รักแท้ ประเสริฐ (วสันตดิลกฉันท์ ๑๔)


...ความรัก เสมือน สุริยะฉาย......รติพราย อร่ามงาม
รักแล้ ละแม้ สิสุขยาม...............สละสิ้น สนองชน

...รักแท้ ประเสริฐ จิตกระจ่าง.....ชะมล้าง กิเลสตน
การงาน ปะหนัก พละจะดล.........อุปสรรค พินาศไป


การอ่าน ฉันท์ เน้นออกเสียงให้มี หนัก(ครุ)เบา(ลหุ) ดังนั้นต้องอ่าน
สุข = สุ ขะ, จิต = จิ ตะ, อุปสรรค = อุปะสัก

รติ = น. ความยินดี, ความชอบใจ; ความรัก, แผลงใช้ว่า ฤดีหรือ รดี ก็ได้. (ป., ส.).
ฤดี [รึ] น. รติ, ความยินดี, ใจ. (ป., ส. รติ).  ที่นี้ = ใจ

ชะ ก. ชำระ, ล้าง.
มล้าง [มะล้าง] ก. ม้าง, ล้าง, ฆ่า, ผลาญ.


ผมไม่เห็นด้วยที่จะ "แปลความ/ถอดความ" ให้แก่นักเรียนหรือผู้ใด ด้วยว่า
๑ คำประพันธ์ โดยทั่วไปหวังให้ผู้อ่านเกิด "อารมณ์ และจินตนาการ" แห่งตน
มิได้ต้องการให้ใครมา "คิดอ่าน" แทน 
๒ หากเกรงว่าจะไม่เข้าใจกัน การให้ "ศัพท์ การระบุความหมายที่ประสงค์" 
ที่ต้องการสื่อ น่าจะเพียงพอแล้ว

หมายเลขบันทึก: 521187เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2013 00:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2013 00:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท