เรื่อง จีน จีน (China’s Story) -- ว่าด้วยสิทธิในสัญชาติจีน


China Town in Thailand


ประเทศจีนเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่และยาวนาน และคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า  “คนจีน” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้ประเทศนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ไม่ว่าคนจีนเดินทางไปตั้งรกรากอยู่ที่ใดในโลก เราจะเห็นคนจีนสืบต่อวัฒนธรรมจีนได้อย่างยิ่งใหญ่ จนกลายเป็นสิ่งที่คุ้นเคยในเมืองใหญ่ และได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ อย่างน่าทึ่ง


ไชน่าทาวน์ (China Town) ร้านอาหารจีน โรงเรียนสอนภาษาจีน เป็นหนึ่งในหลายๆ ตัวอย่างของการเผยแพร่วัฒนธรรมจีน


แต่คนจีนเหล่านี้ถือว่าเป็น “คนสัญชาติจีน” หรือไม่?? ประเด็นนี้เราต้องพิจารณากันที่ “กฎหมายว่าด้วยสัญชาติจีน (Nationality Law of the People's Republic of China)” และ “แนวปฏิบัติของรัฐจีน (State Practice)” ประกอบกัน


สิทธิในสัญชาติจีนถูกกำหนดใน “กฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ.1980[1]” ซึ่งยังเป็นฉบับที่ยังใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน


กฎหมายสัญชาติจีนใช้ “หลักสืบสายโลหิต” เป็นหลัก ดังนั้นไม่ว่าบุตรของบิดาหรือมารดาสัญชาติจีนจะเกิดที่ใด ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ในฮ่องกง ในมาเก๊า (มาตรา 4[2]) หรือจะเกิดในประเทศอื่นๆ (มาตรา 5[3]) รัฐจีนก็จะถือว่าคนเหล่านี้เป็นคนสัญชาติจีน


อย่างไรก็ดี หลักสืบสายโลหิตนี้ก็ยังมีข้อยกเว้น!!


เนื่องจากกฎหมายสัญชาติจีนยัง “ไม่ยอมรับการมีและการถือสองสัญชาติ” (มาตรา 3[4]) ดังนั้น ใน 2 กรณีต่อไปนี้ บุตรของบิดาหรือมารดาสัญชาติจีนเกิดในรัฐต่างประเทศจะไม่ได้สัญชาติจีน (โปรดดูมาตรา 5 ตอนท้ายประกอบ)

(1)  หากบุตรเกิดในขณะที่บิดาหรือมารดาสัญชาติจีนมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐต่างประเทศ

(2)  หากบุตรที่เกิดในรัฐต่างประเทศมีสิทธิในสัญชาติของรัฐต่างประเทศโดยการเกิด


นอกจากนี้ คนสัญชาติจีนจะเสียสัญชาติจีนโดยพลันอีกด้วย หากบุคคลดังกล่าวมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐต่างประเทศและได้แปลงสัญชาติเป็นคนชาติของรัฐต่างประเทศโดยสมัครใจ (มาตรา 9[5])


แต่ตามมาตรา 13[6]อดีตคนสัญชาติจีนที่ได้เสียสัญชาติจีนไปแล้วสามารถขอคืนสัญชาติจีนได้ ทั้งนี้บุคคลดังกล่าวจำต้องสละสัญชาติของรัฐต่างประเทศก่อนที่จะยื่นขอคืนสัญชาติจีน และการขอคืนสัญชาติจีนนั้นก็ยังสามารถดำเนินการได้ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลของสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศต่างๆ (มาตรา 15[7])


แต่สิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งในกฎหมายสัญชาติของประเทศจีน คือ การยอมรับบุตรของ “คนไร้สัญชาติ” หรือ “คนที่ไม่สามารถกำหนดได้ว่ามีสัญชาติใด” ให้ได้สัญชาติจีนด้วย หากแต่บุตรของบุคคลดังกล่าวจะต้องเกิดในประเทศจีนเท่านั้น (มาตรา 6[8])


อย่างไรก็ตาม บทความชิ้นนี้ผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากการวิเคราะห์ตัวบทกฎหมายประกอบกับรายงานของสาธารณรัฐประชาชนจีน (รวมทั้งรายงานของฮ่องกงและมาเก๊า) เสนอต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน แต่เพื่อความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เราคงต้องพิจารณา “แนวปฏิบัติของรัฐจีน (State Practice)” ในประเด็นของการได้ การเสีย และการกลับคืนสัญชาติด้วย ซึ่งผู้เขียนจะขอนำเสนอเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป



[1] รัฐสภาจีนมีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ในสมัยประชุมที่ 3 ส่งผลให้กฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ.1980 เป็นต้นมา

[2] Article 4.

Any person born in China whose parents are both Chinese nationals or one of whose parents is a Chinese national shall have Chinese nationality.

[3] Article 5.

Any person born abroad whose parents are both Chinese nationals or one of whose parents is a Chinese national shall have Chinese nationality. But a person whose parents are both Chinese nationals and have both settled abroad, or one of whose parents is a Chinese national and has settled abroad, and who has acquired foreign nationality at birth shall not have Chinese nationality.

[4] Article 3.

The People's Republic of China does not recognize dual nationality for any Chinese national.

[5] Article 9.

Any Chinese national who has settled abroad and who has been naturalized as a foreign national or has acquired foreign nationality of his own free will shall automatically lose Chinese nationality.

[6] Article 13.

Foreign nationals who once held Chinese nationality may apply for restoration of Chinese nationality if they have legitimate reasons; those whose applications for restoration of Chinese nationality have been approved shall not retain foreign nationality.

[7] Article 15.

Nationality applications at home shall be handled by the public security bureaus of the municipalities or counties where the applicants reside; nationality applications abroad shall be handled by China's diplomatic representative agencies and consular offices.

[8] Article 6.

Any person born in China whose parents are stateless or of uncertain nationality and have settled in China shall have Chinese nationality.


หมายเลขบันทึก: 520659เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะเตือน ขอเป็น soft file ส่งเข้าอีเมลล์ของพวกเราก็ดีค่ะ จะได้เก็บไว้ใช้สอนได้ 

อย่าลืมเรื่องของกฎหมายสัญชาติอเมริกัน กรณีของน้องไปรอัน และ กฎหมายอินโดนีเซีย ของเคสที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อจ๊ะ 

แล้วประเด็นคนเกิดไต้หวันล่ะ ตอนนี้ คนไต้หวันถือสิทธิในสัญชาติอย่างไรคะ ใช้กฎหมายเดียวกับจีนแดงไหมคะ โปรดตรวจสอบให้ด้วยค่ะ

อยากถามว่าถ้าลูกเป็นสัญชาติจีนแต่กำเนิดแล้วเกิดพ่อกับแม่มีปัญหากันเลยตกลงกันแล้วจะเปลี่ยนสัญชาติลูกให้เป็นคนไทยและทำใบเกิดและทำพาสแล้วแต่คือพ่ออยากให้เรากลับมาเป็นครอบครัวเหมือนเดิมเราสามารถเปลี่ยนสัญชาติลูกให้กลับมาเป็นสัญชาติจีนได้ไหมคะหรือว่ากงสุลเขาไม่สามารถเปลี่ยนได้ระยะเวลาที่รอว่าจะหย่ากัน30วันให้ได้ทบทวนสามารถเปลี่ยนได้ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท