คำถามง่าย ๆ เพื่อการประเมินฯ


ในด้านการเรียนรู้ของผู้รับผิดชอบงาน UC ระดับ CUP พบว่าได้รับรู้การทำงาน/คิดเชิงระบบ การบริการประชาชน การเรียนรู้เร็ว ทำเร็ว ถูกต้อง และมีหลักการ เน้นกระบวนการแก้ปัญหาเชิงรุก ทำให้ปัญหาจบเร็ว เกิด Happy มีประสิทธิภาพ

     การบริหารเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนในห้วงเวลาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อวานนี้ (6 ต.ค.2548) ได้มีการประชุมกัน และใช้คำถามง่าย ๆ เพื่อการประเมินฯ หรือถอดบทเรียน มีดังนี้
          1. ในปีที่ผ่านมา (ปี 2548) มีการดำเนินงานเพื่อการสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนจังหวัดพัทลุงอะไรบ้างที่ท่านคิดว่าทำได้ดี และพอที่จะชื่นชมได้
          2. ในปีที่ผ่านมา (ปี 2548) มีการดำเนินงานเพื่อการสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนจังหวัดพัทลุงอะไรบ้างที่ท่านคิดว่าไม่ควรดำเนินการในลักษณะนั้นอีก หรือควรจะตำหนิ
          3. ในปีนี้ (ปี 2549) ท่านคิดว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่ควรจะปรับปรุง เพื่อการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนจังหวัดพัทลุง
          4. ในปีที่ผ่านมา (ปี 2548) ท่านคิดว่าเราได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ บ้าง จากการดำเนินงานเพื่อการสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนจังหวัดพัทลุง
          ทั้งนี้ผมได้พัฒนากรอบที่จะใช้เขียน Mind Mapping ไว้แล้วเพื่อเตรียมลงรายละเอียดของประเด็นที่ได้มาจากการอภิปรายในแต่ละประเด็น ดังนี้


          สำหรับผลที่ได้จากการใช้แนวคำถามนี้ พอจะสรุปได้ดังนี้ครับ
     ในกลุ่ม ผอ.รพ.จะได้เฉพาะสิ่งที่ควรทำใหม่ให้ดีกว่าเดิม และเน้นลงไปเฉพาะแนวทางการจัดสรรงบประมาณเป็นส่วนใหญ่ เช่น การใช้บริการรอยต่อระหว่างอำเภอควรเพิ่มอัตราการเรียกเก็บ และขยายเขตฯ ให้ครอบคลุม ในส่วนของข้อมูลการวิเคราะห์การเงิน ขอให้วิเคราะห์ตัวเลขของ รพ.จริง ๆ ด้วย การบริหารงบ PP ขอให้ใช้แนวทางการบริหารที่เป็นกลาง ๆ เหมือนกันทั้งจังหวัด โดยรายละเอียดภายใน CUP ไปตกลงกันเองที่ CUP งบประมาณ IPD ขอให้จัดสรรให้เร็วขึ้นอีก และควรกันไว้เพื่อฉุกเฉินของจังหวัด (คล้ายเหตุการณ์สึนามิ) ขอให้ลด Topdown ลงอีก ควรที่จะถ่วงน้ำหนักเวลาจัดสรรเงินให้เป็นธรรม
     ในกลุ่ม สสอ./สสก. สรุปได้ว่าให้จัดสรรเงินให้เร็วกว่านี้อีก การนัดประชุมอย่านัดเร่งด่วนเกินไป การจัดเสวนาฯ กับประชาชนทำได้ดีแล้ว สำหรับประชาชนที่ไม่มีเลข 13 หลัก ขอให้ช่วยแก้ปัญหาโดยประสานกับฝ่ายปกครองให้ด้วย และการติดต่อสื่อสารกับหน่วยบริการควรจะได้ใช้วิธีติดต่อ 2 ทาง โต้ตอบกันได้
     ในกลุ่ม สอ./ศสช. สรุปได้ว่าในปัจจุบันมีเงินบำรุงคงเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ แต่มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูง จึงเสนอขอ fix-cost เป็น 15,000 บาท และขอ CF ให้สอ.บ้างได้ไหม? ในส่วนเขตพื้นที่รอยต่อ ไม่ต้องระบุเป็นพื้นที่ที่ตกลงไว้ แต่ให้เป็นไปตามภูมิศาสตร์ สำรับประชาชนที่มีสิทธิว่าง ขอให้ CUP ตรวจสอบเป็นระยะ ๆ รวมถึงปัญหาเลข 13 หลัก ขอให้สสจ.ประสานงานกับ อำเภอต่าง ๆ ด้วย ด้านการโอนเงินให้ สอ. อยากให้โอนเงินไปให้ สอ.โดยตรง โดยไม่ต้องใช้โครงการแลก แต่อยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของ CUP เพื่อเงินเหลือใช้จ่ายอื่น ๆ ได้ งบ PP เมื่อหัก สสอ. หัก เวชภัณฑ์ ที่เหลือโอนให้ สอ.เลยในส่วนที่เหลือจะได้ไหม เรื่องคนพิการ เวลาจะขอใบรับรองความพิการ ต้องรอให้อาการชัด ไม่งั้นจะออกไม่ได้ ทำให้คนพิการขาดสิทธิไป บางคนต้องส่งต่อเพื่อขอหนังสือรับรอง และสอ.ไม่ทราบขีดความสามารถของ รพท. อีกประเด็นคือสิทธิครูเอกชน ถือว่าเป็นสิทธิข้าราชการ (จำกัดไม่เกิน 20,000 บาท) ทำให้ใช้สิทธิบัตรทองไม่ได้ จึงเป็นภาระแก่ครอบครัว
     ในส่วนของผู้รับผิดชอบงาน UC ระดับ CUP ได้ชื่นชมการติดต่อประสานงานระหว่าง CUP ความครอบคลุมของสิทธิ UC การสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน การสนับสนุนฐานข้อมูลต่าง ๆ ให้ CUP การทำงานเป็นทีมของกลุ่มงานประกันฯ และการแก้ปัญหาเชิงรุกของสิทธิคนพิการ ในขณะเดียวกันก็ขอให้พิจารณาประเด็นการทับซ้อนกันของช่วงเวลาที่ Admit - d/c นายทะเบียนของ CUP มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย การไม่ประสานงานกันภายในCUP เช่นงานทะเบียน VS งานเรียกเก็บฯ หรือ สอ. VS สสอ. VS รพ. การใช้เครื่องมือต่างกันในการสำรวจความพึงพอใจในแต่ละ CUP รวมถึงไม่เคยเปิดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ของผู้รับผิดชอบงานฯ อีกทั้ง CUP ไม่ตั้งงบเพื่อพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียน หรืองานตามจ่าย เลย
     ข้อเสนอที่แนะนำไว้คือ ให้ Feedback ข้อมูลข่าวสาร เช่น ผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียน หรือผลการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ด้านการพัฒนาศักยภาพ จนท.ให้ได้จนถึง สามารถตรวจสอบการขึ้นทะเบียน การจัดการฐานข้อมูล ความเป็นแม่ข่าย ให้เพิ่ม หรือ Update แนวทางใหม่ ๆ กฏหมาย ระเบียบ กฏเกณฑ์     ความรู้ทั่วไป เทคนิคการให้บริการที่ดี – เชิงรุก ให้ด้วย ในเรื่องการขึ้นทะเบียนควรจะได้วางแผนล่วงหน้าก่อนหมดอายุ เช่นกลุ่มรหัส 82 88 ฯลฯ โดยอยากให้สนับสนุนให้มีการการตรวจสอบสิทธิ     ระบบการตรวจสอบ Online ก่อนการขึ้นทะเบียน และพัฒนาให้ถึง สอ.
     การแก้ไขเปลี่ยนสิทธิให้ตรงกับความจริง เช่นสิทธิ SSS OFC ฯลฯ การขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยบริการ ไม่แน่ใจว่าจะเป็นพละการ หรือเพราะประชาชนแจ้งซ้ำ ในด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ โดยทำให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญ ให้รางวัลแก่คนทำดี การเยี่ยมเยือน และขอให้พิจารณาความดีความชอบตามภารกิจที่มอบหมาย ควรจะได้พิจารณาเรื่องความลับที่ต้องปกปิด เช่นสิทธิบุคคล ผู้ป่วย คนที่ร้องเรียน คนที่ถูกร้องเรียน คนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ หรือสถานพยาบาลคู่กรณี
     ในด้านการส่งต่อ ต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน มีคู่มือ/เอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร ในด้านการจัดสรรงบควรจะให้งบ OPD IPD เพิ่มขึ้น ขอให้พัฒนาระบบงานประกัน ของ CUP โดยมีแนวทางการปฏิบัติงาน มีคู่มือที่ชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน ในเรื่องเขตรอยต่อขอให้กำหนดให้ชัดเจน มี  หลักเกณฑ์การเรียกเก็บ-ตามจ่ายที่เป็นธรรม เช่น ค่าตรวจ ฯ OPD และให้เห็นแก่ประชาชนเป็นหลัก
     ในด้านการเรียนรู้ของผู้รับผิดชอบงาน UC ระดับ CUP พบว่าได้รับรู้การทำงาน/คิดเชิงระบบ
  การบริการประชาชน การเรียนรู้เร็ว ทำเร็ว ถูกต้อง และมีหลักการ เน้นกระบวนการแก้ปัญหาเชิงรุก ทำให้ปัญหาจบเร็ว เกิด Happy มีประสิทธิภาพ เรื่องการขึ้นทะเบียนทำให้สามารถลงทะเบียนผ่าน Web     เด็กเกิดใหม่ และสิทธิว่าง เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 5201เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2005 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท