อีกบทบาทหนึ่งของผู้สูงอายุ



ได้รับโอกาสให้ร่วมแชร์ประสบการณ์ในวงการคนเท้าเปล่าเสมอ

ในครั้งนี้ก็เช่นกัน เมื่อระยะเวลาของการทำงานได้เสร็จสิ้นลง

นั่นหมายถึงพัฒนาการด้านความคิด และจิตวิญญาณได้รับการพัฒนาต่อยอด

สู่การสัมผัสสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกภายนอกอย่างเป็นรูปธรรม

หากอีกมุมหนึ่งที่ไม่อาจมีผู้ใดก้าวเข้ามาได้คือจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ

ผู้ที่จะมีโอกาสใช้ชีวิตหลังการเกษียณอายุราชการอย่างคุ้มค่าได้มากน้อยขึ้นอยู่กับโอกาส และการเห็น

และเป็นการใช้ชีวิตที่มีคุณค่าทางด้านพัฒนาการของจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง

หาใช่เพื่อประโยชน์ของความอยู่รอดหรือลาภ ยศ สรรเสริญ ก็หามีไม่

สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด และสัมผัสจับต้องได้คือความรู้ที่ตกผลึกแล้วของคนสูงวัย คุณธรรมที่หลอมรวมอยู่ในจิตวิญญาณ

ของผู้ผ่านโลกมานาน และพร้อมเดินทางต่อไปอย่างสงบ หากบนเส้นทางแห่งความสงบนั้นกลับยังประโยชน์ให้สังคม

ที่ร้อนได้ผ่อนคลายลง หรืออาจตรงข้ามหากผู้สูงอายุอีกจำนวนมากต้องทนทุกข์ที่เกิดจากโรคเรื้อรัง ครอบครัว

 การยอมรับของสังคมและโลกภายนอก และหรือสิ่งเหล่านี้ไม่อาจย่างกายเข้าไปภายในจิตใจผู้สูงอายุได้

ความรู้ที่มีในตัวผู้สูงอายุ และความคิดดีๆนั้น มาจากไหน คงไม่ต้องกล่าวถึง 

กับการก้าวผ่านมาของความสำเร็จในชีวิตของพวกเขา

หากเมื่อเข้าไปสัมผัสใกล้ชิด โดยการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้สูงอายุ เราจึงพบว่า 

กิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆตามหลักทฤษฎีนั้นกลับไม่อาจรองรับความสำเร็จของผู้สูงวัยจำนวนหลายๆความสำเร็จได้

ด้วยผู้สูงวัยเหล่านั้นได้ก้าวผ่านการเรียนรู้จากโลกภายนอกและกำลังเชื่อมโยงความรู้จากโลกภายในตัวตนของเขาเอง

อะไรจะเกิดขึ้น หากผู้มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบการดูแลผู้สูงอายุได้เข้าถึงองค์ความรู้

ที่กำลังกระเพื่อมสู่ความเป็นจริงและนำไปสู่สุขภาวะของสังคม 

จะดีไหมที่ไม่ต้องไปสืบค้นความรู้ที่อยู่ภายนอกโลกของผู้สูงอายุ แล้วเอามาบรรยายให้ผ่านไปมาดั่งสายลม

แต่จะดีไหมหากได้ร่วมกันสะกัดองค์ความรู้ต่างๆที่มีอยู่แล้วในตัวผู้สูงวัยโดยผ่านกระบวนการแห่งความสุขต่างๆ

เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ จิตวิญญาณ และสังคม ซึ่งเกิดแต่ภายในตัวตนมากกว่าภายนอก

หากสามารถจัดให้มีความเชื่อมโยงกันระหว่างจิตวิญญาณกับสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

ให้เห็นความเชื่อมโยงและเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติได้ เส้นทางพัฒนาให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีิวิตที่ดี

จึงน่าจะเกิดขึ้นได้มากกว่าไหม  หากมองพัฒนาการด้านร่างกายทุกอย่างคงจบลงแล้ว 

คงเหลือเพียงการประคับประคองให้ยืนได้นานเพืื่อความสุขของสมาชิกครอบครัว อันถือเป็นสถาบันหลักของชาติ

 เพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของผู้สูงอายุในมาตราการการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 

จึงควรได้รับการพิจารณาให้เหมาะสมด้วยหลักจิตวิทยาในผู้ใหญ่ จิตวิทยาสังคมและจิตวิญญาณ

เพราะนี้่คือ ท่อนปลายของการเรียนรู้การศึกษาตลอดชีวิตที่ร้อยเรียงอย่างมีระบบและมีเป้าหมายชัดเจน

เพื่อความสมบรูณ์ พูนสุข ตลอดชั่วชีวิตที่ได้เกิดมาและได้ชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแม้จะเป็นสังคมของผู้สูงอายุ


หมายเลขบันทึก: 519838เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2013 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2013 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณน้อง โอ๋-อโณ ,หยั่งราก ฝากใบ,สามสัก(samsuk),บุษยมาศ,อักขณิช ที่ให้ดอกไม้แห่งกำลังใจ
ความสุขของผู้สูงวัย คือการได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า และเป็นประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท