วิชาการทำโพล


ผมดีใจที่ ชาวประชาทั่วไปเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับ "โพล " และ "การทำโพล "  ของ สำนักกูรู ต่างๆ ที่ลอยนวล ไม่บอกความจริง

เชิงวิชาการของการทำโพล กับสาธารณชนชาวไทย มาหลายปีทีเดียว

ผมได้ไปศึกษาการทำโพลที่ บริษัท MORI ณ กรุงลอนดอน ตั้งแต่ปีมะโว้ ( ๑๙๙๒ ) ตามคำร้องขอของท่านอธิบดี กรมประชาสัมพันธ์

เพื่อมาปรับปรุง กองสำรวจประชามติ  จากการศึกษา ถึง ๒ สัปดาห์ ครั้งนั้น ผมพบว่า ยุคนั้นมีบริษัททำโพล ถึง ๑๖ บริษัท เขารวมตัวกัน

ตั้งองค์กรวิชาชีพกลางทำการตรวจสอบ การทำโพล ของบริษัทสมาชิกประจำปี ด้วยวิธีการเหมือนการตรวจสอบบริษัทตรวจบัญชี

โดยทุกบริษัททำโพลต้องบันทึกรายละเอียด ของ " โพล " แต่ละครั้งของตน เพื่อการตรวจสอบสาธารณะซึ่งสะท้อนความแม่นยำ

ของแต่ละแห่ง

 เขาไม่ได้ ซี้ๆซั้วๆ มั่วๆสร้างชื่อ แบบที่เห็นๆกันอยู่

เผอิญ ครั้งนั้น ท่าน อธก. ปชส. เกษียนอายุ ก่อนจะได้เริ่มโครงการ ท่าน อธก.คนต่อมาท่านมีนโยบายเป็นอย่างอื่น การทำโพล

อย่างถูกต้องทางวิชาการ และโปร่งใส จึงไม่เกิดจนกระทั่งท่านๆนักวิชาการมาทำกัน อย่างที่รู้ๆกัน

แรกทีเดียวผมดีใจแทน ประชาชนชาวไทย ที่มีการทำโพลสาธารณะ แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่ปรากฏก็คือ การทำโพลในประเทศไทย

ไม่เป็นไปตามหลักวิชาการสากล แต่ เป็นตาม "หลักวิชากู " ด้วยการทรยศต่อวิชาชีพ และ ประชาชน มาโดยตลอด

ช่วยกันชำระ วิชาชีพ นี้กันหน่อยเถอะครับ จะได้ ไม่ต้องเสียค่าโง่ อย่างทุกวันนี้

อาจารย์ JJ ครับ ช่วยหน่อยครับ




หมายเลขบันทึก: 521262เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2013 05:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2013 05:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การทำโพลเลือกตั้งผู้ว่าครั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทำได้ถูกต้องมากl

ไม่แน่ใจว่าจะต้องทำไปทำไม เหมือนการชี้นำนะครับ หากไปทำที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท