ชีวิตที่พอเพียง: ๑๗๖๕. ฝึกทักษะทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย



          การฝึกทักษะเป็นเรื่องสนุกสำหรับผม  และการทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายเป็นสิ่งท้าทาย  หลังจากเอาใจใส่ฝึกมาระยะหนึ่งผมก็พบว่าจะว่าง่ายก็ง่ายจะว่ายากก็ยาก 

          ที่ว่ายากก็คือเรื่องยากมักมีความซับซ้อนที่ว่าง่ายก็คือในความซับซ้อนมีความเรียบง่ายซ่อนอยู่

          สมัยทำงานในมหาวิทยาลัยและที่สกว. ผมแอบใช้“ครู”หลายคนเป็นตัวอย่างฝึก systems thinking ให้แก่ตนเอง   ฝึกมองให้เห็นpattern บางอย่างที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราวหรือปรากฏการณ์ต่างๆ  โดยฝึกทำความเข้าใจความเชื่อมโยงและพลวัต

          อีกวิธีหนึ่งคือหัดคิดถึงroot cause ของเรื่องต่างๆ  หัดมองสิ่งที่เห็นเป็น“อาการ”  โยงอาการไปสู่ตัวโรคและสาเหตุของโรค  ในที่สุดก็จะคิดออกว่า“หัวใจ”ของเรื่องนั้นๆคืออะไร 

          เป็นวิธีหาความเรียบง่ายในท่ามกลางความซับซ้อนสับสน  ได้เป็น“กระบวนทัศน์”ในเรื่องนั้นๆ  ถ้าจะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งซับซ้อนเช่นนั้นก็ต้องขับเคลื่อนการเปลี่ยนกระบวนทัศน์  โดยที่คุณค่าของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์คือเป้าหมายที่มีความหมายยิ่งใหญ่ต่อส่วนรวมหรือต่อสังคม

          เป้าหมายที่มีคุณค่ายิ่งใหญ่คือศูนย์รวมใจรวมพลัง

          การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้วยวิธีไม่ใช้อำนาจบังคับ (เพราะไม่มี) ก็ต้องใช้วิธีขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก  วิธีหนึ่งคือหา success story เล็กๆที่เป็นหน่ออ่อนของกระบวนทัศน์ใหม่  และผู้คนที่สร้างความสำเร็จนั้น  จัดเวทีเรื่องเล่าและAppreciative Inquiry  ให้การยกย่องชื่นชมและให้รางวัล  พร้อมทั้งempower ให้ทำต่อเนื่องและขยายผล

          ตัวsuccess story จำนวนมากและผู้สร้างสรรค์  จะเชื่อมโยงกันเองเป็นเครือข่าย  เกิดการช่วยเหลือส่งเสริมกัน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การลงมือทำเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายที่ทรงคุณค่าร่วมกัน

          พลังของเป้าหมายที่ทรงคุณค่า  กับวิธีการจัดการเชิงบวกให้พลังบวกคือพลังความสำเร็จ (เล็กๆ)  และพลังความชื่นชม  ร่วมกับเวทีลปรร. ประสบการณ์จากการปฏิบัติ  ทำต่อเนื่องหมุนเกลียวความรู้ยกระดับ   เป้าหมายที่บรรลุยากจะไม่ใช่สิ่งที่บรรลุไม่ได้

          นั่นคือKM เป็นเครื่องมือทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย


วิจารณ์   พานิช

๗  ก.พ. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 521713เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2013 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2013 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในปีที่ทำวิจัยแรงงานต่างด้าวและชาวเขาในช่วง พ.ศ.๒๕๓๕ - ๒๕๔๐ นั้น ก็ต้องมีการผลักดันความคิดประมาณนี้แน่ๆ เลยค่ะ มันจะเป็นเหตุบังเอิญหรือคะ 

วันที่ ๒๒ ก็จะมีการชุมนุมกันอีกรอบ  มี อ.กฤตยาเป็นแม่ทัพเหมือนเดิมค่ะ ใช้ชื่อว่า "ประชุมเพื่อระดมสมอง เรื่อง ข้อเท็จจริงและตัวเลขเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล: นโยบายและทางออก’  จัดโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ณ ห้องราชาวดี(326) ชั้น 3 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556 เวลา 9.00 น. 16.30 น."

หากท่านอาจารย์หมออยากแอบไปดูเรากันค่ะ

 ประสบการณ์จากการปฏิบัติ  ทำต่อเนื่องหมุนเกลียวความรู้ยกระดับ   เป้าหมายที่บรรลุยากจะไม่ใช่สิ่งที่บรรลุไม่ได้

ชอบประโยคนี้มากค่ะ่ จะนำไปปรับใช้กับการจัดการเรียนให้เด็กๆ อิ่มอร่อยกับการเรียนตามที่คุณหนอพูดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท