สถานการณ์ใต้ ตอนที่ 3: ปตานีดารุสสะลาม หรือนครแห่งสันติภาพ


2. เมื่อรัฐปัตตานีถูกกลืนกลายเป็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในประวัติศาสตร์รัฐชาติไทย
หากพิจารณาย้อนกลับศึกษาความเป็นมาของดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันเป็oส่วนหนึ่งของรัฐปัตตานีในอดีต พบว่าเป็นดินแดนที่มีพัฒนาการด้านอารยธรรมสำคัญที่น่าสนใจ แบ่งได้เป็นหลายช่วง คือ 

          (1) ปตานีดารุสสะลาม หรือนครแห่งสันติภาพ (พ.ศ. 2043-2272)) ลังกาสุกะปรากฏชื่อในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต ชาวฮอลันดา ระบุว่าอยู่ห่างจากเมืองปัตตานีสมัยนั้น (บ้านกรือเซะ อำเภอเมืองปัตตานี) ไปทางตอนเหนือของลำน้ำปัตตานี คือบริเวณเมืองโบราณ ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี (ปัจจุบัน) เมืองปัตตานี เดิมมี ชื่อเรียก ว่า โกตามหลิฆัย คำ โกตา หมายถึง ป้อม กำแพง และเมือง คำ มหลิฆัย นั้น ให้ความหมาย ไว้สองนัย คือหมายถึง ปราสาท ราชมนเทียร อันเป็นที่ ประทับ ของราชวงศ์ ฝ่ายใน ที่เป็นสตรี และอีกนัยหนึ่ง หมายถึง รูปแบบ พระสถูป เจดีย์ ที่เรียกกัน ในเชิงช่าง ศิลปกรรม ว่า "สถูป ทรงฉัตรวาลี" เป็นสถูป แบบหนึ่ง ในศิลปะ สถาปัตยกรรม ทางพุทธ ศาสนา สมัย ศรีวิชัย
          เมืองโกตามหลิฆัยนี้ ถูกทอดทิ้ง ให้ร้างไป ในสมัย ของพญาอินทิรา เนื่องจาก แม่น้ำ ลำคลอง หลายสาย ที่เคยใช้ เป็นเส้นทาง คมนาคม ระหว่าง เมืองโกตามหลิฆัย กับทะเล ได้ตื้นเขิน ทำให้ ไม่สะดวก ในการ ลำเลียง สินค้า เข้าออก ติดต่อ ค้าขาย กับพ่อค้า ต่างประเทศ ปี พ.ศ.2012  ถึง พ.ศ.2057 พญาอินทิรา จึงย้ายเมือง โกตามหลิฆัย ไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ บนบริเวณ สันทรายปากอ่าว เมืองปัตตานี อยู่บริเวณ หมู่บ้านบานา อำเภอเมือง ปัตตานี ในปัจจุบัน ประจวบกับ พญาอินทิรา ได้เปลี่ยน ศาสนา จากการ นับถือ ศาสนาพุทธ มารับ ศาสนา อิสลาม จึงให้นามเมือง ที่สร้างใหม่ เป็นภาษาอาหรับว่า “ฟาฎอนีย์ ดารุซซาลาม”หรือ "ปัตตานี ดารัสสลาม" แปลว่า "ปัตตานี นครแห่งสันติ" คล้ายคลึงกับชื่อประเทศ “บรูไน ดารุสสลาม” ซึ่งแปลว่า “บรูไน นครแห่งสันติ”
          
ช่วงต้นสมัยพญาอินทิรายังคงมีวัฒนธรรมแบบฮินดู จากการเข้ามาเผยแพร่ของพ่อค้าอินเดีย ประชาชนและกษัตริย์ ยังคงนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน เมื่อาณาจักรใกล้เคียงได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ประกอบกับมีพ่อค้าอาหรับเข้ามาค้าขายในเมืองปัตตานีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ศาสนาอิสลามก็เริ่มเข้าแทรกซึมโดยผ่านประชาชนกลุ่มเล็กๆ โดยเฉพาะชาวปาไซจากสุมาตรา ในจำนวนนี้ก็มีผู้มีความรู้ความสามารถทางศาสนาอิสลาม และการรักษาโรคภัยต่างๆ คือ เช็คซาฟายุดดีนสามารถรักษาพญาท้าวอินทิราให้หายจากโรคผิวหนัง โดยพระองค์ให้สัญญาว่าถ้ารักษาพระองค์หายจากการประชวร พระองค์ก็จะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม จนในที่สุดพระองค์ก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตามสัญญา ศาสนาอิสลามๆ ก็ได้แพร่เข้าไปสู่ราชสำนักและสู่ประชาชนในที่สุด กลายเป็นรัฐอิสลามในเวลาต่อมา และเปลี่ยนพระนามจากราชาอินทิราเป็นสุลต่านอิสมาเอลชาห์

         สำหรับข้อสันนิษฐานอีกประเด็นหนึ่งน่าจะเป็นเพราะการที่ปัตตานีเปลี่ยนศาสนาน่าจะมาจากการได้รับอิทธิพลจากปาไซ และมะละกา ซึ่งเป็นเมืองท่าที่มีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์และมีอิทธิพลทางการเมืองในขณะนั้อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนศาสนาหนึ่งเป็นอีกศาสนาหนึ่งนั้นคงไม่ได้เกิดขึ้นโดยฉับพลัน คงจะต้องอาศัยระยะเวลาแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจจะเริ่มจากบุคคลกลุ่มน้อยและค่อยขยายไปสู่คนกลุ่มมาก ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาหลายชั่วอายุคน ปัจจัยสำคัญน่าจะอยู่ที่ตัว“ผู้นำ”ก่อนที่จะเผยแพร่สู่ประชาชน  นโยบายของผู้ปกครองย่อมเอื้อต่อผู้นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นเพื่อประโยชน์ต่างๆ ประชาชนจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในที่สุด และสาเหตุของการเปลี่ยนศาสนานั่นเอง เป็นเหตุผลหนึ่งของการย้ายเมืองโกตามหลิฆัย มาสู่ปาตานีดารุสสลาม พระนครใหม่ ณ สันทราย บริเวณตันหยงลุโละ ตำบลบานา หมู่บ้านกรือแซะ  

          ในยุคนี้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสยามกับมลายูมุสลิมเป็นไปในลักษณะที่รัฐสยามพยายามจะผนวกเอาดินแดนมลายูมุสลิมเข้ามาไว้ในส่วนของตน เพราะดินแดนมลายูมุสลิมช่วงนั้นเป็นสถานีการค้า ประกอบช่วงนั้นสยามได้ยึดเมืองนครศรีธรรมราชไว้ได้ และพยายามจะผนวกเอาแดนอื่นๆไว้เป็นของตน รวมทั้งในแหลมมลายูรวมทั้งรัฐปัตตานีด้วย ปัตตานีได้พยายามอย่างเต็มที่ในการป้องกันการตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม ทั้งนี้เนื่องมาจากความแตกต่างในศาสนา ภาษา ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ในเวลาต่อมาประเทศสยามเริ่มมีความอ่อนแอลง ซึ่งเกิดขึ้นจากการรุกรานของประเทศพม่า และประเทศเวียดนาม ปัตตานีถือโอกาสนี้เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ เพื่อให้เป็นรัฐอิสระทำให้สุลต่านราชามูซัฟฟาร์ ชาห์ (พ.ศ. 2073-2107) ซึ่งเป็นโอรสของสุลต่านมูฮัมหมัด ชาห์หรือพญาอินทิราดำริจะไปท่องเที่ยวที่อยุธยาในสมัยพระมหาจักรพรรดิ เพื่อเป็นการคบหาเป็นมิตรกัน เพื่อจะได้อาศัยกันในภาคหน้า จึงทำให้สุลต่านราชามูซัฟฟาร์ ชาห์ และบุตรชายคือรายามันโซร์ได้เสด็จไปที่อยุธยา

        ดังนั้นในปี พ.ศ. 2092 จึงได้เสด็จไปที่อยุธยา นับเป็นเรื่องโชคร้ายของราชามุซัฟฟาร์ การเยี่ยมเยียนของพระองค์ไม่ได้รับการต้อนรับจากกษัตริย์สยามสมฐานะ กษัตริย์สยามมีความรู้สึกว่าสถานะของพระองค์สูงกว่าสุลต่านแห่งปัตตานี ถึงเป็นเช่นนั้นก็ตาม ในขากลับกษัตริย์สยามก็ได้มอบรางวัลเป็นเชลยสงครามชาวพม่า จำนวนหนึ่ง, ชาวล้านช้างจำนวน100คน และสตรีอีกผู้หนึ่งแก่สุลต่านที่ปัตตานี เชลยเหล่านี้ถูกจัดให้อยู่ในหมู่บ้านเฉพาะ เพราะพวกเขายังคงนับถือศาสนาพุทธ ดังนั้นพวกเขาจึงได้สร้างวัดของพวกเขาที่นั่นโดยมีชื่อว่า กุฎี (บ้านของพระ) บ้านกุฎี หรือบ้านกะดีนี้ยังคงอยู่จนกระทั่งถึงปัจจุบัน และรู้จักในชื่อภาษาไทยว่า บ้านด

       ปี พ.ศ. 2106 สุลต่านมุซซอฟาร์ชาห์ทรงทราบว่าพม่าในสมัยพระเจ้าบุเรงนองยกกองทัพมาตีเมืองสยาม ด้วยไม่พอพระทัยที่ชาวสยามแสดงความอวดดีแก่พระองค์ เมื่อทรงปรึกษากับพระราชอนุชาและข้าราชการผู้ใหญ่แล้ว จึงตกลงนำทัพปะตานีเข้าตีกรุงศรีอยุธยาเพื่อลบรอยอับอายที่ตราตรึงอยู่ในพระทัยของพระองค์ การยกทัพครั้งนี้มีรายามันโซร์มกุฏราชกุมาร และเสนาบดีพร้อมด้วยแม่ทัพสำคัญร่วมอาสาไปสงครามครั้งนี้ด้วยและในที่สุดสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์ได้สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกฝังพระศพไว้ที่ปากแม่น้ำรัฐสยาม ส่วนพระอนุชาราชามันโซร์ได้เสด็จกลับปัตตานี และได้ขึ้นครองปัตตานีระหว่างปี พ.ศ. 2107-2115

       ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านมันโซร์ ชาห์ ได้ทรงมอบหมายให้ปาติกสยามครองราชญ์ต่อ ซึ่งในขณะนั้นปาติสยามเพิ่งมีอายุได้ 5 ชันษา ขึ้นครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2115-2116 นั้น ทำให้ราชาบัมบัง โอรสของมุฏ็อฟฟัรฺ ชาห์ ที่ประสูติจากมเหสีองค์ที่ 2 ไม่พอใจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนั้น ปาติกสยามยังทรงพระเยาว์อยู่อยู่ ส่วนราชาบัมบังนั้นเป็นผู้ใหญ่แล้ว ในขณะที่สุลต่านมันศูรฺ ชาห์ยังมีชีวิตอยู่นั้น เจ้าเมืองสายพี่เขยของ พระองค์ที่มีนามว่า ราชาญะลาลได้สิ้นชีวิตลง พระองค์จึงแต่งตั้งให้ขุนนางคนหนึ่งไปเป็นเจ้าเมืองแทน และเชิญให้พระนางอาอิชะฮฺพี่สาวของพระองค์เสด็จกลับไปอยู่เมืองปัตตานี เมื่อปาติกสยามขึ้นครองราชย์ พระนางอาอิชะฮฺจึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สุลต่านปาติกสยาม ครองราชย์ไม่ถึงหนึ่งปี เหตุการณ์นองเลือดครั้งแรกในราชวังปัตตานีก็เกิดขึ้น คือวันหนึ่งราชาบัมบัง พี่ชายต่างมารดา ของพระองค์เข้าไปในราชวัง เมื่อพระนางอาอิชะฮฺเห็นท่าทางของราชาบัมบังไม่ค่อย น่าไว้ใจ จึงเข้าไปป้องกันสุลต่านปาติกสยาม ราชาบัมบังจึงแทงทั้งพระนางและองค์สุลต่าน ปาติกสยาม ทั้งสองพระองค์พร้อมกัน เมื่อข่าวการสิ้นพระชนม์ แพร่ในวังแล้ว จึงมีการจับตัวราชาบัมบังมาประหารชีวิต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2116 โอรสของสุลต่าน มันโชร์ ชาห์ ชื่อ บาฮาดูร์ ชาห์ ขึ้นครองเมืองแทน
           ต่อมาในปี พ.ศ. 2127 ประวัติศาสตร์ปัตตานีซ้ำรอยอีก กล่าวคือ วันหนึ่งตอนเช้ามืดขณะที่ องค์สุลต่าน บาฮาดูร์ ชาห์ ตื่นจากบรรทมและออกไปที่ประตูพระราชวัง เจ้าชายบีมา พี่ชายต่างมารดาของพระองค์ ก็เข้าไปแทงพระองค์ทันที ทำให้องค์สุลต่านสิ้นชีวิต แล้วเจ้าชายบีมาก็ถูกปลงพระชนม์ ในขณะที่ขี่ช้างหนีออกจากพระราชวัง  สุลต่านบาฮาดูร์ชาฮ์ ซึ่งเป็นสุลต่านองค์สุดท้ายของราชวงศ์ศรีวังสา สุลต่านบาฮาดูร์ชาฮ์ (พ.ศ. 2116-2127)มีพระราชธิดาล้วน คือรายาฮีเยา (พ.ศ. 2127-2159),รายาบีรู (พ.ศ. 2127-2166) และรายาอูงู (พ.ศ. 2166-2178) จึงทำให้ยุคสมัยต่อมาของปัตตานีได้ชื่อว่ายุคบรรดาราชินีและในช่วงเวลาของกษัตริย์ที่เป็นสตรีนี่เองที่ได้ชื่อว่า เป็น ยุคทองของรัฐปัตตานี


หนังสืออ้างอิง

กฤตยา อาชวนิจกุล, กุลภา วจนสาระ,และหทัยรัตน์ เสียงดัง. ความรุนแรงและความตายภายใต้นโยบายรัฐ : กรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ConferenceII/Article/Article12.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556

วศินสุข. ข้องใจในประวัติศาสตร์ปัตตานี.

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/12/K4950974/K4950974.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556.

รัตติยา สาและ .(2544). การปฏิสัมพันธ์ระหว่างศาสนิกที่ปรากฏในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อ. อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ). ยุทธศาสตร์การเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาชุมชนมุสลิมจังชายแดนภาคใต้. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=84138 เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556.

.ไม่มีชื่อผู้แต่่ง. บทความประวัติเมืองปัตตานี. http://atcloud.com/stories/23146. เข้าถึงเมื่อวันที่่ 17 กุมภาพันธ์ 2556.


หมายเลขบันทึก: 521468เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2013 20:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2013 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท