30 ปี คณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่


๓๐ ปี คณะศิลปกรรม  วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ 

  การเดินทางของเวลาไม่เคยมีวันหยุดพัก..จากจุดเริ่มต้น...ในทุกๆวินาที ที่กาลเวลาเดินผ่าน สรรพสิ่งต่างๆก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา..บางอย่างอาจค่อยๆเปลี่ยนแปลง ขณะที่ บางสิ่งก็ เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง..หากเป็นชีวิตของคนที่มีอายุ ๓๐ ปี ก็อาจนับได้ว่ามีอายุเกือบครึ่งหนึ่ง ของชีวิต..ย่อมพานพบกับสิ่งต่างๆ มากมายที่เข้ามาในชีวิต ทั้งด้านประสพความสำเร็จ และด้าน ล้มเหลว… แต่สิ่งต่างๆเหล่านั้น.. ทุกอย่างล้วนแล้วแต่ เป็นเบ้าหลอมประสบการณ์ ที่ทำให้ชีวิต แข็งแกร่งมากขึ้นทั้งสิ้น..และทำให้เราสามารถก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง..

  นับตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นต้นมา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ได้ก่อตั้งคณะ ศิลปหัตถกรรม ขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยเปิดสอนสาขาวิชาวิจิตรศิลป์ ในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ(ปวช.) รับนักเรียน ๔๐ คน ซึ่งในขณะนั้นมีครูเพียง ๑ คนคือ นายฉัตรชัย เรืองมณี  ทำหน้าที่ สอนคนเดียวทุกรายวิชา ก่อนจะรับครูเพิ่มเติมในเวลาต่อมา และใช้อาคารชั่วคราว มี ๒ ห้องเรียน

นักเรียนศิลปกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕

นักเรียนศิลปกรรม พ.ศ. ๒๕๕๕

จากครู ๑ คน และ นักเรียน ๔๐ คน จำนวน ๑ ห้องเรียนใน ๑ สาขาวิชา ได้ขยายเพิ่มขึ้น มาเป็นลำดับ แม้บางช่วงจะมีนักเรียน นักศึกษามากบ้างน้อยบ้างก็ตาม จนกระทั่งปัจจุบัน มีครู  ๑๖ คน มีนักเรียน นักศึกษา ๓๔๘ คน จำนวน ๑๗ ห้องเรียน มี ๔ สาขาวิชา ได้แก่ ระดับปวช. มี ๑ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาศิลปกรรม รวม ๔ สาขางาน ได้แก่ สาขางานวิจิตรศิลป์ การออกแบบ เครื่องเคลือบดินเผา และเทคโนโลยีศิลปกรรม ส่วนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) มี ๓ สาขาวิชาได้แก่ สาขาวิชาออกแบบ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิค และสาขาวิชาช่างทันตกรรม (ทวิภาคี)





ห้องเรียนยุคแรก พ.ศ. ๒๕๒๕

ห้องเรียนทันสมัย พ.ศ. ๒๕๕๕

  จากอาคารชั่วคราว

สู่อาคารตึก ๔ ชั้น ที่ได้มาตรฐาน.. จากห้องเรียนธรรมดาสู่ห้องเรียน

ที่มีครุภัณฑ์ทันสมัย... นักเรียนรุ่นแรกจากเด็กกลายเป็นคนสูงวัยในอายุเกือบ ๕๐ ปี.. ครูคนแรกก็

อาคารศิลปกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕

อาคารศิลปกรรม พ.ศ. ๒๕๕๕

ก้าวสู่วัยใกล้เกษียณอายุราชการ..  ครูหลายคนโยกย้ายออกไปหลายคนย้ายมาแทนที่ สิ่งต่างๆเหล่านี้

ได้บ่งบอกให้รับรู้ความเป็นคณะศิลปกรรมในวัย ๓๐ ปี....มีนักเรียน นักศึกษาจำนวนหลายพันคน ผ่านเบ้าหลอมจากที่แห่งนี้ออกไป สู่โลกกว้าง และมีจำนวนไม่น้อยที่ประสพความสำเร็จในชีวิต

ทั้งหน้าที่การงาน ฐานะ และครอบครัว หลักสูตรหลายหลักสูตรถูกนำมาใช้ และเปลี่ยนแปลงไป ตามยุคสมัย บางหลักสูตรต้องยกเลิกไป เช่น สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและวีดิทัศน์ สาขาวิชาศิลปะประยุกต์  สะท้อนสัจธรรมของการที่ไม่สามารถผันแปรตามวิถีโลกที่เปลี่ยนแปลง

  ประสบการณ์อันยาวนานของคณะศิลปกรรม ได้สะสมบ่มเพาะความสามารถของคณะครู และนักเรียน นักศึกษา ให้สร้างสรรค์ผลงานออกมามากมาย เป็นที่ประจักษ์ และยอมรับ ของประชาชน และสังคม มาโดยตลอด เช่นการจัดทำซุ้มเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช... สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ... สมเด็จพระเทพรัตน์ ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี.. การจัดทำรถบุปผชาติ ทั้งในและต่างประเทศ การจัดทำรถกระทง

ครูคณะศิลปกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕

ครูคณะศิลปกรรม พ.ศ. ๒๕๕๕

ในวันลอยกระทง... การจัดนิทรรศการสวนศิลป์แผ่นดินแม่  นิทรรศการตามหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงในงานอาชีวะสร้างอาชีพเป็นราชพลีถวายพระจักรีภูมิพล ข้างกระทรวง ศึกษาธิการ จัดทำรถแสดงพุทธประวัติ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องในโอกาส ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ เป็นต้น และที่สะท้อนคุณภาพ นักเรียน นักศึกษา ชัดเจนก็คือ การได้รับรางวัล


จัดตกแต่งน้ำพุสวนศิลป์แผ่นดินแม่ ที่ กรุงเทพฯ


มากมาย ในการแข่งขันทักษะ สามารถไปศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น และประกอบอาชีพที่มั่นคง เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ยังมีการจัดนิทรรศการศิลปกรรม แสดงผลงานของนักศึกษาเป็นประจำทุกปี...

สิ่งสำคัญที่เป็นวัฒนธรรมของคณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ก็คือการอยู่ร่วมกัน อย่างญาติมิตร ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมกันเป็นทีม มีความสามัคคี ในหมู่คณะ

ร่วมแรงร่วมใจในการทำงานจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง มีเวลาว่างก็สังสรรค์ ฉันท์น้องพี่ มีอะไรก็ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่งดงามและน่าภาคภูมิใจ





    การเดินทางของชีวิต อาจมีวันหยุดพักยามเหนื่อยล้า แต่การเดินทางของคณะศิลปกรรม มีแต่จะมุ่งไปข้างหน้า ถึงแม้บางครั้งอาจจะอ่อนล้าไปบ้าง.. แล้วในวันที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ ๑ การบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง กำลังคืบคลานมาทักทาย ผลกระทบอาจเกิดขึ้นต่อทั้งครู นักศึกษา และการเรียนการสอน ตลอดจนการขยายบทบาททางการเรียนการสอนสู่ระดับปริญญาตรี ก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง

  มีคำกล่าวว่า “ If you don’t know the past. You don’t know where to go.”  นั่นก็คือ “การเรียนรู้อดีต จะทำให้เรารู้เป้าหมายชัดเจนที่จะไปในอนาคต” ดังนั้น ๓๐ ปี คณะศิลปกรรม จึงทรงความหมายอย่างยิ่ง จากจุดเริ่มต้น..ทุกๆก้าวเดินและทุกๆประสบการณ์ทำให้คณะศิลปกรรม เติบโตแข็งแกร่งอย่างมีคุณภาพ.. คณะศิลปกรรมในวัย ๓๐ ปี แข็งแรงเหมือนชายฉกรรจ์ จึงมีความพร้อมสำหรับการขับเคลื่อนไปข้างหน้าสู่อีกระดับหนึ่ง ซึ่งต้องเติบใหญ่ทั้งความคิด วิสัยทัศน์ และพร้อมเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่จะถาโถมเข้ามา รวมทั้งความพร้อมสำหรับ การก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ในปีพ.ศ. ๒๕๕๘ ต้องพัฒนาศักยภาพคณะศิลปกรรม ในทุกๆด้าน  เพื่อเป็นสถาบันที่สามารถผลิตกำลังคนด้านศิลปกรรม ที่มีคุณภาพของประเทศ

  คณะศิลปกรรมในอีกทศวรรษหน้า มีภารกิจที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองในฐานะองค์กรผลิต กำลังคน ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) และปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการทางด้านศิลปะที่มีสมรรถนะและมีศักยภาพ ในการแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างแท้จริง..


หมายเลขบันทึก: 520180เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2013 03:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2013 03:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะอาจารย์ติดตามอ่านประจำ เพราะเป็นคนพันธ์อาร์มาตลอดค่ะ มาเรียนเชิญท่านพบปะชาวโกทูโนนะคะ

ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะครับ กำลังกลับมาจากที่เคยห่างเหินไปนานเพื่อทำภารกิจ การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา คงมีเรื่องนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูเป็นศิษย์เก่า วิจิตรศิลป์รุ่นที่ 4 ค่ะ เห็นภาพเห็นอาจารย์ที่ยังคงสอนอยู่แล้วคิดถึงมาก คิดถึงพี่ เพื่อนๆทุกคนด้วย อยากได้เฟชบุ๊คของอาจารย์และเพื่อนๆพี่ๆบ้าง อาจารย์พอจะมีบ้างไหมคะ รบกวนขอด้วยค่ เพระตอนนี้หนูไม่ได้อยู่เมืองไทย มาเปิดร้านอาหารที่อเมริกาหลายปีแล้วยังไม่ได้กลับไปเจอใครเลย แต่ถ้ามีโอกาสกลับไปอยากไปเจออาจารย์และเพื่อนๆบ้าง

หวังว่าอาจาย์คงตอบกลับนะคะ หนูจำอาจารย์ได้เสมอ มีหนวดเท่ๆ

ขอบคุณค่ะ

ตามหาเพื่อนสมัยเรียน ปวช คหกรรมศาตร์ที่จบปี 2519 เพราะแต่งงานเปลี่ยนนามสกุลกันไปหมด ใครจบรุ่นนี้ ส่งข่าวกันด้วยนะเจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท