรียกว่า  Ethnomethodology (มานุษยวิธี)

  เพื่อให้ทราบเนื้อหาสาระของทฤษฎีนี้ พิจารณาหัวข้อต่อไปนี้ว่าปรากฏการณ์นิยม ได้กล่าวไว้อย่างไร คือ ธรรมชาติของมนุษย์ ธรรมชาติของสังคม หน้าที่ของสังคมวิทยา และระเบียบวิธีวิจัยที่สังคมวิทยาควรใช้


หมายเลขบันทึก: 522217เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2013 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2013 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท