ประสบการณ์การสอนการจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าว


การจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเวชด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

            ผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีอาการหลงผิด  หวาดระแวง  ท่าทางไม่เป็นมิตร  มีพฤติกรรมแปลก  เอะอะอาละวาด  ทำลายสิ่งของ  ทำร้ายคนอื่น  ซึม  แยกตนเอง  ไม่สนใจตนเองและสิ่งแวดล้อม  ผู้ป่วยบางรายมีอาการและการแสดงออกที่รุนแรงและต้องให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน  เช่น  พฤติกรรมทำร้ายคนอื่นโดยการชกต่อย  ทำลายสิ่งของภายในหอผู้ป่วย  ส่งเสียงดัง  ข่มขู่ตะโกนด่าว่าผู้อื่นหรือทำร้ายตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ (Wilson  Knoisl,1996) ซึ่งสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว  นอกจากอาการทางจิตแล้วยังมีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมภายในหอผู้ป่วย  เช่น  สภาพหอผู้ป่วยที่มีจำนวนผู้ป่วยมากเกินไป  สภาพหอผู้ป่วยที่แออัด  อากาศถ่ายเทไม่สะดวก  กฎระเบียบที่เคร่งครัด  การพูดจาของบุคลากรที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าถูกคุกคาม (มาโนช  หล่อตระกูล,2539) การเข้าไปจำกัดพฤติกรรมผู้ป่วยข่มขู่ผู้ป่วยหรือทำให้ผู้ป่วยกลัว (Sandra Aquintal,2002) พฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดในหอผู้ป่วยไม่ว่าจะเกิดจากสภาพจิตใจหรือเกิดจากสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหาตามมาคือตัวผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ (สมภพ  เรืองตระกูล,2545) มีผลต่อผู้ป่วยอื่นทำให้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายและเกิดความหวาดกลัว (นิรันดร์  วิเชียรทอง,2541) และต่อทรัพย์สินเสียหาย  ส่วนผลกระทบต่อบุคลากรคือถูกผู้ป่วยทำร้าย  เกิดความรู้สึกโกรธอยากหนีไปจากที่ทำงาน  เสียขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ (ธีระ  ลีลานันทกิจ,2547) ดังนั้นการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรงบุคลากรต้องมีความรู้ และความเข้าใจในพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเวชต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและอาศัยความร่วมมือจากทีมบุคลากร  เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว  ถูกต้องและปลอดภัยทั้งตัวผู้ป่วยและทีมบุคลากร  ซึ่งวิธีการช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรงมีหลายวิธีคือ  การใช้คำพูดให้ผู้ป่วยได้ระบายความโกรธความคับข้องใจในทางที่เหมาะสม  การจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบปลอดภัย  ลดสิ่งกระตุ้นให้น้อยที่สุด  การให้ยาฉีด  การจำกัดพฤติกรรมโดยการใช้ห้องแยกและการผูกมัด  ซึ่ง

วัตถุประสงค์

-เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย

-เพื่อลดความรุนแรงของพฤติกรรมก้าวร้าว 

-ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตัวผู้ป่วยเอง  ผู้ป่วยอื่น  บุคลากรและสิ่งแวดล้อม

-ผลลัพธ์สุดท้ายคือการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

     การทบทวนวรรณกรรรมการจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าว การประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมก้าวของผู้ป่วย และวิธีการจัดการทั้งแบบ Verbal และ Nonverbal กับพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อให้สามารถนำมาสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประวัติการสอน Protection Restraint

ปี 2550

1.การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผูกมัดสำหรับบุคลากรพยาบาล จำนวน 4 รุ่น ซึ่งได้เผยแพร่แบบประเมิน OAS แบบประเมินเพื่อการผูกมัดและให้การพยาบาลขณะผูกมัด แนวทางการจัดการผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง ซึ่งขยายผลไปสูหอผู้ป่วยวิกฤติ ฉุกเฉินอีก 2 หอ

2.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการป้องกันตนเองและการรวบตัวผู้ป่วย ในปีงบประมาณ 2550  วันที่ 9-20 กรกฎาคม 2550 จำนวน 10 รุ่น รุ่นละ 40 คน เป็นวิทยากรโครงการ ฝึกอบรมการป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวช และการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี

3.วันที่ 24, 25 กันยายน 2550 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชแก่บุคลากรทางการพยาบาลของโรงพยาบาลยโสธร 

4.วันที่ 3, 5 ตุลาคม 2550 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่องการส่งต่อผู้ป่วย ในหัวข้อการป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชแก่บุคลากรของหน่วยกู้ชีพเฉลิมราชย์ (1669) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี 

ปี 2552

5.ในปีงบประมาณ 2552 ในเดือนพฤษภาคม 2552 เป็นวิทยากรโครงการ ฝึกอบรมการป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวช และการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี 

6.ในวันที่ 26-27 สิงหาคม 2552 เป็นวิทยากรโครงการ ฝึกอบรมการป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวช และการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร 

ปี 2553

7.ในปีงบประมาณ 2553 เป็นวิทยากรโครงการ ฝึกอบรมการป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวช และการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ณ โรงพยาบาลขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 

8.ในวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นวิทยากรโครงการ ฝึกอบรมการป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวช และการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง 

9.ในวันที่ 5-6, 26-27 เมษายน 2553 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี วันที่ 20 พฤษภาคม 2553 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรสอนแนะพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่เข้ามาปฏิบัติงานใหม่ จำนวน 15 คน เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวช ณ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี  

10.วันที่  มิถุนายน 2553 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชแก่บุคลากรทางการพยาบาลและเครือข่าย ของโรงพยาบาลเสนางคนิคม จังหวัดอำนาญเจริญ

11.วันที่ 10 สิงหาคม 2553 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชแก่บุคลากรทางการพยาบาลของโรงพยาบาลยโสธร

ปี 2554

12.ปีงบประมาณ 2554 เดือนสิงหาคม ได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชแก่บุคลากรเวชกิจฉุกเฉินของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี จำนวน 30 คน

13.เดือนกันยายน 2554 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชแก่บุคลากรเวชกิจฉุกเฉินของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี จำนวน 30 คน

14.สอนเดือนตุลาคม 2554 สอนการป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชแก่บุคลากรทางการพยาบาลใหม่ของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี จำนวน 10 คน

15.วันที่ 3 ธันวาคม 2554 สอนการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชแก่บุคลากรทางการพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนร่มเกล้า อุบลราชธานี จำนวน 30 คน

ปี 2555

16.วันที่ 28 มีนาคม 2555 สอนการป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชแก่บุคลากรทางการพยาบาลใหม่ของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี จำนวน 30 คน

17.วันที่ 3-4 เมษายน 2555 สอนการป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชแก่บุคลากรทางการพยาบาลของเครือข่ายสาธารณสุข 1669  จำนวน 30 คน

18.วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชของโรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีษะเกษ  จำนวน 40 คน

19.วันที 3 กรกฏาคม 2555 แได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชของโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว  จำนวน 50 คน

20.วันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ละ 7 สิงหาคม 2555 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง การดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชแก่ อสม. ของโรงพยาบาลนาตาล  จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ  300 คน รวม 600 คน

21.วันที่ 11 กันยายน 2555 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชของโรงพยาบาลอำนาจเจริญ  จำนวน 30 คน

22.วันที่ 25 ตุลาคม 2555 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชของโรงพยาบาลศรีษะเกษ  จำนวน 40 คน

23.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชของโรงพยาบาลวารินชำราบ  จำนวน 50 คน

ปี 2556

24.วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การป้องกันตัวและการรวบตัวผู้ป่วยจิตเวชของโรงพยาบาลเสนางคนิคม อำนาจเจริญ  จำนวน 50 คน


คำสำคัญ (Tags): #Aggressive behavior#Protection&restraint
หมายเลขบันทึก: 520969เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2013 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท