ยังจำ ศสมช.
ได้อีกหรือไม่ครับ พี่น้องหมออนามัยที่รักและเคารพ ผมทบทวนประเด็น
“ไตรภาคีร่วมพัฒนาสขภาพชุมชน” ไปเผลอพบที่วารสารหมออนามัยปีที่ 4
ฉบับที่ 5 (มีนาคม – เมษายน 2538) 10 กว่าปีแล้วครับ
นี้เป็นส่วนหนึ่งครับที่ทำให้นักวิชาการสาธารณสุข
ประจำสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขณะนั้น ขณะที่ผมทำงานอยู่สถานีอนามัย
ไม่ชอบใจผมเอาเสียเลย ด้วยเพราะผมไปเล่าให้ฟัง ตามที่ชาวบ้านพูด
แบบซื่อ ๆ ว่า “ก็เรา (อสม.) อยู่ใกล้แค่นี้
หมอจะมาสร้างทำไมอีกได้ศูนย์ฯ นี่นะ” “น้องเพิ่งจบใหม่ ไม่เข้าใจ
มันเป็นนโยบาย ต้องทำให้ได้ อย่าดื้อ”
ผมก็ยังพูดต่ออีกว่า “ก็ชาวบ้านไม่เอา จะให้ผมทำอย่างไร”
คำตอบที่ทำให้ผมอึดอัดตลอดที่อยู่ที่นั่นโดยเฉพาะเวลาขึ้นอำเภอ
และไม่จำเป็นไม่อยากขึ้นไปเลย “ทำไม่ได้ ก็แสดงว่าไม่มีความสามารถ
ก็ให้คนอื่นทำ เท่านี้ก็จบเรื่อง” ผมกลับมาบอกบัง (พี่ชาย) และสู
(น้า) ที่เป็น อสม. พื้นที่ชุมชนมุสลิม ตามที่นักวิชาการสาธารณสุข
ประจำสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ พูดกับผม
โดยไม่ได้คิดอะไรเพียงแต่จะบอกให้เขาฟังสิ่งที่ผมพบเจอมาธรรมดา ๆ
เรื่องหนึ่ง ถัดมาประมาณ 1 สัปดาห์ ศสมช.นี้เสร็จ
โดยใช้ศาลาที่พักข้างสวนยาง (พักทานข้าวระหว่างรอเก็บน้ำยางตอนเช้า)
และมีคนไปบอกผม
ผมเข้าไปดูก็เห็นเขาเขียนใส่กระดาษด้วยปากกาเมจิกติดไว้ที่เสาว่า
“ทำให้หมอชา หมอชาต้องมีความสามารถสำหรับเรา” ผมถามว่าทำทำไม
ไม่ต้องการก็ไม่ต้องทำ
ผมไม่กลัวเดือนร้อนอยู่แล้วเรื่องนี้ตอบคำถามได้
สุดท้ายไม่เคยได้ใช้ประโยชน์อะไรเลย
จะบอกว่านี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาสุขภาพ
เสาะหาเพื่ออ่านรายละเอียดได้ทีวารสารหมออนามัยปีที่ 4 ฉบับที่ 5
(มีนาคม – เมษายน 2538) หน้า 57 เขียนโดยคุณชนะ โพธิ์ทอง
นี่เป็นตอนหนึ่งเล็ก ๆ
ที่ผมเคยบอกว่าจะเขียนถึงเมื่อคราวอยู่อนามัยหนองธง ที่เคยเขียนไว้ที่
ย้อนบันทึก “คนชายขอบ”